Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Dime!
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
12 ก.ค. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป ปี 2011 ฉบับเข้าใจง่าย
วิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป คือ วิกฤติที่เกิดขึ้นจากการก่อหนี้เกินตัวของสมาชิกในสหภาพยุโรป นำขบวนโดย กรีซ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี และสเปน ซึ่งอาจเป็นชนวนให้เกิดปัญหากับระบบการเงินของยุโรป
ขึ้นชื่อว่าวิกฤติแสดงว่าต้องไม่ธรรมดา วิกฤตินี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2011 แต่ไม่ได้เกิดขึ้นในทันที มันผ่านการหมักหมมมาเป็นเวลานาน ปัญหาก็คือหนี้ที่หลายประเทศก่อขึ้นมามันดันมากกว่าความสามารถในการจ่ายหนี้ของตัวเองเนี่ยสิ
⏳ วิกฤตินี้เกิดจากอะไร คงต้องเล่าย้อนไปไกลซักหน่อย
สมัยก่อนประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ต่างก็มีสกุลเงินเป็นของตัวเอง และตั้งกำแพงภาษีเพื่อปกป้องธุรกิจในประเทศ ทำให้การค้าระหว่างประเทศเป็นเรื่องยาก
จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้นานาประเทศในทวีปยุโรปเสียหายครั้งใหญ่ การจะฟื้นฟูประเทศได้โดยเร็วจึงต้องนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน และการยกเลิกกำแพงภาษีจะช่วยให้ต้นทุนถูกลง
นานาประเทศในทวีปยุโรปจึงรวมตัวกันก่อตั้ง “ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (1951)” เพื่อยกเลิกกำแพงภาษีเหล็กและถ่านหิน เพราะทั้งสองอย่างนี้เป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ซ่อมแซมประเทศ
หลังจากนั้นหลายประเทศเลยเกิดความคิดที่จะรวมตัวกันเป็น “สหภาพยุโรป (European Union)”
⏳ กำเนิดสหภาพยุโรป (1993)
หลายประเทศในทวีปยุโรปหันมาใช้สกุลเงินเดียวกัน คือ “ยูโร (Euro)” และยกเลิกกำแพงภาษีบนสินค้าชนิดอื่น ๆ ทั้งสองปัจจัยนี้ทำให้ต้นทุนด้านการค้าระหว่างประเทศในทวีปยุโรปลดลงไปมาก
เมื่อใช้สกุลเงินเดียวกันแล้ว นโยบายการเงินก็ควรจะใช้ร่วมกัน สหภาพยุโรปจึงก่อตั้งธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank : ECB) ให้เป็นผู้ควบคุมนโยบายการเงินเพียงหนึ่งเดียว และนี่คือหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤติหนี้สาธารณะยุโรป
1
⏳ นโยบายการเงินมีเพียงหนึ่ง แต่นโยบายการคลังมีนับไม่ถ้วน
นโยบายการเงิน มีบทบาทควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ และกำหนดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการกู้ยืมเงิน
นโยบายการคลัง มีบทบาทดูแลการหาเงินและใช้เงินของรัฐบาล ผ่านการเก็บภาษีและการลงทุนของภาครัฐ
ปกติแล้วรัฐบาลแต่ละประเทศจะใช้จ่ายได้ตามจำนวนเงินที่เก็บภาษี ถ้าต้องการใช้จ่ายมากกว่านั้นก็ต้องกู้เงินจากประเทศอื่นมาใช้ ซึ่งเจ้าหนี้ก็จะดูว่าลูกหนี้มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน มีเศรษฐกิจและฐานะการเงินแข็งแรงดีรึเปล่า
สิ่งเหล่านี้จะสะท้อนออกมาที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั่นเอง ถ้าลูกหนี้ดูไม่น่าเชื่อถือ ฐานะการเงินก็ไม่แข็งแรง อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะอยู่ในระดับสูง
⏳ หลายประเทศในสหภาพยุโรปเริ่มก่อหนี้เกินตัว
ก่อนหน้าที่สหภาพยุโรปจะก่อตั้งขึ้น กรีซเป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยกู้ยืมเงินที่สูงมากราว 18% ต่อปี ทำให้กรีซกู้เงินได้จำนวนน้อย เพราะเจ้าหนี้กลัวว่ากรีซจะจ่ายหนี้คืนไม่ไหว
เมื่อกรีซเข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว อะไร ๆ ก็ดูน่าเชื่อถือไปหมด กรีซสามารถกู้ยืมเงินได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมากราว 3% ต่อปี พร้อมกับได้รับจำนวนเงินกู้มหาศาลอย่างที่ไม่เคยได้มาก่อน
ทีนี้ไม่ใช่กรีซคนเดียวแล้ว โปรตุเกส ไอร์แลนด์ อิตาลี และสเปน ก็พร้อมใจกันก่อหนี้จำนวนมหาศาลในระดับที่ก่อนหน้านี้ไม่สามารถจะทำได้
ซึ่งกรีซก็นำหนี้ที่กู้มาไปใช้กับการหาเสียงทางการเมืองด้วยนโยบายประชานิยม โดยรัฐสัญญาว่าจะให้สวัสดิการจำนวนที่มากเกินพอ เพื่อจูงใจให้ประชาชนเลือกตัวเองเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปอีกหลายสมัย
⏳ ปัญหามาระเบิดตอนหลังวิกฤติซับไพรม์ (2008)
วิกฤตินี้จะไม่เกิดขึ้นเลยถ้าวงจรการก่อหนี้ยังสามารถทำได้ต่อไปเรื่อย ๆ ตราบใดที่ประเทศเหล่านี้ยังก่อหนี้ได้ หนี้ก้อนเก่าที่จะครบกำหนดจ่ายหนี้ ก็จะถูกจ่ายคืนด้วยหนี้ก้อนใหม่
แต่พอเกิดวิกฤติซับไพรม์ขึ้นที่สหรัฐฯ ระบบการเงินทั่วโลกส่อแววมีปัญหา วงจรการก่อหนี้ทั่วโลกก็สะดุดทันที
ถ้าใครสนใจเรื่อง “วิกฤติซับไพรม์” ตามไปอ่านได้ที่นี่เลยครับ
👉
www.blockdit.com/posts/61f900ecce9ee4d7f0c161f5
ทีนี้กรีซและประเทศอื่น ๆ ที่ก่อหนี้เกินตัวกันมานาน ก็ไม่สามารถกู้ยืมเงินในจำนวนมหาศาลอย่างที่เคยทำมาก่อนได้แล้ว แถมในภาวะวิกฤติเจ้าหนี้ทุกคนก็อยากได้เงินคืน แต่ลูกหนี้ไม่มีปัญญาจ่ายคืน แล้วต้องทำยังไงล่ะทีนี้
⏳ ถ้าล้มแล้วหนึ่ง อาจพากันล้มทั้งยุโรป
1
ระบบการเงินในสหภาพยุโรปนั้นเชื่อมถึงกันหมด แต่ละประเทศก็กู้ยืมเงินกันไปมาโยงใยซับซ้อน หนึ่งประเทศอาจกู้ยืมเงินมากว่าสิบประเทศ นั่นหมายความว่าหากประเทศใดประเทศหนึ่งเกิดล้มขึ้นมา อาจส่งผลให้ระบบการเงินยุโรปพังทลายลงก็เป็นได้
สุดท้ายธนาคารกลางยุโรป (ECB) ต้องเข้ามาอุ้มกรีซ ด้วยการรับหนี้ของกรีซที่อยู่นอกสหภาพยุโรปมาเป็นของตน และบังคับให้กรีซรัดเข็มขัดให้แน่นที่สุดเท่าที่จะทำได้
1
ประชาชนในกรีซต้องเผชิญกับความยากลำบาก เพราะรัฐบาลต้องตัดค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาล รัฐสวัสดิการที่เคยให้ประชาชนก็ต้องยกเลิก และต้องปลดข้าราชการในหน่วยงานรัฐจำนวนมาก ทำให้อัตราการว่างงานในกรีซพุ่งขึ้นสูงถึงระดับ 30%
1
⏳ กรีซอาจจะยังรัดเข็มขัดไม่แน่นพอ
ในปี 2008 กรีซมีหนี้สินราว 115% ของ GDP นั่นคือช่วงก่อนที่ ECB จะเข้ามาช่วยเหลือและสั่งให้กรีซรัดเข็มขัดขั้นสุดยอด ขณะที่ในปี 2018 ก่อนเกิดวิกฤติโควิด ตัวเลขหนี้สินต่อ GDP ของกรีซกลับเพิ่มขึ้นมาที่ระดับ 186%
ตัวเลขล่าสุดของปี 2021 กรีซมีหนี้สินต่อ GDP ที่ระดับ 193% นั่นแปลว่าเรื่องนี้คงยังไม่จบง่าย ๆ ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศอื่นที่ก่อหนี้เกินตัวเหมือนกันก็ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่
📌 นั่นเท่ากับว่านี่คงเป็นวิกฤติที่เรื้อรังมานานและยากที่จะแก้ไขได้ภายในระยะเวลาไม่กี่ปี ต่างจากวิกฤติที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรงสาหัส แต่จบลงในทันที และหลังจากนั้นเศรษฐกิจก็กลับมาฟื้นตัวได้โดยใช้เวลาไม่นาน
📣 ดังนั้นคำพูดที่ว่า “การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องผิด แต่การก่อหนี้เกินตัวจะทำให้เรามีปัญหาในภายหลัง” ก็ยังคงใช้ได้เสมอ
อ้างอิง
The European Debt Crisis Visualized Bloomberg Business
www.investopedia.com
www.thebalance.com
tradingeconomics.com
เยี่ยมชม
blockdit.com
Dime!
1.5K ผู้ติดตาม Dime! อยากให้การเงินการลงทุน เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ติดตามเราในช่องทางอื่น facebook.com/dimeinvest tiktok.com/@dime.finance
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
ประวัติศาสตร์
เศรษฐกิจ
ข่าวรอบโลก
9 บันทึก
14
2
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
#HowCrisisWorks วิกฤติการเงินโลกเกิดขึ้นยังไง
9
14
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย