Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
คุยเฟื่องเรื่องศัลย์กับหมอโภคิน
•
ติดตาม
11 ก.ค. 2022 เวลา 00:21 • สุขภาพ
สวัสดีครับ วันนี้หมอมีเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมะเร็งเต้านม
มาเล่าให้ทุกคนฟังกันครับ
เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า มีคนไข้หมอนำผลแมมโมแกรม
เข้ามาปรึกษาด้วยความกังวลใจ
ในผลแมมโมแกรมมีข้อความว่า
"คุณมีหินปูนเกาะในเนื้อเต้านม"
คนไข้มีความกังวลใจว่า ผลแบบนี้จะเป็นมะเร็งเต้านมไหม?
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจถึงกระบวนการเกิดกินปูนในร่างกายก่อนนะครับ
โดยเมื่อร่างกายคนเราแก่ตัวลง จะเกิดการสะสมสารแคลเซี่ยมที่อวัยวะต่างๆ
ซึ่งเป็นเรื่อง "ปกติ" ของความเสื่อมของร่างกายตามธรรมชาติ
แต่ในเต้านมนั้น การสะสมและการเรียงตัวของแคลเซี่ยมหรือหินปูนนี้ในบางลักษณะ
จะเป็นการบอกใบ้ว่าผู้ป่วยกำลังมีโรค "มะเร็งเต้านม" แอบแฝงอยู่
โดยการสะสมของแคลเซี่ยมในเนื้อเต้านมนั้น จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภททใหญ่ๆ คือ
1.การสะสมของแคลเซี่ยมที่ไม่ได้เกิดจากโรคมะเร็งเต้านม
(Benign calcification)
ได้แก่
-Skin calcification เป็นการสะสมแคลเซี่ยมที่ผิวหนัง
-Vascular calcification เป็นการสะสมของแคลเซี่ยมตามหลอดเลือด
-Popcorn-liked calcification เป็นการสะสมของแคลเซี่ยมที่เกิดจากการฝ่อของเนื้องอกเตานมที่ไม่ใช่มะเร็ง
-Large-rod calcification เป็นการสะสมของแคลเซี่ยมที่เกิดจากการอักเสบของท่อน้ำนม โดยมักเห็นชัดในผู้หญิงอายุ 60 ปีขึ้นไป
-Round calcification เป็นการสะสมของแคลเซี่ยมที่เกิดในต่อมน้ำนมจากความผิดปกติบางอย่าง ของเนื้อเยื่อเต้านม
-Rim calcification เป็นหินปูนที่เกิดตามขอบของซิสต์เต้านม
-Dystrophic calcification เป็นการสะสมของหินปูนที่เกิดตามหลังการผ่าตัด
-Milk of calcium เป็นการสะสมของหินปูนที่เกิดจากการตกตะกอนของน้ำนม
-Suture calcification เป็นการสะสมของหินปูนที่เกิดในไหมเย็บแผลที่เกิดขึ้นหลังผ่าตัด
2.การสะสมของแคลเซี่ยมที่สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม
(Suspicious calcification) ได้แก่
-Amorphous calcification หินปูนประเภทนี้ สัมพันธ์กับมะเร็งเต้านม 20 %
-Coarse calcification เป็นหินปูนขนาด 0.5-1 มม. กระจายๆอยู่ขนาดต่างๆกัน
หินปูนประเภทนี้สัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านม 13%
-Fine pleomorphic calcification เป็นหินปูนที่มีขนาดเล็กกว่า 0.5 มม.
มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็งเต้านม 30 %
-Fine linear branching เป็นหินปูนที่เรียงต่อกันคล้ายกิ่งไม้ สัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งเต้านม 30 %
เมื่อไรก็แล้วแต่ที่แมมโมแกรมเห็นหินปูนที่ผิดปกติ
จะต้องมาดูว่าเป็นกลุ่มหินปูนที่ไม่เกี่ยวกับมะเร็งหรือเป็นหินปูนที่เกิดจากมะเร็ง
ถ้าเกิดจากมะเร็ง ต้องมีการเก็บชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่
ดังนั้นการตรวจคัดกรงโรคมะเร็งเต้านมจึงสำคัญ
เพราะจะทำให้สามารถเห็นความเปลี่ยนแปลงหรือการเกิดใหม่ของหินปูนได้ไวขึ้น
ด้วยรักและห่วงใย
#หมอโภคิน
มะเร็งเต้านม
สุขภาพ
1 บันทึก
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เล่าเรื่องมะเร็งเต้านม
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย