12 ก.ค. 2022 เวลา 06:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เชื่อกันว่า ขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้คือประตูลับสู่ “โลกใต้พิภพ” เชื่อมโยงทฤษฎีโลกกลวง
เชื่อกันว่า ขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้คือประตูลับสู่ “โลกใต้พิภพ” เชื่อมโยงทฤษฎีโลกกลวง
ตามเจาะลึก “ทฤษฎีโลกกลวง หรือ Hollow Earth” เคยเป็นที่ยอมรับมาก่อน ซึ่งสันนิษฐานว่ามีโลกซ้อนโลก หรือ โลกใต้พิภพนั่นมีอยู่จริง และคาดว่ามีสิ่งมีชีวิตที่สูญพันธ์ไปกว่าหลายสิบล้านปีอาศัยอยู่ที่นั่น ซึ่งเป็นสถานที่ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความอุดมสมบูรณ์ มีพระอาทิตย์ที่คอยให้แสงสว่าง แหล่งน้ำ และป่าธรรมชาติงดงาม
โดยในปี 1656 - 1742 จุดเริ่มต้นของทฤษฎีโลกกลวง หรือ Hollow Earth มาจากแนวคิดของ “เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์” นักธรณีฟิสิกส์ ชาวอังกฤษ ที่มีชื่อเสี่ยงเกี่ยวกับ การทำนายโคจรของดาวหางฮัลเลย์ เผยว่าสนามแม่เหล็กของโลกไม่ได้มีเพียงสนามแม่เหล็กเดียว แต่มีมากกว่าหนึ่ง
ซึ่ง “เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์” ได้สังเกตจากความผิดปกติของคลื่นสนามแม่เหล็กเปลือกโลกนั่น มีแกนแม่เหล็กเป็นของตัวเอง จึงสันนิษฐานว่า อาจเป็นไปได้ว่าโลกของเรามีอีกโลกใบหนึ่งซ้อนอยู่ใต้เปลือกโลก ซึ่งอธิบายว่าเปลือกโลกเปรียบเสมือนเปลือกหอยที่มีความหนาประมาณ 500 ไมล์ และแกนกลางของโลกนั่นว่างเปล่าเหมือนกะลามะพร้าว
อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กของโลก นั้นมีอยู่ 2 ขั้ว ได้แก่ ขั้วโลกเหนือ และขั้วโลกใต้ ซึ่งขั้วแม่เหล็กจะมีอยู่สองการกระทำ คือ ขั้วต่างกันออกแรงดึงดูดกัน เช่น N เข้าหา S และขั้วเหมือนกันออกแรงผลักกัน เช่น N ผลัก N ออกนั่นเอง
โดยคลื่นสนามแม่เหล็กนี้ มีหน้าที่ป้องกันลมสุริยะของดวงอาทิตย์ผ่านตัวโลกไป และมีผลต่อสุขภาพร่างกายของมนุษย์ด้วยเช่นกัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปรตามช่วงเวลาของแม่เหล็ก ซึ่งตอนกลางคืนจะมีความเข้มกว่าตอนกลางวัน เพราะอิทธิพลพระอาทิตย์ทำให้แม่เหล็กตอนเช้าทำงานได้ไม่ดีเท่าตอนกลางคืน ดังนั้นเวลาคนที่ทำงานกลางคืนจะมีร่างกายโทรมกว่า คนที่ทำงานตอนกลางวันนั่นเอง
ต่อมาในปี 1818 -1826 ทฤษฎีโลกกลวงของ “เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์” กลับได้รับความสนใจ และให้การสนับสนุนจากนักวิทยาศาสตร์ และนักการเมือง เกี่ยวกับทฤษฎีโลกกลวง เพื่อค้นหา และสำรวจใต้ดินขั้วโลกเหนือ หรืออาร์กติก สถานที่คาดว่าอาจเป็นประตูทางเข้าสู่เมืองใต้พิภพโลก ซึ่งเรียกว่า “หลุมยักษ์ หรือ Symmes Hols”
นับว่าทฤษฎีที่มีนักวิทยาศาสตร์บางกลุ่มเชื่อว่ามีอยู่จริง อย่าง “เลออนฮาร์ด ออยเลอร์” ตั้งทฤษฎีสมทบคิดรูปแบบจำลอง sic ว่าใต้เปลือกโลกกลวงมีดวงอาทิตย์ขนาดเล็ก 2 ดวง กว้างประมาณ 600 ไมล์ หรือ ราว 965 กิโลเมตร ที่มีชื่อว่า ดาวพลูโต และโปรเซอร์ไพน์ คอยมอบความสว่างและแสงอบอุ่นแก่อารยธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตใต้พิภพโลก
ในปี 1888 -1957 มีเรื่องเล่าของ นายทหารเรือ ชาวอเมริกานักสำรวจ นามว่า “ริชาร์ด เบิร์ด” เคยเดินทางไปยังเมืองใต้พิภพของโลกที่มีชื่อว่า “อการ์ธา หรือ Aghartha” และบันทึกไดอารี่เรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับเมืองแห่งนี้ ถูกเผยแพร่หลังจากที่เขาได้เสียชีวิตลงแล้ว
ซึ่งได้อธิบายถึงสภาพแวดล้อมนั้นอุดมสมบูรณ์อย่างมาก เนินเขาเขียวชอุ่ม อุณหภูมิเพียง 23 องศา มีประชากรยักษ์มากมาย หรือที่เรียกกันว่า “เผ่าพันธุ์เอ็ลเดอร์เรซ” มีส่วนสูงประมาณ 3 เมตร และมีอายุยืนถึง 800 ปี และมีความเฉลียวฉลาด เทคโนโลยีก้าวหน้ากว่ามนุษย์ที่อาศัยบนโลก
ซึ่งยังมีหลักฐาน และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เชื่อมโยงกับทฤษฎีโลกลวง ได้แก่ ปรากฎการณ์ของแสงเหนือ แสงใต้ โดย “เอ็ดมันด์ ฮัลลีย์” กล่าวว่า เกิดจากการปล่อยแก็สใต้โลกตกกระทบกับแสงอาทิตย์ทำให้เกิดแสงออโรร่า หรือแม้แต่ซากแมมมอธแช่แข็งที่อยู่ในสภาพเกือบสมบูรณ์ คาดเดาว่าน่าหลุดออกมาจากใต้โลก
แต่หลักฐานดังกล่าว ภายหลังได้รับการพิสูจน์แล้วว่า “แสงออโรร่า” นั่นเกิดจากอนุภาคแสงพระอาทิตย์กระทบกับก๊าซชั้นบรรยากาศโลก ทำให้เกิดปรากฎแสงสีสวยงามนั่นเอง ส่วนซากแมมมอธ ได้การตรวจสอบแล้วว่า มีการเสียชีวิตมาแล้วมากกว่า 30,000 ปี
ซึ่งถือว่าเป็นทฤษฎีโลกลวงที่กล่าวมานั้น อาจดูขัดแย้งกับแนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างของโลกที่มีทั้งหมด 5 ชั้น ได้แก่ ชั้นธรณีภาค ชั้นฐานธรณีภาค เปลือกโลก ชั้นเนื้อโลก แก่นโลกชั้นนอก และแก่นโลกชั้นใน โดยได้มีการเจาะลึกเข้าไปในเปลือกโลกเพื่อสำรวจได้เพียง 12.2 กิโลเมตรเท่านั้น โดยชั้นใต้ดินที่ยิ่งลึกลงไปมากเท่าไหร่ ยิ่งมีอุณหภูมิสูงมากขึ้นเท่านั้น จึงอดคิดไม่ได้เลยว่าจะมีโลกใต้พิภพอยู่จริง
อย่างไรก็ตามทฤษฎีเกี่ยวกับโลกลวง และโครงสร้างของโลกก็ยังไม่สามารถทราบแน่ชัดได้ หรือแม้แต่เรื่องเล่าของการเดินทางไปยังเมืองใต้พิภพ เพราะยังไม่ได้รับการพิสูจน์ หรือการยืนยันของหลักฐานเป็นที่ประจักษ์ ซึ่งเป็นเพียงแค่การคาดเดา และสันนิษฐานก็เท่านั้น
แต่การมีอยู่ของโลกใต้พิภพนั่นอาจเป็นไปได้ว่ามีอยู่จริง หรือไม่มีอยู่จริง เช่นเดียวกับอารยธรรมสิ่งมีชีวิตต่างดาวนอกโลก เพราะมนุษย์ก็ยังไม่รู้จัก หรือเรียนรู้โลกของตัวเองได้มากเท่าที่ควร
Read Me - We Shout l The Shout
Living Online Magazine
[Life, Culture, Creative, Spirit]
โฆษณา