โดยนายแพทย์กำพลไม่มีความกังวล เพราะแขนกลถูกควบคุมด้วย Super AI Version 2 ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีแขนกลแห่งประเทศไทยมานานกว่า 15 ปี จึงไม่มีทางที่แขนกลจะกรีดผิวหนังผิดตำแหน่งหรือลึกเกินไปจนเป็นอันตรายกับคนไข้ และแม้แต่นายแพทย์กำพลจะพลั้งมือทำพลาดไปบ้างเล็กน้อยก็ตาม Super AI Version 2 จะคำนวณให้ตำแหน่งและความลึกที่กรีดมาอยู่ในตำแหน่งและความลึกที่ถูกต้องได้เอง
หลังจากนั้นนายแพทย์กำพลกลับมารับราชการเป็นแพทย์ศัลยกรรมโรคหัวใจและทรวงอกที่โรงพยาบาลวัชรศิรินทร์ มีความสนใจและค้นคว้าการผ่าตัดในรูปแบบใหม่โดยใช้เทคโนโลยี AI เข้ามาช่วย
ดังนั้นนายแพทย์กำพลจึงไม่มีทางเลือก จำเป็นต้องเร่งรัดโครงการพัฒนา Super AI Version 3 ร่วมกับศาสตราจารย์พิษณุ กำเนิดดี แห่งสถาบันเทคโนโลยีแขนกลแห่งประเทศไทย ให้สามารถทำการผ่าตัดหัวใจและโรคทรวงอก ด้วยการใช้แขนกลที่ควบคุมด้วย Super AI Version 3 โดยไม่ต้องอาศัยศัลยแพทย์เป็นผู้ทำการผ่าตัดให้แล้วเสร็จก่อนที่นายแพทย์กำพลจะทำการเปลี่ยนหัวใจเทียมชนิดที่ต้องติดภายนอกร่างกาย
เพราะถ้าหากไม่เป็นเช่นนั้น โครงการพัฒนา Super AI Version 3 ที่ทุ่มเททำมาจะต้องล้มเหลวอย่างแน่นอน เนื่องจากนายแพทย์กำพลจะไม่สามารถทำการผ่าตัดในห้องควบคุมการผ่าตัดเพื่อเก็บข้อมูลสำหรับการพัฒนา Super AI Version 3 ได้อีกต่อไป เพราะลำแสงความเข้มสูงอาจทำให้หัวใจเทียมเสียหายและเสี่ยงที่ตัวเขาจะเสียชีวิต
ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้ จะถูกรวบรวมและป้อนเข้าสู่ระบบ Super AI และทุกครั้งที่มีข้อมูลเข้าสู่ระบบ ระบบ Super AI มิได้แต่เพียงนำข้อมูลไปวิเคราะห์กำหนดวิธีการผ่าตัดเท่านั้น แต่มันมีความฉลาดเฉลียวมากกว่าสมองมนุษย์ถึงหนึ่งพันเท่า ที่จะเรียนรู้ ฝึกหัดการคิด และลองผิดลองถูก ภายใต้มันสมองดิจิทัลของตัวมันเอง และเมื่อเวลาผ่านไปมันจะฉลาดขึ้นเรื่อยๆ แบบทวีคูณ
ดังนั้น จึงไม่แปลกเลย ที่ในช่วงแรกของการผ่าตัดที่ใช้ Super AI version 1 เป็นตัวช่วย นายแพทย์กำพลจะพบข้อผิดพลาดอยู่บ้าง เป็นต้นว่า ศัลยแพทย์ผู้ผ่าตัดไม่สามารถรับรู้สัมผัสเสมือนจริงต่อผิวหนัง อวัยวะภายในและสารคัดหลั่งใดๆ ที่ออกมาจากร่างกายคนไข้ ซึ่งส่งผลต่อสมองของศัลยแพทย์ทำให้ไม่สามารถกำหนดและสร้างวิธีการ รวมทั้งการลงมือผ่าตัดให้มีความถูกต้องแม่นยำเท่าที่ควรจะเป็น
ยกตัวอย่างเช่น การผ่าตัดครั้งหนึ่ง เกิดความผิดพลาดของระบบ Super AI ดังที่ว่า ทำให้การกรีดมีดผ่าตัดของนายแพทย์กำพลเพื่อเปิดผิวหนังของคนไข้รายหนึ่ง มีความคลาดเคลื่อนจากแนวที่กำหนดไปกว่าหนึ่งเซนติเมตร
ครั้งนั้นนายแพทย์กำพลต้องวิ่งออกจากห้องควบคุมฯ ลงไปที่ห้องผ่าตัดชั้นล่างเพื่อปิดระบบ Super AI แล้วรีบเย็บแผลคนไข้ที่คลาดเคลื่อน เสร็จแล้วทำให้แผลสมานกันทันทีด้วยสารละลายเซลส์ จากนั้นกรีดมีดเปิดชั้นผิวหนังของคนไข้ใหม่ให้ตรงแนวผ่าตัดที่ได้ลากเส้นไว้แล้ว โดยมีศัลยแพทย์ผู้ช่วยและเจ้าหน้าที่ประจำห้องผ่าตัดวิ่งตามลงมาร่วมผ่าตัดที่ห้องชั้นล่าง จนกระทั่งผ่าตัดเสร็จ นายแพทย์กำพลถึงกับกล่าวกับทุกคนว่า “เกือบไปแล้ว ถ้าผมลงมาช้าอีกเพียงสองสามนาที คนไข้คงไม่รอด”
ภรรยาของนายแพทย์กำพลห้ามปรามไม่ให้ทำงานหนักเพราะเสี่ยงต่อหัวใจหยุดเต้นแต่เขาไม่เคยฟัง ช่วงหลังไม่รู้จะห้ามปรามอย่างไร ก็ได้แต่ปล่อยเลยตามเลย โดยเธอทำอาหารสุขภาพสำหรับมื้อเที่ยงและเย็นให้นายแพทย์กำพลติดไม้ติดมือเอามาทาน และแล้วความพยายามอย่างสุดโต่งนั้นก็ประสบความสำเร็จ สามปีที่แล้วทั้งคู่สามารถพัฒนา Super AI Version 2 ได้สำเร็จ ระบบมีความถูกต้องและแม่นยำกว่าเดิม รวมทั้งสามารถแก้ไขให้ลำแสงมีความเข้มสูงเพียงพอจนศัลยแพทย์รับรู้สัมผัสเสมือนจริงได้แทบไม่ต่างจากการสัมผัสกับคนไข้จริงๆ
การผ่าตัดหลังจากนั้นจึงเต็มไปด้วยคุณภาพและแทบจะไม่มีข้อผิดพลาดใดๆ อีกเลย ดังนั้นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากการผ่าตัดของนายแพทย์กำพลได้ดำเนินต่อมาจนใกล้จะเสร็จสมบูรณ์ ระบบ Super AI Version 2 ได้ผ่านการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองมากว่าเจ็ดปี จนใกล้ที่จะไปสู่ Version 3
“คุณกำพล ผมได้ยินว่าอีกสามวันคุณจะผ่าตัดเคสเปลี่ยนหัวใจเทียม” ก่อนพูดไม่รอคำตอบว่า “ผมได้ยินมาว่า Super AI Version 3 จะเสร็จสมบูรณ์หลังจากนั้นใช่ไหม? ถ้าเสร็จก็บรรลัย”
หนึ่งเดือนต่อมา ศาตราจารย์นายแพทย์กำพล และศาตราจารย์พิษณุ ร่วมกันแถลงข่าวผ่านระบบเครือข่ายดิจิทัลถึงความสำเร็จในการพัฒนา Super AI Version 3 มีการถ่ายทอดไปทั่วโลก
ภายในห้อง นายแพทย์กำพลยืนกอดอกอยู่ริมกระจกมองออกไปภายนอกแลเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ไม่ไกล บนโต๊ะทำงานมีหนังสือราชการของมหาวิทยาลัยฉบับหนึ่ง มีข้อความแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์ นายแพทย์กำพล ตันนุรักษ์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสาขาวิชาศัลยศาสตร์และทรวงอก มหาวิทยาลัยวัชรศิรินทร์ และให้ได้รับทุนวิจัยจากมหาวิทยาลัยทำหน้าที่หัวหน้าโครงการพัฒนา Super AI Version 4 ให้เกิดผลดีที่สุด