11 ก.ค. 2022 เวลา 08:20 • ประวัติศาสตร์
โศกนาฏกรรมจากความงามของชุด Crinoline
ปี ค.ศ. 1850 แรกเริ่มคำว่า “คริโนลิน” (Crinoline) ใช้เรียกชุดกระโปรงที่ทำจากมีขนม้า ในกลางปีศริสตศักราชเดียวกันมีการเปลี่ยนไปใช้เรียกชุดกระโปรงแบบมีโครงเหล็กคล้ายสุ่มไก่แต่มีขนาดใหญ่กว่า ซึ่งรูปแบบและการสวมใส่จะมีความคล้ายคลึงกับชุดจากศตวรรษที่ 16 กับ 17 เป็นอย่างมาก
ด้วยความงดงาม, เลิศหรู และสง่า ‘ครีโนลิน’ จึงเป็นชุดกระโปรงที่ได้รับความนิยมในหมู่สตรีชนชั้นสูงในศษตวรรษที่ 19 แต่หารู้ไม่ว่าภายใต้ความงดงามเหล่านั้นกลับพรากชีวิตหญิงสาวเป็นจำนวนมากในยุคสมัยวิคตอเรีย ระหว่าง ค.ศ. 1850 - 1860
ณ.ประเทศอังกฤษมีรายงานว่าหญิงสาวจำนวน 3,000 คนเสียชีวิตจากการสวมชุดคริโนลิน
โดยผู้เสียชีวิตรายแรกที่สื่อให้ความสนใจมีชื่อว่า “มากาเรต เดวี่” ในระหว่างที่หล่อนเอื้อมมือไปหยิบช้อนที่อยู่บนหิ้งของเตาผิง ด้วยความบานสะพรั่งของกระโปรงคริโนลินบวกกับลืมคาดคะเนระยะความห่างของชุดที่สวมใส่กับกองเพลิงในเตาผิง ไฟจึงลุกลามตั้งแต่กระโปรงจนลามแผดเผาทั้งร่าง แล้วหล่อนก็เสียชีวิตลงในวัยเพียงแค่ 14 ปี
แต่ในช่วงเวลานั้นไม่มีใครได้เอะใจว่าเป็นเพราะชุดคริโนลินจึงสร้างความประหลาดใจอันล้นหลามให้กับเหล่าเจ้าหน้าที่ชันสูตรศพ
อีกเหตุการณ์หนึ่ง หญิงสาวนามว่า “เอ็มม่า มัสสัน” ถูกไฟคลอกร่างเพราะชุดคริโนลินที่สวมใส่อยู่ไปโดนเข้ากับเศษถ่านหินโค้กที่กลิ้งจากห้องครัว แล้วหล่อนก็เสียชีวิตในวัยเพียงแค่ 16 ปี
สาเหตุการตายเหล่านี้ไม่มีอะไรซับซ้อนมากนัก เนื่องจากเนื้อผ้าที่ใช้สำหรับการตัดเย็บชุดคริโนลีนล้วนประกอบไปด้วยวัสดุที่ ‘ไวต่อไฟ’ ดังนั้นนอกจากมันจะให้ความสวยงามแก่สุภาพสตรีมันสามารถเป็นเชื้อเพลิงชั้นดีที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ใหญ่ถัดไปเช่นกัน
ราว ๆ หนึ่งเดือนถัดไปจากเหตการณ์ของ เอ็มม่า มัสสัน วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ 1863 เกิดการลุกไหม้ครั้งใหญ่ในโบสถ์ที่ซานติอาโก้ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศชิลี มีผู้เสียชีวิตทั้งหมดราว ๆ สองถึงสามพันคน ผู้คนต่างคาดว่าว่าชุดคริโนลินที่สวมใส่โดยสุภาพสตรีชนชั้นสูงมากหน้าหลายตาเป็นปัจจัยหลักที่คอยกระตุ้นให้เพลิงลุกลามโบสถ์
ในปี ค.ศ. 1846 มีการแจ้งยอดผู้เสียชีวิตจากชุดคริโลรินทั้งหมด 39,927 ทั่วโลกซึ่งไม่นับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากปีนั้นอีกนับไม่ถ้วน
เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1871 William Wilde ผู้เป็นแพทย์ด้านจักษุวิทยาชื่อดังก็สูญเสียลูกสาวสองคนด้วยอุบัติเหตุชุดคริโนลินเช่นกัน 'เอมิลี่' กับ 'แมรี่' ทั้งคู่ถูกเผาทั้งเป็นโดยไม่ทราบสิ่งที่เป็นต้นเพลิง ส่วนเชื้อเพลิงแน่นอนว่าเป็นชุดคริโนลินเจ้าเก่าเจ้ากรรม
แม้ในยุคนั้นจะมีชุดที่ทำจากผ้ากันไฟได้แล้วแต่สาเหตุที่ไม่เป็นที่นิยมเท่าคริโรลินเพราะสาเหตุง่าย ๆ คือมันไม่สวยและดูดีเท่า ผู้คนบางส่วนจึงยอม ‘เสี่ยง’ เพื่อให้ได้ความงาม แม้ความเสี่ยงไม่ได้มีแค่ถูกไฟคลอกทั่วร่างเท่านั้น บ้างก็โดนลมแรงพัดลอยละลิ่วตกจากที่สูงจนถึงแก่กรรม บางรายถูกรถม้ารถรางเฉี่ยวชนจนได้รับบาดเจ็บหรืออาจถึงฆาตเหตุเพราะความขนาดใหญ่โอ่อ่าของมัน
แต่นี่ล่ะครับ…ความงดงามหรือความสมบูรณ์แบบย่อมมาพร้อมกับการแลกเปลี่ยนด้วยอะไรบางอย่างเสมอ
บทความโดย #adminSHADOW
ภาพโดย #admindobykong
โฆษณา