9 ก.ค. 2022 เวลา 06:28 • ไลฟ์สไตล์
ความอ่อนล้าในหลาย ๆ ครั้งของเรา อาจไม่ใช่แค่ของหวานคอยเยียวยา แต่เมนูของคาวสุดโปรด ก็ทำให้เราชุ่มชื่นหัวใจ ลืมเรื่องราวหนัก ๆ ไปหมดเกลี้ยงได้เลย
ตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น การทานของหวานทุกทีที่อ่อนล้านั้น อาจเป็นการกินด้วยอารมณ์’ (Emotional Eating) ซึ่งเป็นการกินเพื่อทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น เป็นการเติมเต็มทางความรู้สึก มากกว่าการเติมเต็มกระเพาะอาหาร และพฤติกรรมการกินเช่นนี้ ก็มีรูปแบบความอยากอาหารที่ต่างไป จากความหิวทางกายภาพ หรือ Physical Hunger ซึ่งอาจส่งผลต่อความผิดปกติทางร่างกายในภายหลังได้
ในวงการแพทย์ต้องยอมรับว่าความเครียด (Stress) ทำให้เกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง ความเครียดคือที่มาของการสร้างภูมิต้านทานในร่ายกายลดต่ำลง เกิดภาวะไม่สมดุลทางฮอร์โมน กลายเป็นตัวส่งเสริมให้เซลล์มะเร็งขยายตัวได้ง่าย
ในทางพระพุทธศาสนานั้นเน้นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ มากกว่าเพลิดเพลินกับสิ่งอื่น และกลับมาทุกข์ใจซ้ำแล้วซ้ำเล่า เหมือนซ่อนปัญหาไว้ใต้พรม
การยอมรับความจริง ไม่คาดหวัง และปล่อยวาง อาจเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดี และไม่ทำลายสุขภาพ พร้อมทั้งร่างกายยังได้มีเวลาฟื้นฟูตัวเอง ให้กลับมามีเรี่ยวแรงในการสู้ต่อได้อีกครั้ง
กายและใจที่พร้อม จะทำให้เรามีสติ มีปัญญาคมกล้ามากขึ้น ส่งผลให้การมองปัญหานั้นรอบด้านขึ้น วิธีแก้ปัญหาก็จะดีขึ้นตามไปด้วย ลดความรุนแรงของปัญหาที่บานปลาย จากการแก้ปัญหาด้วยอารมณ์
เราเองก็ใช้ทั้ง 2 วิธีนี้ควบคู่กันไป ขอเป็นกำลังใจให้ผ่านทุกปัญหาไปได้ด้วยดี และทานทุกอย่างให้สมดุล และพอดี เพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยตามมาภายหลัง
โฆษณา