9 ก.ค. 2022 เวลา 16:20 • หุ้น & เศรษฐกิจ
แก่นในการลงทุน
อ.พีรยุทธ เหลืองวารินกุล (picatos)
ทำไมเราต้องลงทุน ลงทุนแล้วได้อะไร
-เมื่อเราเข้ามาลงทุน เราควรจะรู้ชัดวัตถุประสงค์ในการลงทุนของเราว่า คืออะไร
-วัตถุประสงค์การลงทุนของเราจะช่วยให้เรากำหนดเป้าหมายวิธีการลงทุน รวมไปถึงวิธีการดำเนินชีวิต หากวัตถุประสงค์ไม่ชัด การกระทำก็ไร้ประสิทธิภาพ
-รู้ชัดในความเหมาะสม เพราะแต่ละคน มีพื้นฐานที่แตกต่างกัน มีเวลา มีกำลังทรัพย์ มีประสบการณ์ ความรู้ แตกต่างกันไป วิธีที่เหมาะสมจึงแตกต่างกันไป
-เมื่อเรารู้เป้าหมาย รู้วิธีการแล้ว เราควรขยายขอบเขตกิจการ งานต่างๆในชีวิตประจำวันให้เชื่อมโยง เกี่ยวข้อง และเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับการลงทุน
-หากบรรลุถึงขั้นนี้แล้ว ความสามารถในการลงทุนจะพัฒนาขึ้นเองอย่างอัตโนมัติ แม้ว่าจะไม่ได้เข้าคอร์ส อ่านหนังสือ อย่างเป็นแบบแผน และทำให้เรามีความสุข
กำไร ผลตอบแทน มี 2 แบบ
แบบเป็นเจ้าของกิจการ ได้ผลตอบแทน จากกำไร – กระแสเงินสด -ปันผล
-ผลตอบแทนขึ้นอยู่กับการดำเนินงานในอนาคตของกิจการ
-การดำเนินงานของกิจการ ในอนาคตจะเป็นอย่างไร
แบบนักเก็งกำไร ได้กำไรจากการ ซื้อถูก ขายแพง
-กำไร/ขาดทุน ขึ้นอยู่กับความโลภ/ความกลัว ของตลาดในอนาคต
-ความโลภ/ความกลัวของตลาดในอนาคต จะเป็นอย่างไร
(เป็น VI ก็เป็นนักเก็งกำไรได้)
สิ่งที่นักลงทุนทำไม่ใช่ การซื้อขายหุ้น
งานหลักของการลงทุน คือ
-การสังเกตการณ์ เป็นผู้ดู เป็นผู้รู้ สิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการลงทุน
-เป็นผู้ศึกษา สิ่งที่เกิดขึ้น ในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต
-เป็นผู้วางแผนการลงทุน และ การซื้อขาย
ขอบเขตสิ่งที่เราต้องดู
-ปัจจัยที่มีผลกระทบกับพื้นฐานกิจการ เช่น เศรษฐกิจ สังคม พฤติกรรม เทคโนโลยี
-ความโลภ ความกลัวของตลาด
-จิตใจและความคิดของตัวเอง / ควบคุมให้อยู่ในหลักการ
ทำความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งต่างๆและการลงทุน
(เข้าใจความไม่เที่ยงของโลกนี้)
ธุรกิจ
-มีช่วงเริ่มต้น ช่วงรุ่งโรจน์ ช่วงเสื่อมถอย กำไร/ขาดทุน
-มีวงจรแตกต่างกันไป บางธุรกิจวงจรสั้น บางธุรกิจวงจรยาว เป็นไปตามเหตุปัจจัย
-ไม่มีตัวตน ประกอบขึ้นจากแนวคิด ระบบ พนักงาน สินค้า ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง ฯลฯ
-เพราะเรามองไม่ขาดถึงปัจจัยต่างๆที่กระทบและดำเนินไป จึงวิเคราะห์ผิด
1
ความโลภ/ความกลัว ในการลงทุน เป็นอารมณ์ๆหนึ่งแปรเปลี่ยนเร็วมากไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้
-ความโลภ/ความกลัวอาจจะเกิดอย่างมีเหตุผล หรือ ไม่มีก็ได้
-สิ่งใดไม่เที่ยง ไม่ควรยึดถือ ยิ่งสิ่งที่แปรเปลี่ยนรวดเร็วอย่างใจคน ยิ่งไม่ควร
-ความโลภ/ความกลัว ที่ปราศจากเหตุผลหรือใช้เหตุผลที่ผิดนำไปสู่การกระทำที่ผิด
มองในฐานะเจ้าของกิจการ การดำเนินงานจะเป็นอย่างไร
เข้าใจภายใน(Bisiness Model) ตัวกิจการ การดำเนินงาน รู้ชัดว่า รายได้,รายจ่าย, เป็นอย่างไร กำไรเกิดขึ้นตรงไหน อะไรที่เป็นผลกระทบต่อกิจการ
เข้าใจภายนอก สถานการณ์การแข่งขัน ตำแหน่งและความสัมพันธ์
-รู้ว่าคู่แข่ง คู้ค่า ลูกค้า เป็นอย่างไร อำนาจและตำแหน่งทางการแข่งขขันเป็นอย่างไร
เข้าใจภายในและภายนอก
-เข้าใจกลยุทธ์ตำแหน่งทางธุรกิจ ภายใต้สภาพแวดล้อม จะทำให้ธุรกิจพัฒนาไปในทิศทางไหน อย่างไร และจะสร้างกระแสเงินสดให้กับเจ้าของกิจการได้อย่างไร
ถ้าเราสามารถประเมินเป็นตัวเลข Conservative ได้ เราก็จะรู้คร่าวๆ ว่าในระยะยาว ถ้าเราลงทุนโดยไม่ขายหุ้นเราจะได้ผลตอบแทนเท่าไหร่เป็นอย่างต่ำ
ประเมิน ว่า อะไรที่ กระทบกับ รายได้,ค่าใช้จ่าย > ผลกำไร
ความโลภและความกลัวเกิดจากความเชื่อต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต
ปัจจัยที่ทำให้คนซื้อ/ขายหุ้น
-พื้นที่ฐานกิจการ พฤติกรรมผู้บริโภค สังคม เศรษฐกิจ
-การลงทุนทางเลือก ลงทุนเชิงเปรียบเทียบ ระหว่างหุ้น อุตสาหกรรม ประเทศ asset (ย้ายเงินลงทุน)
-Fund Flow เงินต่างชาติ เงินกองทุน เงินจ้าว เงินเซียน
-พฤติกรรมการซื้อขาย พฤติกรรมราคา กราฟ ข่าว
-ความโลภ/ความกลัว ของเพื่อนๆคนใกล้ชิด ของคนในSocial
ถ้าเรามองเห็น พื้นฐานกิจการในอนาคต เราจะมองเห็นความโลภ ความกลัว ที่นักลงทุนมีต่อหุ้นตัวในอนาคตเกือบหมด สุดท้ายแล้วราคาควรสะท้อนพื้นฐาน
ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับกิจการๆหนึ่งมีมากมายมหาศาล ข้อมูลเยอะเกิน
-ลูกค้า คู่แข่ง ลูกจ้าง การผลิต การลงทุน นโยบายรัฐ ตลาดหุ้น เศรษฐกิจ ต่างประเทศ Fund Flow ปัญหาเศรษฐกิจโลกภาวะโลกร้อน พฤติกรรมคน สังคม สงคราม การจราจล
ทุกสิ่งทุกอย่างดูเหมือนจะมีผลกระทบกับกิจการ แต่อะไรละที่เป็นสาระสำคัญ
-ซื้อหุ้นเพราะเป็นกิจการที่ดี มีการเติบโตได้ดีภายในประเทศ แต่ขายหุ้นเพราะเศรษฐกิจโลก
-เราต้องทำใจยอมรับว่า เรารู้ได้ไม่หมดทุกเรื่อง และเรามีอคติในการรับรู้
-เราต้องเลือกรับข้อมูล เลือกเฉพาะแก่น เลือกเฉพาะสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
-เราต้องยอมรับว่าจะต้องเกิดความผิดพลาดบ้างกับข้อมูลที่เรารู้ไม่หมด
-เราต้องยอมรับว่าจะต้องเกิดความผิดพลาดจากอคติในการลงทุน
MOS จะเป็นตัวช่วยป้องกันความไม่รู้ / หาข้อมูลเพิ่ม STOP LOSS
เสา 3 ต้น ในการลงทุน
ต้นที่ 1 หลักการลงทุนหุ้นรายตัว
ถือยาว ไม่ขาย ถือแบบบัฟเฟต
- กระแสเงินสดอิสระ หรือกำไรของเจ้าของ ทำให้เกิดปันผลที่เกิดขึ้น ในอนาคต
-เป็นการมองภาพธุรกิจในอนาคต
-ถ้าธุรกิจที่ลงทุนเป็นธุรกิจที่มองออกไปได้ยาวๆก็สามารถหาอัตราผลตอบแทนระยะยาวได้
-ผลตอบแทนในระยะยาวไม่มีทางสูงเวอร์
-ไม่ต้องปวดหัวเพราะไม่ต้องขาย
หุ้นที่มีเอาไว้ขาย ที่ซื้อก็เพราะจะขาย
-เห็น story ของหุ้นมุมมองของนักลงทุนในตลาดที่เปลี่ยนไปตามปัจจัยต่างๆ
-เป็นการเก็งกำไรความเชื่อของตลาดในอนาคต
-ปัจจัยที่จะมากระทบกับราคาหุ้นมีเยอะมากซะจนทำนายได้ยาก
-ผลตอบแทนระยะสั้นอาจจะสูงมาก
-เวลาพอร์ตใหญ่จะปวดหัวเพราะหุ้นที่มี ให้เลือกเล่นน้อยเนื่องจากสภาพคล่อง
-ระยะสั้นราคาจะเป็นเท่าไหร่ก็ได้ แต่ระยะยาวต้องสะท้อนผลประกอบบการ
แต่ In the long run ,we’re all dead คำว่าระยะยาว,มันยาวขนาดไหนกันแน่
อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน แต่ในอนาคตอันใกล้มีความแน่นอนมากกว่าไกล
การลงทุนที่ดีสำหรับผมคือ
-หุ้นจะขึ้นในระยะสั้นเพราะเห็น story เห็นอนาคตจากการวิเคราะห์ต่างๆมาอย่างดีแล้ว
-แต่ถ้าเกิดมันไม่ขึ้นเพราะอะไรสักอย่าง เราก็ยังได้ผลตอบแทนดีๆ จากการลงทุนระยะยาว
ผมจะซื้อหุ้นที่ผมเข้าใจกิจการ มองเห็นอนาคตของกิจการได้ง่าย
-ถ้ามองอนาคตของกิจการออกได้ไม่ถึง 2 ปี จะไม่อยากซื้อหรือแม้แต่จะดู
-ซื้อหุ้นในราคาที่มี Margin of safety
-ถ้ามองอนาคตออกไปได้ไม่ไกล ไม่สามารถคำนวน MOS ได้ / เพราะไม่รู้อนาคตจะกำไรหรือขาดทุน หุ้นแบบนี้จะมีแค่ Upside
-ยิ่งมองอนาคตได้ยากเท่าไหร่ ยิ่งต้อง Upside เยอะๆมีจุด Stop ชัดเจน
-ถ้าธุรกิจที่ภาพระยะยาวดูไม่ดี แต่ภาพระยะสั้นดี ต้องมี upside อย่างต่ำ 100 %
- ผมชอบหุ้นที่กำไรเติบโต มี Story ที่ทำให้ตลาดเชื่อว่ากิจการดีขึ้นให้ P/E สูงขึ้น
-ผมชอบหุ้นที่ Market Capจะเปลี่ยนสถานะ ไปในจุดที่คนสนใจขึ่น จาก 5000 ไป 10000>15000>20000
จะไปได้ไว ยิ่งกองทุนเข้า Paper หุ้นตัวนั้นก็ยิ่งออกมากขึ้น
มูลค่ายุติธรรมไม่ได้เป็นค่าค่าเดียว
-อนาคตไม่แน่นอน เราจึงไม่มีทางรู้มูลค่ายุติธรรมได้อย่างชัดเจน
-เราสามารถคำนวนมูลค่ายุติธรรมได้หลายวิธี ได้หลายค่า แล้วแต่ความเหมาะสม
-มูลค่ายุติธรรม ในระยะยาวที่ Conservative คือ ค่าที่นำมาใช้คำนวน Mos
-ความเป็นไปได้ที่หน้าตาของผลประกอบการจะออกมาในรูปแบบต่างๆ คือจะถูกนำมาคำนวนช่วงของราคาเป้าหมายที่เป็นไปได้
โดยทั่วไป ราคาเป้าหมาย = EPS x P/E
-คำนวน EPS ในกรณี Worst case , Base case
-ดูค่าเฉลี่ย P/E ในตลาด สร้างเป็นกรณีที่ตลาด underweight , neutral , overweight
-คิดแค่นี้ก็มีค่า g ที่คำนวนออกมาได้แล้ว
ซื้อเมื่อมี MOS ขายเมื่อ STOP หรือมีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า
-ผมจะซื้อเมื่อมี MOS เพราะถ้าผลพลาด ผมก็ยังได้ผลตอบแทนในระยะยาวที่ดี
-แต่ถ้า Upside เยอะมากแม้ไม่มี MOS ก็สามารถซื้อได้ แต่เราต้องรู้ชัดว่ามีโอกาสขาดทุน
-ผมจะขายต่อเมื่อ (กรณีที่พื้นฐานกิจการไม่ได้มีอะไรเปลี่ยน)
1.ราคาอยู่ในช่วง Fair Value แล้ว (ช่วงFari อาจจะกว้างมาก)
2.จะทยอยขายทีละนิด หากจำนวนหุ้นที่ถือ มีนัยยะกับตลาด
3.หากสัญญาณทางเทคนิคเริ่มเปลี่ยน จะโยนไม้ใหญ่ๆ ลดลงอย่างมีนัยยะ
4.จะขายให้เกือบหมดหากราคาไปถึงขอบเขตด้านบนของ Fair Vulue
5.จะมี Level ที่ต้อง Stop ให้หมดโดยจะใช้การ Trialing Stop ที่ขยับเปอร์เซ็นต์ตาม Upside ที่เปลี่ยน
-ถ้ามีหุ้นตัวอื่นที่ Upside เยอะ โผล่มาก็อาจจะSwitch หรือ ถ้าหุ้นเปลี่ยน Trend หรือถ้าหุ้นอื่นที่ถือ Upside เยอะกว่า กลายเป็น Uptrend ก็อาจ Switch
-ถ้าหุ้นขึ้นผ่านขอบด้านล่างต้องเป็น Uptrend แน่นอน ใช้เทคนิคอลเข้ามาประกอบได้
ต้นที่ 2 หลักการบริหารพอร์ตโฟลิโอ
ถือตัวเดียวได้แต่ต้องมั่นใจมากๆ
การเลือกหุ้นเข้าพอร์ตและจัดสัดส่วน
ปัจจัยที่เราพิจารณาหุ้นตัวหนึ่งๆในการจัดพอร์ต
-upside ช่วงที่ตลาดยังไม่สนใจ อาจใช้ worst case target แต่ถ้าเริ่มเป็นที่สนใจก็เริ่มอัพเกรด ไปใช้กับ base case ถ้าเป็นหุ้นที่ร้อนแรงก็ปรับ target เป็น ฺbest case
-ระดับความมั่นใจในกิจการและผลประกอบการ
-ระยะเวลาหวังผล ที่เราคาดว่า story ต่างๆจะแสดงออกมา drive ให้ตลาดเชื่อไปตามเรา
ปัจจัยในการถือ position โดยรวมของพอร์ต (กู้มาร์จินหรือถือเงินสด)
-Mos และ Upside โดยรวมของพอร์ต
-ความถูก/แพง โดยรวมของตลาด
-สัญญาณทางเทคนิคโดยรวมของตลาด
-ตลาด Down Trend ไม่มีมาร์จินเงินสดบ้าง
-ตลาด sideways มีมาร์จิ้นอยู่ส่วนหนึ่ง
-ตลาดuptrend เพิ่มมาร์จิ้น
การบริหารพอร์ตต้องลืมต้นทุน
การบริหารพอร์ตของผม คือการบริหาร upside และความเสี่ยงของพอร์ตคือ Upside ณ ขณะนี้ ไม่ใช่อดีต
Upside หมายถึง upside ณ ขณะราคาปัจจุบันเพราะฉะนั้น ลืมต้นทุนซะ
-ต้นทุนจะเป็นเหมือนหอกข้างแคร่ ที่ทำให้เราปรับพอร์ตได้ไม่คล่องตัว
-ต้นทุนจะทำให้เราขายหุ้นเร็วเกินไป
-ต้นทุนจะทำให้เราไม่กล้า cut loss
-ต้นทุนเป็นสิ่งที่ไม่ควรยึดติดเพราะมันเป็นอดีตที่ไม่สามารถแก้ไขได้ สิ่งที่เราทำได้คือปัจจุบันเท่านั้น จะไปดูทำไม Upside ของอดีต ต้องดู Upside ในปัจจุบันเท่าั้น
เราต้องรู้ชัดว่าเรามีความเสี่ยงมากขนาดไหน ทั้งตัวกิจการและความเสี่ยงในการโดน Force Sell และเราต้องรู้ชัดว่าตลาดแบบไหนควร เพิ่ม/ลดความเสี่ยง
ต้นที่ 3 : หลักในการบริหารและควบคุมจิตใจ (สำคัญที่สุด)
หลักการดีแต่ปฏิบัติล้มเหลว
-ธรรมชาติของใจคนเราชอบรับอารมณ์ เสพอารมณ์ ชอบทำนู่น ทำนี่ คิดนู่น คิดนี่
-หลายคนมีหลักการลงทุนที่ดี มีความรู้และเหตุผล มีความเพียรพยายามที่ดี แต่พอมาถึง ขั้นตอนลงมือปฏิบัติกลับล้มเหลว เพราะไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผน
-ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้ตามแผนเพราะแพ้ใจตัวเอง แพ้สัญชาตญาณ
-อารมณ์ บรรยากาศ เสียงจากคนรอบข้าง ที่ทำให้เราไม่สามารถคิดได้อย่างมีอิสระ จึงเป็นเหตุให้ซื้อขายหุ้นอย่างไร้เหตุผล
-ทำให้ไม่สามารถยึดมั่นในหลักการที่คิดมาอย่างดีแล้ว
-ทำให้เราไม่เชื่อมั่นในหลักการแม้ว่าจะเป็นหลักการที่ได้รับการพิสูจน์มาจากคนที่เก่งและรวยที่สุดในโลกแล้ว
-การลงทุน คือ การฝืนสัญชาตญาณและใช้ปัญญา
-การลงทุนให้ประสบความสำเร็จ ต้องเอาชนะ สัญชาตญาณและใช้ปัญญาในการลงทุน เหตุผผลอยู่เหนืออารมณ์
-ไม่ได้หมายความว่าห้ามมีอารมณ์ ห้ามกลัว เพราะมันเป็นไปไม่ได้
-แต่การกระทำทุกอย่างต้องมีเหตุผลที่ชอบด้วยปัญญารองรับ
-ไม่ว่าจะโลภหรือกลัว เวลาซื้อก็ให้ซื้ออย่างมีสติ มีเหตุผลรองรับการซื้อครั้งนั้น
-จงโลภเวลาที่คนอื่นกลัว จงกลัวเวลาที่คนอื่นโลภ “ถ้าไม่มีเหตุผลที่ดีรองรับ ก็ไม่ซื้อขาย”
-อย่างไรก็ตามเรามักจะถูกอารมณ์ ถูกกิเลส หลอกให้เราเข้าใจว่าเรากำลังทำสิ่งต่างๆด้วยเหตุผล กระทำอย่างมีปัญญาแล้ว
-แล้วเราจะทำสิ่งที่ขัดแย้งกับสัญชาตญาณกับอารมณ์ ความโลภ ความกลัว ได้อย่างไร
การถือศีลเป็นการสร้างนิสัย สร้างความเคยชิน
-ขณะที่เราถูกอารมณ์ ครอบงำ เรามักคิดพิจาณาสิ่งต่างๆได้ไม่ถี่ถ้วน ไม่ถูกต้อง
-ดังนั้นเราควรสร้างกฏเหล็กเอาไว้ล่วงหน้า เพื่อเอาไว้บังคับตัวเอง ในเวลาที่ขาดสติ ตัวอย่างเช่น
-ทุกเช้าก่อนตลาดเปิด เราจะโทรไปวาง Stop Order ทิ้งเอาไว้กับมาร์
-ถ้าเรารู้ว่าการนั่งเฝ้าหน้าจอทำให้เราเครียดและซื้อขายมากเกินความจำเป็น ก็ต้องควบคุม
- เราต้องมีกฏเหล็กว่า ถ้ายังดู 56-1 ย้อนหลังไม่ครบ 3 ปี ห้ามซื้อหุ้นเกิน xx% เป็นต้น
-การสร้างกฏเกณฑ์ดีจะนำไปสู่การสร้างนิสัยที่ดี
-อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้วกฏเกณฑ์ต่างๆ มันจะฝืนอารมณ์ ความรู้สึก เหลือเกิน คล้ายๆกับจับคนอ้วนไปอดอาหาร พยายามเลิกเหล้า เลิกบุหรี่ ซึ่งก็มีหลุดอยู่บ้าง
ความเข้าใจกระบวนการของจิต
-ถ้าเราเข้าใจกระบวนการของจิตและพยายามฝึกพัฒนาจิตก็จะสามารถวางอารมณ์ที่กำลังพุ่งพล่านลงได้ สามารถหักห้ามตัวเองไม่ให้ทำสิ่งไม่ดีลงได้
-ตามปกติ เมื่อเรารับรู้สิ่งต่างๆ เข้ามาหากเป็นประสบการณ์ใหม่ เราก็จะมีการพิจารณาสิ่งนั้น แล้วค่อยมีปฎิกิริยาโต้ตอบกลับ ผลลัพท์ออกมาเป็นอย่างไร ก็จะบันทึกลงในความทรงจำ พอคราวหน้าเจอเหตุการณ์เดิมอีก ก็จะโต้ตอบเร็วขึ้น จนสุดท้ายกลายเป็นสัญชาตญาณ หากเป็นประสบการณ์เก่าก็พร้อมที่จะถึงสิ่งที่เคยมีอยู่ในความทรงจำออกมาใช้ทันที
หยุดปฎิกิริยา โต้ตอบอัตโนมัติด้วยการกำหนดรู้
-เมื่อเราเห็นหุ้นถูก ความกลัวที่เกิดขึ้นมาจากการตีความอย่างรวดเร็วของจิต ตัดสินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไปว่าจะนำไปสู่ความทุกข์ ความยากลำบากจึงกลัว
-เมื่อเราเห็นหุ้นขึ้น ความโลภที่เกิดขึ้นจากความพึงพอใจในกำไรและเกิดความโลภ อยากให้หุ้นขึ้นอีก เพื่อจะได้นำเราไปสู่ความสุขสบายจึงอยากได้อีก
-ในทางทฤษฎี หากเราสามารถหยุดกระบวนการรับรู้ เหลือไว้เพียงแค่การรับรู้โดยไม่ให้เลยไปถึงขั้นพิจารณา ปรุงแต่งอารมณ์จากประสบการณ์ในอดีต การรับรู้นั้นจะเหมือนกับการรับรู้ครั้งแรกทุกๆครั้ง
-เมื่อเราสามารถตัดการตีความอย่างรวดเร็วก่อนที่จะเป็นอารมณ์ เราก็จะสามารถพิจารณาความจริงได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นมีเหตุผล มีความเหมาะสมอย่างไร
-แก้ไขโดย รับรู้ และใช้เหตุผล มารองรับ ตัดอารมณ์ออกนั่งสามธิเพิ่ม
-ในโลกของการลงทุน ข้อมูลข่าวสารมีมากมายมหาศาลมีที่ผ่านมาให้เรารับรู้ และไม่ได้เข้ามา ในการรับรู้การพิจาณาใช้เหตุผลของเรามักจะมีอคติ
-เราต้องพยายามศึกษาความเข้าใจความเป็นจริงต่างๆที่เกิดขึ้น และยอมรับความเป็นไปได้ ไม่ว่าจะดีหรือร้ายด้วยความเข้าใจอย่างมีเหตุผล
-เลือกสรรแค่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง ยอมรับว่าเรารู้ได้ไม่หมด
-พยายามหาแก่นแท้ วิถี ไปจนถึง วิธีการใช้ชีวิตและการลงทุน ให้เหมาะสมกับตัวเราเอง
-การลงทุนรายตัว
-การบริหารพอร์ต
-การบริหารจิตใจ
-การลงทุนเป็นแค่ส่วนหนึ่งในชีวิต เป็นแค่การหาเลี้ยงชีพวิธีหนึ่ง
-เรามีหน้าที่ศึกษา เข้าไป ตามดู ตามรู้ กิจการ และตลาด เพื่อมองให้ทะลุ เข้าไปถึงเหตุปัจจัยที่ทำให้หุ้นขึ้น อย่างไรก็ตาม เราคงอาจจะไม่เข้าใจทุกสิ่งทุกอย่างได้
-เราจึงต้องเตรียมใจ พร้อมรับสิ่งดี สิ่งร้าย ที่อาจจะผ่านเข้ามาเสมอ หากสิ่งที่ดีเข้ามา ขอให้เราอย่าฟ่องฟูจนเกินไป หากสิ่งร้ายเข้ามา ก็อย่าให้ห่อเหี่ยวมากเกินไป
-เมื่อเรามีความคิด หลักการที่ถูกแล้ว มีความเพียรพยายาม ที่ถูกแล้ว มีสติ สมาธิแล้ว ความสำเร็จในการลงทุน แม้ไม่เกิดวันนี้ก็ต้องเกิดขึ้นสักวันในวันข้างหน้า
โฆษณา