11 ก.ค. 2022 เวลา 12:19 • ธุรกิจ
ธุรกิจยุโรปหันเข้าหาพลังงานมลภาวะสูง หลังถูกตัดก๊าซรัสเซีย
วันที่ 11 กรกฎาคม เป็นวันที่ทั้งรัฐบาล ธุรกิจ และประชาชนชาวยุโรป จับตามองอย่างใจจดใจจ่อมานาน
ทั้งนี้ เพราะว่า มันเป็นวันที่ทางรัสเซียจะปิดท่อส่งก๊าซธรรมชาติ “Nord Stream 1” เพื่อทำการซ่อมบำรุงประจำปีเป็นเวลา 10 วัน
ซึ่งแค่ปิดไปแบบปกติ 10 วัน ก็สร้างความกังวลใจให้กับประเทศในยุโรปพอควรแล้ว
 
แต่สิ่งที่หลายประเทศกลัวตอนนี้ คือ “ทางรัสเซียจะปิดทำการไปนานกว่านั้นอีก โดยอ้างเหตุผลการซ่อมบำรุงที่ยังไม่เสร็จสิ้น”
ปัญหานี้เป็นต้นทุนสำคัญของทั้งภาคธุรกิจและประชาชนในประเทศยุโรป ที่อาจจะส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เข้าสู่สภาวะถดถอยได้ในอนาคต
1
📌 “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์” นำมาซึ่ง “ราคาพลังงานที่สูง”
ตั้งแต่สงครามปะทุขึ้นในยูเครน ประเทศในยุโรปก็ประสบกับปัญหาด้านพลังงานมาตลอด และก็ยิ่งเห็นผลชัดเจนยิ่งขึ้นในช่วงหลัง
เนื่องด้วยสินค้านำเข้าสำคัญจากรัสเซียของทวีปยุโรป คือ “ก๊าซธรรมชาติ” ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลิตไฟฟ้าและให้ความร้อนกับทุกคน ทั้งภาคประชาชนและธุรกิจ
โดยในช่วงเริ่มแรกของสงครามในยูเครน ราคาก๊าซธรรมชาติของทวีปยุโรปขึ้นไปแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ที่ระดับสูงกว่า 220 ยูโรต่อ MWh แต่ราคาก็ปรับลงมาบ้างในช่วงที่ผ่านมา
* ราคาก๊าซธรรมชาติอ้างอิงใช้ราคาอ้างอิงสัญญา Dutch TTF
แต่แล้วเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ราคาก๊าซธรรมชาติในยุโรปก็ปรับขึ้นมาอย่างรวดเร็ว มาแตะระดับประมาณ 180 ยูโร ซึ่งถึงแม้จะยังต่ำกว่าระดับประวัติการณ์เมื่อช่วงต้นสงคราม แต่ก็สัญญาณอื่นที่น่ากังวลใจ
สัญญาณสำคัญอย่างหนึ่ง คือ ราคาซื้อขายก๊าซธรรมชาติล่วงหน้าที่ส่งมอบกันเดือนธันวาคม
1
ที่ถ้าคุณทำสัญญานี้ตอนช่วงเดือนมีนาคม (ช่วงต้นสงคราม) คุณจะสามารถซื้อก๊าซธรรมชาติที่จะส่งมอบเดือนธันวาคมในราคา 155 ยูโร
3
ในขณะที่หากคุณทำตอนนี้ คุณจะได้ราคาก๊าซธรรมชาติที่ส่งมอบเดือนธันวาคมในราคาเกือบ 195 ยูโรแล้ว!!
ตัวเลขข้างต้นนี้ หมายความว่า ในช่วงแรกของสงคราม ผู้คนยังคิดว่า ราคาก๊าซธรรมชาติที่สูงยังจะเป็นเรื่องชั่วคราว และจะปรับกลับลงมาสู่ระดับต่ำลง
แต่ในตอนนี้ ผู้คนเริ่มคาดการณ์กันแล้วว่า ปัญหาราคาก๊าซธรรมชาติจะเป็นเรื่องที่ยืดเยื้อมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากผู้นำชาติยุโรปหลายคนเดินทางไปสนับสนุนยูเครนถึงกรุงเคียฟ
1
จึงทำให้รัสเซียลดการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านท่อ Nord Stream ลงกว่า 60% และทำให้ผู้คนคาดการณ์กันว่า ราคาก๊าซธรรมชาติในปลายปีนี้ จะขึ้นไปสู่ระดับเกือบ 195 ยูโรได้
📌 การแก้ปัญหาด้วยการหันไปพึ่งพลังงานปล่อยมลภาวะสูงกว่า
อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศในกลุ่มยุโรป เป็นประเทศที่ให้ความสำคัญในเป้าหมาย Zero Carbon หรือ การลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เหลือศูนย์มากเป็นอันดับต้นๆ ของโลก
1
แต่ปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นในขณะนี้ กำลังบีบให้พวกเขาต้องเลือกพึ่งพาพลังงานที่ปล่อยมลภาวะมากกว่าก๊าซธรรมชาติแทน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำมันและถ่านหิน
โดยอ้างอิงจากรอยเตอร์ (Reuters) ในการประชุมบริษัทยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศสในช่วงที่ผ่านมา พวกเขากำลังเตรียมตัวใช้น้ำมันเพื่อให้เครื่องจักรของพวกเขาดำเนินต่อไปได้
หนึ่งในบริษัทที่ให้ข่าวและยอมเปิดเผยชื่อ คือ “Michelin” บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์เจ้าใหญ่ของโลก ที่บอกว่า ตอนนั้นได้ปรับเครื่องจักรของตัวเองให้พร้อมใช้ได้ทั้งก๊าซ น้ำมัน หรือ แม้กระทั่งถ่านหินด้วยซ้ำ
1
ซึ่งเหตุการณ์การประชุมนี้ ก็เกิดขึ้นหลังจากที่ French Finance Ministry นาย Bruno Le Maire พึ่งออกมาประกาศว่า ให้เตรียมรับมือกับการตัดการส่งออกก๊าซอย่างเบ็ดเสร็จจากรัสเซีย
และกระแสการหันเข้าหาพลังงานที่ปล่อยมลภาวะมากกว่าก็แพร่ไปทั่วยุโรป ขนาดประเทศพี่ใหญ่ในยุโรปยังมีปัญหาที่ยังแก้ไม่ตกในเรื่องพลังงาน ไม่ต้องพูดถึงประเทศที่เล็กกว่าที่จะปรับตัวเข้าสู่เป้าหมาย Zero Carbon ได้เต็มตัว
อย่างในเยอรมนีเอง ก็เริ่มมีมาตรการปันส่วนก๊าซธรรมชาติ (Gas Rationing) แล้ว หรือคือ การจัดลำดับความสำคัญของการใช้ก๊าซ แสงไฟ เครื่องให้ความร้อน หรือ เครื่องจักรต่างๆ จะได้รับก๊าซในอัตราที่รัฐมีการจัดไปให้
อิตาลีก็เริ่มมีปัญหาพลังงานอย่างมาก ในตอนนี้เริ่มมีแสดงความกังวลว่า การที่รัสเซียตัดก๊าซธรรมชาติจะทำให้อิตาลีเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เรื่องนี้จะกดดันให้พวกเขาต้องพยายามหาแหล่งพลังงานสำรองมาใช้ หากเกิดกรณีฉุกเฉินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งเมื่อพลังงานสะอาดยังไม่สามารถทดแทนส่วนขาดได้ทั้งหมด เราก็อาจจะได้เห็นการใช้พลังงานจากแหล่งที่ปล่อยมลภาวะมากกว่าเข้ามาช่วยแก้ขัดก่อนอย่างที่บอกไป
3
ผู้เขียน : ณัฐนันท์ รำเพย Economist, Bnomics
ภาพประกอบ : จินดาวรรณ อรรถมานะ Graphic Designer, Bnomics
▶️ ติดตามช่องทางของ Bnomics ได้ที่
Line OA : @Bnomics https://bit.ly/3eYkTJC
Bnomics - Bangkok Bank Economics
'Be an Economist for Everyone'
วิเคราะห์ เจาะทุกประเด็นเศรษฐกิจ ให้เป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ
References :
โฆษณา