11 ก.ค. 2022 เวลา 08:57 • หุ้น & เศรษฐกิจ
กระแสโลกขึ้นดอกเบี้ย กดดันให้ไทย ต้องขึ้นตามรอบหน้า 0.5%
บทวิเคราะห์จาก KKP Research ชี้ว่า ในการขึ้นดอกเบี้ยครั้งหน้า ธปท. อาจจะต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยถึง 0.5% จากการที่ธนาคารกลางทั่วโลก กำลังขึ้นดอกเบี้ย
1
โดยในช่วงนี้ ธนาคารกลางหลายประเทศทั่วโลก กำลังขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว หลังจากลงไปเกือบหรือเท่ากับ 0% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงวิกฤติ COVID-19 เช่น สหรัฐอเมริกา ที่ทำการขึ้นดอกเบี้ยมาเป็น 1.75% และอาจแตะ 3.5% - 4% ในต้นปีหน้า หรือประเทศในเอเชีย อย่างเกาหลีใต้ ก็ทำการขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.75%
7
โดยธนาคารกลางหลายแห่ง ได้ทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย ครั้งละ 0.5% - 0.75%
ซึ่งมากกว่าปกติ ที่มักจะปรับขึ้นเพียง 0.25% เท่านั้น เนื่องจากกังวลว่า ถ้าค่อย ๆ ขึ้น อาจจะแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้ไม่ทันการณ์
เมื่อหันกลับมามองที่ไทย ก็พบว่าอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทย อยู่ในระดับที่ต่ำมาก แม้ในตอนนี้ จะเผชิญกับเงินเฟ้อสูงถึง 7.7% ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงของไทย อยู่ในกลุ่มที่ต่ำมากที่สุดในโลก
การที่ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก พากันขึ้นดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว
ก็จะเป็นแรงกดดัน ให้ ธปท. ต้องทำการปรับขึ้นดอกเบี้ย หลังจากที่ยังไม่ได้ทำการ ปรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้
เหตุผลที่ทาง ธปท. ใช้อธิบายว่า ทำไมจึงไม่จำเป็นต้อง ทำการขึ้นดอกเบี้ย ประกอบไปด้วย 3 เหตุผล คือ
1) เงินเฟ้อนั้นเกิดจากทางด้านต้นทุน ซึ่งเป็นเรื่องชั่วคราว และจะคลี่คลายลงไปเอง
2) การขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะส่งผลต่อเศรษฐกิจ ที่กำลังฟื้นตัว และหนี้ครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูง
3) การขึ้นดอกเบี้ย ไม่ได้มีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนมากนัก เพราะการอ่อนค่าตอนนี้ สอดคล้องกับเงินสกุลอื่น ๆ ทั้งภูมิภาค และประเทศไทย ยังมีสเถียรภาพด้านต่างประเทศแข็งแกร่ง
1
แต่อย่างไรก็ตาม ทาง KKP Research ได้มองว่า กระแสนโยบายการเงินของโลกที่เปลี่ยนทาง
จะทำให้การตัดสินใจ เกี่ยวกับนโยบายการเงินของไทย ในครั้งหน้า ต้องให้น้ำหนักกับเงินเฟ้อ
และค่าเงินบาทมากขึ้น เพราะจะส่งผลต่อเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง ใน 3 ประเด็น คือ
2
1) ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น ระหว่างประเทศไทยกับประเทศอื่น ๆ จะทำให้เงินบาทอ่อนค่ามากกว่านี้ อย่างเช่น ประเทศญี่ปุ่น ที่ยังคงผ่อนคลายนโยบายการเงิน ก็ทำให้เงินเยน อ่อนค่ามากที่สุดในรอบ 24 ปี
1
2) การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดจะใหญ่และยาวนานขึ้น โดยในเดือนเมษายนและพฤษภาคมที่ผ่านมา ประเทศไทยขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ถึงเดือนละประมาณ 1-1.4 แสนล้านบาท ซึ่งกำลังจะทำให้ไทย ขาดดุลมากที่สุด นับตั้งแต่มีการบันทึกตัวเลขในปี 2005 แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่ง ของเสถียรภาพต่างประเทศที่ลดลง
1
3) เกิดความเสี่ยงในความน่าเชื่อถือของธนาคารกลาง จากการคาดการณ์เงินเฟ้อของคน ที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้การใช้นโยบายการเงิน ทำได้ยากยิ่งขึ้น และจะนำไปสู่การปรับขึ้นดอกเบี้ย อย่างรุนแรง ในภายหลัง
ทาง KKP Research จึงคาดว่า ธปท. จะทำการขึ้นดอกเบี้ยเป็น 0.5% ในการประชุมรอบหน้า จากนั้นจะขึ้นอีก 2 ครั้ง ครั้งละ 0.25% และจบปีด้วยอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 1.5% จากปัจจุบันที่อยู่ที่ 0.5%
1
ดอกเบี้ยที่กำลังปรับขึ้นนี้เอง ก็จะส่งผลกระทบต่อ ภาระหนี้ของภาคครัวเรือน ที่จะปรับตัวสูงขึ้น ตามการขึ้นอัตราดอกเบี้ย, ภาคเอกชน อาจเกิดการขาดสภาพคล่อง เนื่องจากการออกพันธบัตรภาคเอกชนใหม่ จะมีต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การผิดนัดชำระหนี้ และราคาสินทรัพย์เสี่ยง มีโอกาสปรับตัวลดลง
4
ทำให้ทาง ธปท. อาจต้องหามาตรการเยียวยา ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง
และเศรษฐกิจที่จะชะลอตัวลง จากผลกระทบของการขึ้นดอกเบี้ยต่อไป
1
—-------------------------
ที่มา : KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร
2
โฆษณา