9 ก.ค. 2022 เวลา 09:48 • ประวัติศาสตร์
“ปรัชญา” ใน “การเมือง”
“Republic” เป็นงานเขียนที่ทรงพลังของ “เพลโต (Plato)” นักปรัชญาชาวกรีกโบราณ
งานเขียนเล่มนี้มีความโดดเด่น มีการเล่นในประเด็นของความยุติธรรมและศีลธรรมของมนุษย์ และผสมผสานกับประเด็นทางการเมือง
หนึ่งในรากฐานสำคัญของ Republic ก็คือแนวคิดของ “กษัตริย์นักปรัชญา” โดยเพลโตได้แสดงแนวคิดว่าดินแดนที่สมบูรณ์แบบ จำเป็นต้องมีนักปรัชญาเป็นผู้นำ
1
เพลโต (Plato)
แนวคิดกษัตริย์นักปรัชญา เป็นการส่งเสริมให้เห็นถึงความจำเป็นในการต้องมีนักปรัชญาเป็นผู้นำ โดยทั้งคุณค่าและการอบรมเลี้ยงดูที่นักปรัชญาได้รับ ทำให้นักปรัชญานั้นมีคุณสมบัติเหมาะที่สุดที่จะเป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องสำคัญ และออกนโยบายที่ส่งผลกระทบต่อคนหมู่มาก
แต่นักปรัชญาในความหมายของเพลโต ก็ล้วนแต่ถูกอำนาจของความโลภครอบงำ ทำให้อาจจะแตกต่างจากนักปรัชญาในอุดมคติ
แต่นักปรัชญาที่เพลโตยกย่อง ก็ไม่มีปากเสียงหรืออำนาจมากพอที่จะให้ความคิดของตนได้รับการเผยแพร่หรือปรับใช้
ผลที่ออกมา ทำให้เพลโตกล่าวว่า “สังคม” คือสิ่งที่ไม่เหมาะสม ไม่สามารถทำให้นักปรัชญาดึงเอาความรู้ของตนมาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
และเพื่อที่จะให้สังคมดีขึ้น เพลโตมีแนวคิดว่าควรจะแต่งตั้งให้นักปรัชญาอยู่ในตำแหน่งที่สำคัญ มีชื่อเสียง และทำหน้าที่บริหารภาพใหญ่
หากถามว่าทำไมนักปรัชญาจึงเหมาะจะเป็นผู้ปกครอง?
ในทัศนะของเพลโต สิ่งที่นักปรัชญาปรารถนามีเพียงสิ่งเดียว นั่นคือการตามหา “ความจริง” และความรู้ก็คือความจริง
แนวคิดนี้มาจากแนวคิดเรื่อง “รูปแบบ” ต่างๆ ซึ่งเป็นแนวคิดทางปรัชญาว่าทุกๆ สิ่ง ไม่ว่าจะเป็นความงามหรือความยุติธรรม ดำรงอยู่ได้ด้วยความจริงที่สูงส่ง และด้วยเจตนารมณ์ของกษัตริย์นักปรัชญา ก็มีเพียงผู้ที่ศึกษาปรัชญามาเท่านั้นจึงจะสามารถมองเห็นรูปแบบนี้ได้
เพลโตยังกล่าวอีกว่าผู้ที่จะมาปกครอง ควรต้องเป็นคนที่ “ไม่เต็มใจ” คือไม่ได้อยากก้าวสู่อำนาจแต่แรก และนักปรัชญาก็เหมาะสมที่สุด
นักปรัชญานั้นมีความสนใจเพียงแต่เรื่องของความจริง ความรู้ และความยุติธรรม ไม่มีความกระหายอำนาจ ทำให้สามารถปกครองได้อย่างยุติธรรม
1
แต่คำถามว่า “จะนำองค์ประกอบของกษัตริย์นักปรัชญามาประยุกต์ใช้เข้ากับบริบทของสมัยใหม่ได้อย่างไร” คำถามนี้อาจจะไม่มีคำตอบที่ชัดเจน แต่ที่เป็นไปได้ ก็คือการนำปรัชญามาปรับใช้ในการออกนโยบายต่างๆ
ถึงแม้หลักการของเพลโตอาจจะไม่สามารถนำมาปรับใช้ได้จริงทั้งหมด แต่ Republic ของเพลโตก็สะท้อนให้เห็นภาพของแนวคิดทางปรัชญา ไม่ว่าจะทันสมัยหรือล้าหลังก็ตาม
โฆษณา