10 ก.ค. 2022 เวลา 07:32 • การเมือง
ขั้นตอนการโหวตในสภาเป็นอย่างไร เข้าใจดราม่าหาร 100/500
สวัสดีครับเพื่อนๆ
จากเหตุการณ์ดราม่าเรื่องการแก้ไขกฏหมายการเลือกตั้ง หาร 100 หาร 500 ใครได้เปรียบเสียเปรียบ ใครมีจุดยืนอย่างไร แล้วทำไมเกิดดราม่าของเพื่อไทย กับก้าวไกล
เพื่อนๆจะมีความเห็นอย่างไรก็แล้ว โพสท์มีเพื่ออธิบายขั้นตอนการลงมติเท่านั้นครับ
เมื่อมีกฏหมายเข้าในสภา หลังจากที่ผ่านวาระ 1 รับหลักการไปแล้ว ก็จะมีการตั้งกรรมาธิการขึ้นมา เพื่อทำงานในตัวกฏหมายแบบรายมาตรา ในรายละเอียดทุกอย่าง เพื่อนำกับมาเสนอต่อสภา ในฐานะของร่างกฏหมายของกรรมาธิการที่ตั้งขึ้น ไม่ใช่ของพรรคใดพรรคหนึ่งอีกแล้ว
เพราะฉะนั้นร่างของกมธ. จึงเป็นร่างที่ประธานจะถามเสมอ ว่าที่ประชุมเห็นด้วยกับร่างของกมธ.ในมาตรานี้หรือไม่ เห็นด้วย หรือ ไม่เห็นด้วย
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย จะขอให้มีการแก้ไขในมาตราใดมาตราหนึ่ง ก็จะมีอยู่ 2 พวกใหญ่ๆ คือ กมธ.เสียงข้างน้อย ที่ตอนประชุมกมธ. พวกเขาแพ้โหวตในมาตรานั้น เขาจึงขอ "สงวนความเห็น" เพื่อมาอภิปรายรอบต่อมาในสภา และหวังว่าการประชุมสภาจะลงความเห็นชอบกับกมธ.เสียงข้างนอก พวกเขาก็จะมีโอกาสชนะได้ พรรคก้าวไกลแพ้ในกมธ.ประจำ สงวนความเห็นมาอภิปรายตลอด โอกาสจะชนะมีน้อยมาก แต่ก็เคยมีเกิดขึ้น ในพรบ.ประชามติ เป็นต้น
พวกที่สอง คือ สมาชิกคนอื่นที่ไม่ได้เป็นกมธ. หลังจากตั้งกมธ.ขึ้นแล้ว จะมีเวลาให้สมาชิก "แปรญญัติ" คือ เสนอแก้ไขในมาตราต่างๆตามที่ตนเองเห็นสมควร กมธ.จะเชิญผู้แปรญัตญัติไปนำเสนอในกมธ. และลงมติกันว่าจะเห็นชอบกับผู้แปรญัตติหรือไม่ ถ้าเห็นชอบ มีการแก้ไข หรือ ไม่เห็นชอบ ผู้แปรญญัติก็สามารถ "สงวนคำแปรญัตติ" มาสู้ต่อในสภาใหญ่
นี่เป็นที่มาของคำถามในแต่ละมาตราของประธานสภา ว่าในมาตรานี้ กรรมาธิการเอาแบบนี้ ที่ประชุมเห็นชอบหรือไม่ ถ้ามีผู้สงวนความเห็น หรือ แปรญัตติไว้ ก็จะโหวตว่าเอาของใคร ถ้ามีการแปรญัตติมากกว่า 1 คำแปร ก็จะมัดรวมกันทั้งหมด ถ้าที่ประชุมไม่เห็นชอบกับกรรมาธิการ ค่อยมาลำดับสองคือ ที่ประชุมเห็นด้วยกับคำแปรญัตติของใครครับ
นี่คือขั้นตอนทั่วไปในการประชุมทุกครั้ง เอามาเป็นแบ๊คกราวน์ ให้เพื่อนทราบ จะได้ติดตามการประชุมได้เข้าใจและสนุกขึ้นครับ
โฆษณา