Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
DoctorWantTime
•
ติดตาม
12 ก.ค. 2022 เวลา 07:26 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เงินเฟ้อสูงจากต้นทุน ทำไมขึ้นดอกเบี้ย
บ้านเราเงินเฟ้อขึ้นมาล่าสุดมาอยู่ที่ 7.66% และแนวโน้มน่าจะเพิ่มสูงกว่านี้ เพราะยังมีการอั้นของราคาสินค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันดีเซล หรือที่กระทรวงพาณิชย์เข้าไปควบคุม ทางแบงค์ชาติถึงแม้ครั้งนี้จะยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย แต่ได้ส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นในการจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อจะจัดการเงินเฟ้อที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีการประชุมต้นเดือนสิงหานี้ มาอ่านกันว่า ทำไมเงินเฟ้อสูงจากฝั่งต้นทุน ทำไมจะขึ้นดอกเบี้ย
เงินเฟ้อ คือ การที่สินค้าและบริการโดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งการวัดเงินเฟ้อที่นิยมใช้คือ การใช้ดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Prices Index; CPI)
CPI เป็นดัชนีที่คำนวณจากตัวอย่างข้อมูลราคาของสินค้าและบริการทั่วประเทศ ซึ่งในแต่ละประเทศสินค้าและบริการที่เข้ามาคิด CPI ก็จะมีความแตกต่างกัน ตามลักษณะการใช้จ่ายของประชาชน
การเกิดเงินเฟ้อแบ่งเป็น 2 สาเหตุหลัก
1. Demand-pull มีคนต้องการสินค้าและบริการมาก สินค้าไม่พอ จึงปรับราคาเพิ่ม
2. Cost - push ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้ต้องปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้น
อัตราดอกเบี้ยนโยบาย เป็นเหมือนเบรกและคันเร่งในระบบเศรษฐกิจ ที่ดูแลโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ถ้าลดอัตราดอกเบี้ยจะเหมือนเหยียบคันเร่ง ถ้าเพิ่มอัตราดอกเบี้ยจะเหมือนเหยียบเบรก
เมื่อขึ้นอัตราดอกเบี้ย จะทำให้ดอกเบี้ยเงินฝาก และดอกเบี้ยเงินกู้เพิ่มขึ้น ทำให้ผู้คน บริษัท เริ่มชะลอการนำเงิน หรือกู้เงินออกมาใช้จ่าย ดังนั้น ถ้าเป็นเงินเฟ้อที่เกิดจากฝั่งของ demand-pull ก็เข้าใจได้ไม่ยากว่าการขึ้นดอกเบี้ย จะสกัดเงินเฟ้อได้
แต่ถ้าเงินเฟ้อมากจากฝั่งต้นทุน (Cost-push) เป็นหลักอย่างบ้านเราตอนนี้ การขึ้นดอกเบี้ย จะช่วยอะไร อาจไม่ได้ช่วยตรงๆ แต่ก็มีส่วนช่วยได้ มาอ่านต่อกัน...
- อัตราดอกเบี้ยนโยบาย neutral rate ที่ไม่เป็นการกระตุ้นหรือชะลอเศรษฐกิจ อยู่ที่ 2-3 % ตอนนี้บ้านเราอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% (เหมือนยังเหยียบคันแร่งอยู่) จึงควรต้องเริ่มผ่อนคันเร่งลง เอาตัวเร่งที่ไม่จำเป็นออก เพื่อไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นไปอีก กั้นเงินเฟ้อจากฝั่ง demand ในอนาคตที่จะมาซ้ำเติม
- เพื่อไม่ให้เงินเฟ้อฝังรากลึก เพราะเมื่อทุกคนคาดว่าเงินเฟ้อจะขึ้นไปอีก ก็จะบวกเพิ่มเข้าไปในสินค้าและบริการ ค่าแรง ค่าเช่า จะยิ่งทำให้เงินเฟ้อยิ่งคุมไม่ได้ อาจต้องยอมให้เศรษฐกิจชะลอลงบ้าง ดีกว่าคุมเงินเฟ้อไม่อยู่ สังเกตว่าตอนนี้ร้านไหนขึ้นราคา เราเริ่มรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ
- ถ้าดอกเบี้ยประเทศอื่นสูง ในขณะที่ดอกเบี้ยบ้านเรายังต่ำ จะทำให้เงินไหลออก เงินบาทอ่อนค่า การนำเข้าน้ำมันก็ยิ่งต้องใช้เงินเพิ่ม ซึ่งตอนนี้เงินบาทอ่อนค่าไปพอสมควร ไปอยู่ที่ประมาณ 3ุ6 บ. ต่อดอลลาร์แล้ว
- คาดว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้น นักท่องเที่ยวจะกลับมาได้ดีพอสมควรในช่วงปีนี้ จึงน่าจะพอขึ้นดอกเบี้ยได้
เงินเฟ้อสูง ส่งผลต่อค่าครองชีพเพิ่ม ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่กำลังจะปรับเพิ่ม จะส่งผลต่อภาระหนี้สินจากดอกเบี้ยที่เพิ่ม แต่ถ้าไม่คุมเงินเฟ้อให้อยู่ ผลกระทบจากค่าครองชีพอาจจะมีมากกว่า ธนาคารกลางจึงต้องพยายามคุมเงินเฟ้อให้อยู่
การจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วงนี้ ถือเป็นความท้าทายของแบงค์ชาติพอสมควร คงต้องจับตาดูเรื่องของเงินเฟ้อกันต่อไปว่าจะคุมอยู่ไหม
#หมอยุ่งอยากมีเวลา #เงินเฟ้อ #ดอกเบี้ย #ตลาดหุ้น #อัตราดอกเบี้ย #อัตราเงินเฟ้อ #เงินเฟ้อสูง #เงินเฟ้อเพิ่มขึ้น #ขึ้นอัตราดอกเบี้ย
เงินเฟ้อ
เงินเฟ้อสูง
เงินเฟ้อไทย
1 บันทึก
2
2
1
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย