11 ก.ค. 2022 เวลา 16:20 • ความคิดเห็น
1) ผมมีโอกาสได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งซึ่งได้มอบมุมมองเกี่ยวกับชีวิตของผู้คนที่ประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานจากเส้นทางชีวิตที่หลากหลาย
คงมีนักเขียนอยู่ไม่กี่ท่านที่ผมชื่นชอบตลอดกาล หนึ่งในนั้นคือ Malcolm Gladwell และชื่อหนังสื่อคือ Outliers
สิ่งที่ผมเรียนรู้จาก Outliers คือ เอาเข้าจริงๆ ชีวิตประกอบไปด้วยบุญเก่าและบุญใหม่ครับ คล้ายๆกับคำพูดที่ว่า
”ไม่มีนกตัวใดบินสูงเกินไป ถ้ามันบินด้วยปีกของตัวมันเอง”
2
นั้นคือลมใต้ปีกที่มาหนุนให้นกตัวนั้นลอยสูงขึ้น คือโอกาส คือจังหวะเวลา ที่ใช่ว่าทุกคนจะเข้าถึงได้ มันคือสิ่งที่ผมเรียกว่าบุญเก่า แต่ความมานะพยายามที่นำคนๆนั้นเข้าสู่โอกาสหรือจังหวะดีๆก็คือบุญใหม่ที่เขาต้องสร้างขึ้นมาเอง
ผมจดจำเรื่องราวในหนังสือเล่มนี้ได้คร่าวๆ และขอยกเป็นกรณีศึกษาดังนี้
1.1 “Bill Gates”
1
คุณ Gates ในวัยนักเรียนสนใจเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยในยุคนั้น “PC: Personal Computers” หรือ “คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล” ยังไม่มีจำหน่ายในสมัยนั้น
“คอมพิวเตอร์ในยุคนั้น” มีขนาดใหญ่และราคาแพงมากๆ (ราคาไปได้ไกลถึง $5 ล้าน USD) ผู้ที่จะเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ต้องเป็น “องค์กรขนาดใหญ่” เช่น บริษัทขนาดใหญ่, ธนาคาร, หรือ “สถาบันระดับอุดมศึกษา”
”An IBM mainframe computer in 1970 (pictured above) cost $4.6 million and ran at a speed of 12.5 MHz (12.5 million instructions per second), which is a cost of $368,000 per MHz.”
Young Bill Gates ในสมัยนักเรียนนั้นอาศัยอยู่ในละแวกที่มี สถานศึกษาขนาดใหญ่พอที่จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ และด้วยเหตุผลบางอย่าง แม้ Gates จะเป็นเพียงนักเรียน (ซึ่งผมจำไม่ได้ว่า อันที่จริงแล้วเขาเป็นนักเรียนที่นั่นหรือไม่) แต่เขาก็ได้มี “โอกาส” เข้าไปใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในสถาบันแห่งนั้น ด้วยเหตุผลพิเศษบางอย่าง
ซึ่งใช่ว่าทุกสถาบันจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ใช้ และ Gates ยัง “โชคดีมาก” ที่เขาสามารถเดินทางไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ ณ สถาบันแห่งนั้นได้เพราะเขาอาศัยอยู่ในละแวกนั้น!
Gates จึงมี “โอกาส” ที่เด็กที่เกิดในราวยุค 1950s คนอื่นๆไม่มี (Steve Jobs เกิดปีเดียวกับ Gates แต่ Jobs ยังไม่มีโอกาสที่ Gates มี) ในการได้ใช้คอมพิวเตอร์ราคาแพงกว่าบ้านเพื่อเรียนการเขียนโปรแกรมซึ่งต่อมา มันเป็น “โอกาส” ที่ทำให้ Gates ก่อตั้ง Microsoft และเขาได้กลายเป็นหนึ่งในคนที่ร่ำรวยที่สุดในประวัติศาสตร์ของมวลมนุษยชาติ
1
ถ้า Gates เกิดมาในยุคนี้ “ทักษะการเขียนโปรแกรม” ของเขาอาจทำให้เขามีงานดีๆทำ หรือเขาอาจเป็นเจ้าของบริษัท Tech ดีๆซักแห่ง แต่ยุค Ai มันเป็นยุคที่เป็น game changer และ “คู่แข่ง” ของ Gates จะมีเยอะมากๆ
ซึ่งก็นับว่า Gates เกิดมาในยุคสมัยที่ส่งเสริมให้โอกาสที่เขามีเป็น “โอกาสพันล้าน!”
1.2 ในยุคหนึ่ง นักกฎหมายส่วนใหญ่ใฝ่ฝันที่จะทำงานใน Law firms ที่คดีใหญ่ๆที่ทำเงินมักเป็นคดีฟ้องร้อง “การหย่าร้าง” ของผู้มีฐานะ
มีนักกฎหมายจบใหม่ที่ไม่มีเส้นสายคนหนึ่ง ไม่สามารถเข้าทำงานใน Law firm ใหญ่ๆได้ เขาได้งานทำคดีที่ไม่มีใครอยากทำในยุคนั้นคือ “การควบรวมกิจการ” (merger) ของบริษัทต่างๆ
แต่เมื่อเขาทำคดีลักษณะนี้จนมีความชำนาญ วันเวลาเปลี่ยนไป “การควบรวมกิจการ” กลายเป็นคดีที่ทำเงินมหาศาลในเวลาต่อมา และทำให้นักกฎหมายผู้ไร้เส้นสายคนนี้กลายเป็น “เศรษฐี” ในที่สุด
2) ผมมองว่าชีวิตของคนเรามีต้นทุนต่างกัน มีความสนใจต่างกัน มีโอกาศต่างกัน มีสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่างกัน ดังนั้นการเปรียบเทียบไม่ว่าจะเป็นมุมมองใดในเวลาใดก็กระทำได้ แต่มันจะเอามาตรฐานใดมาชี้วัดให้การเปรียบเทียบดังกล่าวเป็นไปอย่างเป็นธรรม?
สมมุติว่าชีวิตคุณ A เริ่มจากศูนย์, ชีวิตคุณ B เริ่มจาก -100 ในขณะที่ชีวิตคุณ C เริ่มที่ +1,000 ชัดเจนว่า ชีวิตของคนทั้งสามคงดำเนินไปในทิศทางที่แตกต่างกันอย่างแน่นอนในช่วงแรก
ถ้าคนทั้งสามเดินไปร้อยก้าว ชีวิตคุณ A จะไปยืนที่ 100, ชีวิตคุณ B จะไปยืนที่ศูนย์, ส่วนชีวิตคุณ C จะไปยืนที่ 1100 ถ้าเราไม่รู้จักคนทั้งสามเลย แน่นอนว่า เราคงยกย่องคุณ C ว่าเขาก้าวไปได้ไกลกว่าคนอื่นๆ
ถ้าให้ผมสรุปคือ มันไม่สำคัญว่าคุณเริ่มต้นมาอย่างไร มันสำคัญอยู่ที่ว่า คุณก้าวมาไกลจากจุดเริ่มต้นของคุณแค่ไหน และคุณอยู่ห่างจากเป้าหมายของคุณเพียงใด
7
3) ผมอยากเปรียบเทียบแบบนี้ครับ สมมุติว่าคุณ D สร้างเรือแจว โดยเขาต่อเรือแจวจากไม้ล้วนๆ เขาต่อไปได้แล้ว หนึ่งพันลำ ในขณะที่คุณ E ต่อเรือแค่ลำเดียวมาตลอดชีวิต แต่ต่อยังไม่เสร็จ สร้างได้เพียงแค่กระดูกงูของเรือ แต่เรือที่คุณ E สร้างคือเรือบรรทุกเครื่องบิน! ที่มีเครื่องบินรบประจำการได้หนึ่งร้อยลำ พร้อมลูกเรืออีกห้าพันคน สามารถแล่นรอบโลกได้สามรอบก่อนที่จะต้องเติมเชื้อเพลิงใหม่
ในขณะที่เรือแจวของคุณ D พายไปมาได้เฉพาะในคลองเล็กๆที่ไม่มีคลื่นลม แน่นอนครับว่า ชีวิตเป็นเรื่องที่เปรียบเทียบได้ไม่ง่ายนัก
4) ลองถามใจคุณเองนะครับ
คุณคิดว่า คนที่ขับรถราคา “สองล้าน” จะมีความสุข เป็น”สี่เท่า” ของคนที่ขับรถราคา “ห้าแสน” อย่างนั้นหรือเปล่าครับ?! (หลอกตัวเองไม่ยากครับ แต่คิดจะไปหลอกคนที่มีปัญญาสูงกว่า มันเป็นเรื่องขำขัน!)
2
คนที่ขับรถราคา “ห้าแสน” ที่เขาสร้างเนื้อสร้างตัวจนเก็บเงินซื้อรถราคาห้าแสนได้เอง ไม่สามารถภาคภูมิใจในตัวเองได้เพียงเพราะว่า ในโลกนี้มีใครบางคนที่ใช้เงินมรดก, เงินกงสี, เงินขายที่ดิน, หรือเงินที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย เอาไปซื้อรถราคา “สองล้าน” มาขับเฉิดฉายอวดชาวบ้านงั้นหรือครับ?
แล้วคนที่ใช้เงินที่ตัวเองไม่ได้หามาเองแบบนั้น ควรเป็นที่อิจฉาของผู้อื่นงั้นหรือครับ?
3
5) ผมมองว่า “ความสำเร็จในชีวิต” เป็นเรื่อง “ส่วนบุคคล” เอามากๆ มันเป็น “สิทธิ์” ที่คุณนิยามด้วยตัวเองโดยไม่ขึ้นกับสิ่งภายนอกที่ชัดเจนอยู่ว่า “ไม่ได้มีคุณค่าใดๆกับชีวิตของคุณเอาเสียเลย” (not giving a fu*ck)
ผมจึงมองว่า “ความสำเร็จที่แท้จริงในชีวิต” คือ “ความพึงพอใจและความภาคภูมิใจในความเป็นตัวของตัวเอง” โดยไม่เกี่ยวกับความรู้ความสามารถและทรัพย์สินเงินทองแต่อย่างใด และต้องไม่ไปเข้าข่ายหลงตัวเองแล้วเที่ยวไป “ยกตน ข่มท่าน” ด้วย!
1
เพราะความร่ำรวยและชื่อเสียงเงินทอง อำนาจวาสนา เป็นของไม่เที่ยง จะตายวันตายพรุ่งก็ไม่รู้!
ทรัพย์สินที่ครอบครองอยู่ก็เป็นเพียง
“สมบัติน้ำแข็ง”
วันนี้คุณมี วันหน้าคุณอาจไม่มี และ ถ้าคุณมีได้ คนที่มีมากกว่าคุณก็มีอยู่ถมไป! ใยจึงเอาชีวิตและเวลาอันจำกัดของคุณไปเที่ยวเปรียบเทียบกับผู้อื่นซึ่งคนเหล่านั้นก็เผชิญความไม่เที่ยงเฉกเช่นเดียวกันกับคุณ
6) ผมยังมองอีกว่า
“ความหมายของชีวิต คือการใช้ชีวิตให้มีความหมาย โดยการสร้างประโยชน์ให้ผู้อื่น และจงใช้ชีวิตให้คนอื่นอิจฉาโดยการไม่อิจฉาใคร เพราะชีวิตที่ไม่ต้องเสียเวลาไปอิจฉาใคร เป็นชีวิตที่น่าอิจฉา”
7) แนวคิดที่สามารถปลดปล่อยคุณจากความอิจฉา
7.1) “you must find out what makes you happy.”
7.2) “จะดีหรือร้าย....ใครจะไปรู้?”
(good/bad....who knows?)
7.3) ใช้เวลาในการสร้างความจริงจากความฝันของคุณในทุกๆวัน
7.4) ทำชีวิตตัวเองให้ดีขึ้น
7.5) กฎแห่งโชค
7.6) ความสุขที่คุณต้องนิยามเอง
โฆษณา