13 ก.ค. 2022 เวลา 00:24 • สุขภาพ
เมื่อคุณมี "ก้อนในเต้านม"
สิ่งที่คุณผู้หญิงทุกท่าต้องทำคือการ ไปพบแพทย์
เพื่อทำการตรวจว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นนั้น
เกิดจากมะเร็งเต้านมหรือเปล่า
โดยหลังจากที่คุณได้รับการซักประวัติความเสี่ยง
และตรวจร่างกายโดยแพทย์แล้ว
แพทย์จะส่งคุณไปตรวจแมมโมแกรมหรืออุลตร้าซาวด์เต้านมต่อ
เพื่อให้เห็นลักษณะโครงสรา้งความผิดปกติภายในเต้านม
ซึ่งการอ่านผลของการตรวจเหล่านี้จะอ่านในระบบของ
BIRADS (ตามอ่านได้ในบทความเรื่องการตรวจแมมโมแกรม)
.
ถ้าคุณผู้หญิงเป็นกลุ่ม BIRADS 1-3 ก็ไม่น่ามีปัญหาครับ
เพราะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมค่อนข้างน้อย
หรือไม่มีโอกาสเลย
แต่ถ้าคุณเป็น BIRADS 4-5 อันนี้เป็นปัญหาแล้วล่ะครับ
เพราะว่าคุณจะมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้ถึง
10-95 %
.
สิ่งที่คุณต้องทำถัดไปต่อจากการตรวจแมมโมแกรมคือ
การพิสูจน์ให้ได้ว่า ก้อนที่เกิดขึ้นนั้น เป็นมะเร็งเต้านมจริงๆหรือไม่
โดยการพิสูจน์นี้ ในทางการแพทย์ เราจำเป็นต้องได้
เซลล์ หรือชิ้นเนื้อ ณ จุดที่สงสัย มาทำการตรวจทางพยาธิวิทยา
(หรือเรียกง่ายๆว่าเอามาส่องกล้องจุลทรรศน์ดูนั่นแหละ)
โดยการที่เราจะได้ชิ้เนื้อเหล่านี้ออกมานั้น มีหลายวิธี
ได้แก่
.
1.FINE NEEDLE ASPIRATION (FNA)
คือการใช้เข็มเบอร์เล็กๆ เพื่อเจาดูดเอา "เซลล์"
จากบริเวณที่สงสัยความผิดปกติ มาส่งตรวจ
ข้อดีของวิธีนี้คือ ทำง่าย รวดเร็ว เจ็บน้อย ไม่ต้องใช้อุปรณ์พิเศษเยอะ
แต่ข้อเสียของการทำ FNA คือ โอกาสผิดพลาดค่อนข้างสูง
โดยโอกาสผิดพลาดในการวินิฉัยมะเร็งเต้านมของการทำ FNA นี้
สูงถึง 40 % เลยทีเดียว นอกจากนี้
เมื่อได้ชิ้นเนื้อมา เนื่องจากเป็นการส่งตรวจแค่เซลล์
จึงไม่สามารถบอกระยะ และชนิดของมะเร็งเต้านมได้
.
2.CORE NEEDLE BIOPSY (CNB)
คือการใช้ เข็มขนาดใหญ่ ในการเจาะเอาชิ้นเนื้อมาส่งตรวจ
ข้อดีของการทำ CNB คือ ได้ชิ้นเนื้อขนาดใหญ่ ในจำนวนมาก
ทำให้สามารถวินิจฉัยชนิดของมะเร็งเต้านม หรือ ระยะของมะเร็งเต้านมได้
นอกจากนี้ยังสามารถเอาชิ้นเนื้อไปย้อมสีพิเศษ เพื่อดูชนิดของมะเร็งเต้านมได้อีกด้วย
โดยที่การทำCNBนี้ จะต้องใช้เข็มชนิดพิเศษมาเจาะเอาชิ้นเนื้อส่งตรวจ
ทำให้มีความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคถึง 96-99 % เลยทีเดียว
ส่วนข้อเสีของการทำCNBนี้คือ การที่ต้องใช้เข็มพิเศษ
มีเทคนิกเจาะชิ้นเนื้อพิเศษ และต้องอาศัยความชำนาญของคุณหมอที่ทำ
และค่อนข้างเจ็บกว่าการทำ FNA อย่างมาก
3.INCISIONAL BIOPSY
คือการลงมีดผ่าตัดเข้าไป เอาชิ้นเนื้อบางส่วนออกมาส่งตรวจ
แต่เนื่องจากในปัจจุบันเรามีการทำ CNB แล้ว วิธีนี้จึงได้รับความนิยมน้อยลง
4.EXCISIONAL BIOPSY
คือการลงมีดทำการผ่าตัดเอาก้อนออกมาทั้งก้อน เพื่อส่งตรวจ
โดยที่วิธีการทำผ่าตัดออกมาทั้งก้อนนี้
ทำได้โดยการฉีดยาชาถ้าก้อนไม่ใหญ่
หรือดมยาสลบ ถ้าก้อนใหญ่หรืออยู่ในตำหน่งที่ผ่ายาก
ซึ่งข้อดีของการผ่าเอาก้อนออกมาเลยนี้ คือความแม่นยำในการวินิจฉัย
และถ้าผ่าก้อนเอาออกหมด ก็เป็นการรักษาโรคไปในตัวด้วยเลย
ส่วนข้อเสียคือ เจ็บกว่า ในรายที่ต้องดมยาสลบผ่าตัดอาจจะต้อง
มีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดที่นานกว่า และถ้าเป็นก้อนมะเร็ง
คนไข้จะต้องมาผ่่าตัดเพิ่มเติมเพื่อเอาขอบของก้อนให้กว้างขึ้น
เพื่อรักษามะเร็งนั่นเอง
ถ้าคุณมีอาการผิดปกติที่เต้านม อย่ารอช้า
ให้รีบพบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม
ก่อนทุกอย่างจะสายเกินไป
เพราะมะเร็งเต้านม "รักษาหาย" ได้ในระยะเริ่มต้น
ด้วยรักและห่วงใย
#หมอโภคิน
#คุยเฟื่องเรื่องศัลย์

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา