9 ก.ค. 2022 เวลา 09:00 • สุขภาพ
ไม่ได้คิดไปเอง! ผลสแกนชี้ สมองผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" ต่างจากสมองคนปกติ
แม้จะมีข้อมูลเกี่ยวกับ "โรคซึมเศร้า" เผยแพร่ออกมาตลอดระยะเวลาหลายๆ ปีที่ผ่านมา แต่เชื่อหรือไม่? บางคนยังมองผู้ป่วยซึมเศร้าว่าไม่ได้ป่วยจริง แค่เป็นคนจิตใจอ่อนแอและคิดไปเอง!
1
ไม่ได้คิดไปเอง! ผลสแกนชี้ สมองผู้ป่วย "โรคซึมเศร้า" ต่างจากสมองคนปกติ
“โรคซึมเศร้า” เป็นหนึ่งในสาเหตุการฆ่าตัวตายอันดับต้นๆ ของคนทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย กรมสุขภาพจิตรายงานสถิติในปี 2564 ระบุว่า คนไทยป่วยเป็น #โรคซึมเศร้า กว่า 1.5 ล้านคน โดยเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 4,000 รายต่อปี และส่งผลให้มีผู้พยายามคิดสั้นกว่า 53,000 คนต่อปี
1
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เชื่อว่าหลายคนคุ้นหูกับโรคนี้และอาจมีคนใกล้ตัวอย่างน้อย 1 คนที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้า แต่ยังขาดความเข้าใจที่ถูกต้อง ทำให้บางคนยังคิดว่าผู้ป่วยซึมเศร้าไม่ได้ป่วยจริงแต่เป็นคนจิตใจอ่อนแอ
ใครที่มองผู้ป่วยด้วยทัศนคติแบบนี้ อาจจะต้องคิดใหม่อีกที เพราะข้อมูลทางการแพทย์ชี้ชัดว่า สมองของผู้ป่วยซึมเศร้า มีความแตกต่างจากสมองของคนปกติ แล้วมีความแตกต่างอย่างไร? อะไรที่ทำให้สารสื่อประสาทของผู้ป่วยผิดปกติไปจากเดิม ลองเข้ามาคำอธิบายในทางการแพทย์ ดังนี้
อันดับแรกขอให้เข้าใจตรงกันก่อนว่า ในทางการแพทย์มีข้อมูลยืนยันว่า “โรคซึมเศร้า จัดเป็นความเจ็บป่วย” ไม่ใช่ภาวะของคนมีจิตใจอ่อนแอ และผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาโดยการกินยาควบคุมสารสื่อประสาทให้กลับมาทำงานเป็นปกติ
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข อธิบายถึงอาการของโรคนี้ไว้ว่า ผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีความรู้สึกไม่สบายใจ เซ็ง ทุกข์ใจ เศร้า ท้อแท้ ซึม หงอย เบื่อ ไม่อยากพูดไม่อยากทำอะไร หรือทำอะไรก็ไม่สนุกเพลิดเพลินเหมือนเดิม โดยผู้ที่มีอาการเกือบทั้งวันและเป็นติดต่อกันจนถึง 2 สัปดาห์ จะมีโอกาสสูงที่จะเป็น “โรคซึมเศร้า” ต้องเข้ารับการรักษาโดยการกินยาควบคุมสารสื่อประสาทให้ทำงานเป็นปกติ
อีกทั้งมีข้อมูลจากเว็บไซต์ Banyan mental health ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ค้นพบมาหลายปีแล้วว่า สมองของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า มีความแตกต่างกับสมองของคนปกติอย่างมีนัยสำคัญ
2
เมื่อเปรียบเทียบสมองของคนที่เป็นโรคซึมเศร้ากับสมองของคนปกติ นักวิทยาศาสตร์ได้พบความแตกต่างที่ละเอียดอ่อน แต่สำคัญ นั่นคือ ความผิดปกติของสสารสีเทาในเนื้อสมอง การหดตัวของสมอง และต่อม Amygdala ที่ทำงานมากผิดปกติ
1
*หมายเหตุ : Amygdala (อมิกดาลา) เป็นส่วนเนื้อเยื่อประสาทของสมองที่มีลักษณะเหมือนอัลมอนด์ มีอยู่ในสมองแต่ละข้าง มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอารมณ์และสัญชาตญาณการอยู่รอด เช่น ความกลัว ความรัก และความโกรธ รวมถึงพฤติกรรมความก้าวร้าว และเกี่ยวข้องกับความต้องการทางเพศด้วย
📌ความผิดปกติของสสารสีเทาในสมอง
สสารสีเทาในสมอง หมายถึง เนื้อเยื่อสมองที่ประกอบด้วยเซลล์ประสาท ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าพบว่ามีสสารสีเทาหนาขึ้นในส่วนต่าง ๆ ของสมองที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้ตนเองและอารมณ์
📌การหดตัวของเนื้อสมอง
“คอร์ติซอล” เป็นฮอร์โมนความเครียดในสมอง ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าจะหลั่งคอร์ติซอลในปริมาณที่มากกว่าคนทั่วไป ผลของการหลั่งออร์โมนคอร์ติซอลปริมาณมากๆ ในระยะยาว ส่งผลให้ส่วนต่างๆ ของสมองสามารถหดตัวได้จริงๆ รวมถึงฮิปโปแคมปัสและเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าซึ่งเกี่ยวข้องกับความจำและการตัดสินใจ ก็จะเล็กลงและทำงานผิดปกติ
3
(การศึกษาชิ้นหนึ่งพบว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงที่มีประวัติโรคซึมเศร้าจะมีขนาดของฮิปโปแคมปัส “เล็กกว่า” คนที่ไม่เคยเป็นภาวะซึมเศร้ามาก่อน 9-13% )
📌ต่อม Amygdala ที่แอคทีฟมากผิดปกติ
อมิกดาลา เป็นโครงสร้างสมองที่เกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์ ผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้ามักพบว่ามีต่อมนี้ในสมองทำงานแอคทีฟมากกว่าในสมองของคนปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีภาวะซึมเศร้าสมองจะมีความตื่นตัวมากกว่าคนปกติ เมื่อได้รับสิ่งเร้าทางลบ เช่น เสียงดัง อากาศร้อน คำตำหนิ กลิ่น การทำโทษ ฯลฯ
1
โฆษณา