Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
11 ก.ค. 2022 เวลา 03:53 • ธุรกิจ
“ไคเซ็น” คืออะไร ทำไมช่วยเพิ่มอัตรากำไร ให้บริษัทได้
รู้หรือไม่ว่า รถยนต์คันแรกของโลก กำเนิดขึ้นในปี 1886
และ 17 ปีต่อมา ค่ายรถยนต์ Ford ของสหรัฐอเมริกา
ก็ได้นำระบบสายพานลำเลียงมาใช้ในการผลิตรถยนต์เป็นเจ้าแรกของโลก
และสามารถผลิตรถยนต์ได้มากถึง “600,000 คันต่อปี”
1
จากเดิมที่บริษัทหนึ่ง ผลิตรถยนต์ได้เพียงหลักพัน ถึงหลักหมื่นคันต่อปี ก็นับว่าหรูแล้ว
แต่ Ford นำระบบสายพานลำเลียงมาใช้ จนสามารถผลิตรถยนต์ได้หลักแสนคันต่อปี
ซึ่งการเกิดขึ้นของ สายพานลำเลียงที่ว่านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่ง ของสิ่งที่เรียกว่า “ไคเซ็น”
แล้ว “ไคเซ็น” (Kaizen) คืออะไร ?
ต้องบอกก่อนว่าผู้ที่เริ่มต้นแนวคิด ไคเซ็น ไม่ใช่ญี่ปุ่น แต่เป็น “สหรัฐอเมริกา”
1
ช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นักสถิติชาวอเมริกันอย่างคุณ Walter Shewhart
ได้พัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ ให้กับบริษัท Bell Telephone ซึ่งเป็นบริษัทที่จดสิทธิบัตรโทรศัพท์เป็นเครื่องแรก
1
โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า วงจร “PDCA”
ซึ่ง PDCA ย่อมาจาก Plan-Do-Check-Act ซึ่งความหมายก็คือ
- Plan คือ การกำหนดเป้าหมายในการทำงาน โดยเริ่มจากการตั้งคำถามว่า “ปัญหา คืออะไร ?”
- Do คือ การลงมือทำ
- Check คือ ตรวจสอบดูว่า สิ่งที่เราทำไปนั้น ตรงกับเป้าหมายที่ได้วางไว้หรือไม่ ? หรือสามารถแก้ไขปัญหานั้นได้หรือไม่ ?
- Act คือ เมื่อตรวจสอบแล้วว่าสามารถแก้ไขปัญหาได้ และตรงกับเป้าหมายที่วางไว้ ก็กำหนดให้เป็นมาตรฐานในการทำงาน
ต่อมาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่น ที่เพิ่งพ่ายแพ้จากสงครามโลก ต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจ
1
จึงได้มีการนำวงจร PDCA ไปพัฒนาตามปรัชญาญี่ปุ่น จนกลายเป็น “ไคเซ็น” และนำไปใช้อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในแวดวงอุตสาหกรรม
โดยคำว่า ไคเซ็น “Kaizen” ก็มาจากภาษาญี่ปุ่น 2 คำ
ได้แก่ “Kai” แปลว่า เปลี่ยน
และ “Zen” แปลว่า ดี หรือความดี
1
เมื่อนำทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า ปรับปรุงให้ดีกว่า และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในมุมของการผลิต การทำ ไคเซ็น จะเน้นไปที่การลดค่าใช้จ่าย (Cost) ที่ไม่จำเป็น และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
หรือที่เรียกกันว่า “Lean Manufacturing”
เพื่อให้เห็นภาพชัด ๆ ลองมาดูตัวอย่างบริษัทที่ใช้ ไคเซ็น ในการปรับปรุงการทำงานอยู่เสมอ
บริษัทนั้นก็คือ โตโยต้า มอเตอร์
โตโยต้า มอเตอร์ นำแนวคิดไคเซ็นมาใช้ ตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ
ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การจัดการสินค้าคงคลัง กระบวนการในการผลิต ไปจนถึงการควบคุมคุณภาพ
ตัวอย่างการทำไคเซ็น ของ โตโยต้า มอเตอร์ ก็อย่างเช่น
- การป้องกันความผิดพลาดของพนักงาน หรือ POKA-YOKE
เช่น การปรับปรุงการขันนอตล้อรถยนต์ โดยการทำให้มีสีติดตรงเครื่องมือขันนอต
หากพนักงานขันนอตแน่นพอ จะทำให้สีนั้นติดที่หัวนอต เพื่อเป็นการยืนยันว่าขันนอตให้ล้อแน่นแล้ว
- การบำรุงรักษาอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน เป็นการดูแลรักษาอุปกรณ์ หรือเครื่องจักร ให้พร้อมใช้งานตลอดเวลา ไม่เสีย และมีประสิทธิภาพเต็มที่
1
- การจัดการสินค้าคงคลังแบบทันเวลาพอดี หรือ Just In Time (JIT)
คือการจัดการคลังสินค้าให้เก็บวัตถุดิบ และสินค้าให้เหลือน้อยที่สุด จนเกือบเป็นศูนย์ เพื่อลดต้นทุนในการใช้พื้นที่จัดเก็บสินค้า
1
นอกจากนี้ เมื่อทำไคเซ็น บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ ก็จะมีการแชร์ความรู้ภายในองค์กร เกี่ยวกับการทำไคเซ็น ในส่วนต่าง ๆ
ว่าลูปในการมองให้เห็นปัญหา การลงมือทดลอง ตรวจสอบ และกำหนดเป็นมาตรฐานการทำงาน เป็นอย่างไร
เพื่อเป็นต้นแบบให้พนักงานได้นำไปใช้ และพัฒนาต่อ
ซึ่งต้องบอกว่า การทำไคเซ็น นอกเหนือจากในแวดวงอุตสาหกรรมแล้ว ยังเป็นวัฒนธรรม สำหรับบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ในญี่ปุ่นด้วย
ซึ่งเรื่องนี้ กลายเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจของญี่ปุ่น กลับมาเติบโตอย่างก้าวกระโดดแม้ว่าจะพ่ายแพ้สงครามโลกมา โดยเฉพาะในปี 1970-1990
ปี 1970 GDP ญี่ปุ่น เท่ากับ 8 ล้านล้านบาท
ปี 1980 GDP ญี่ปุ่น เท่ากับ 40 ล้านล้านบาท
ปี 1990 GDP ญี่ปุ่น เท่ากับ 113 ล้านล้านบาท
จะเห็นได้ว่า GDP ญี่ปุ่นในช่วงนั้น เติบโตเป็นเกือบ 14 เท่า ภายในระยะเวลา 20 ปี
1
สรุปคำว่า ไคเซ็น แบบสั้น ๆ ง่าย ๆ ตามแบบฉบับญี่ปุ่น คือ
เป็นการหาวิธี หรือแนวทางในการลดต้นทุนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต
1
ไม่ว่าจะเป็น การลดปัญหาของเสีย หรือการเพิ่มปริมาณการผลิต โดยใช้ต้นทุนให้น้อยที่สุด
พูดแบบง่าย ๆ ก็คือ การทำแบบนี้ คือหัวใจของการลดต้นทุนการผลิต
และผลลัพธ์ของมันก็คือ ธุรกิจจะมีอัตรากำไรที่สูงขึ้น นั่นเอง..
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ได้มีการกำหนด โตโยต้าเวย์ (Toyota Way)
ซึ่งเป็นแนวคิดไคเซ็น ในแบบของโตโยต้าเอง
โดยได้นำมาปรับใช้ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2001
1
และรู้หรือไม่ว่า ในปี 2021 มีรถยนต์ โตโยต้า ที่ผลิตในไทยรวมแล้ว 514,000 คัน
นั่นหมายความว่า รถยนต์โตโยต้า ถูกผลิตในไทยมากถึง 1,400 คัน ต่อวัน เลยทีเดียว..
4
References
-
https://www.goodmaterial.co/what-is-ไคเซ็น/
-
https://thaiautofilm.com/1727
-
https://daviddisiere.com/history-of-mercedes-benz/
-
https://autostation.com/featured/toyota-sale-report-2021
-
https://mercedes-benz-publicarchive.com/marsClassic/en/instance/ko/838-hp-and-Stuttgart-
200--260-W-02-W-11-1926---1936.xhtml?oid=4215
-
https://www.billionway.co/henry-ford-the-man-who-changed-automotive-history/
-
https://crm.org/articles/the-history-of-ไคเซ็น
-
https://www.softbankthai.com/Article/Detail/904
-
https://www.gotoknow.org/posts/18498
-
http://www.thaidisplay.com/content-2.html
ไคเซ็น
toyota
18 บันทึก
19
18
18
19
18
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย