31 ก.ค. 2022 เวลา 23:00 • ธุรกิจ
ทำเนียบขาวของสหรัฐฯ ประกาศแนวทางการทำงานเพื่อต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU)
วันที่ 27 มิถุนายน 2002 ประธานาธิบดี Biden ลงนามในบันทึกความมั่นคงของประเทศ National Security Memorandum (NSM-11) เรื่อง Combating Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing and Associated Labor Abuses ในบันทึก ระบุนโยบาย แนวทางการทำงาน เป้าหมาย หน่วยงานรับผิดชอบ และชื่อองค์กรสำคัญทั่วโลก ไว้อย่างชัดเจน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ระบุชื่อและแนวทางการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing หรือ IUU) และการบังคับใช้แรงงานของกระทรวง และองค์กรภายใต้รัฐบาลกลางสหรัฐฯ 21 หน่วยงาน
2. จัดตั้งคณะทำงานที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกระทรวงต่างๆ คือ
(1) Interagency Working Group on IUU Fishing จัดทำขึ้นภายใต้กฎหมาย Maritime Security and Fisheries Enforcement (SAFE) Act เพื่อจัดทำ National Five-Year Strategy for Combating Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing (2022-2026) ให้เสร็จสิ้นภายในเดือนกรกฏาคม 2022
(2) Interagency Task Force to Monitor and Combat Trafficking in Persons จัดทำขึ้นภายใต้กฎหมาย The Trafficking Victims Protection Act of 2000 (TVPA)
3.ยกระดับการทำงานต่อต้านการทำประมง IUU และการบังคับใช้แรงงานสู่ระดับสากล โดยมีสหรัฐฯ เป็นผู้นำผ่าน
(1) สร้างเครือข่ายกระจายข้อมูลที่สหรัฐฯ มีเกี่ยวกับการทำประมง IUU การบังคับใช้แรงงาน สินค้าและธุรกิจที่เกี่ยวข้องสู่ภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงสถาบันการเงินและองค์กรสิ่งแวดล้อม และผู้บริโภคทั่วโลก เป้าหมายเพื่อกระตุ้นการลดการบริโภค/การดำเนินการทางกฎหมายกับผู้ฝ่าฝืน
(2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาครัฐบาล องค์กรการเมืองระหว่างประเทศ ภาคเอกชน และองค์กรต่างชาติระดับภูมิภาคและระดับโลก ในการแก้ไขปัญหาและบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ เช่น
 บรรจุปัญหาไว้ใน 2030 Nature Compact จัดทำโดยประเทศกลุ่ม G7 (แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ)
 จัดทำ United States-European Union High-Level Dialogue on Fisheries
 จัดทำ IUU Fishing Action Alliance ระหว่างสหรัฐฯ สหราชอาณาจักร และแคนาดา
 จัดทำ Indo-Pacific Partnership for Maritime Domain Awareness
 จัดทำ APEC Roadmap on Combatting IUU Fishing เป็นต้น
(3) ใช้ข้อตกลงทางการค้าที่สหรัฐฯ ทำกับประเทศต่างๆ เป็นเครื่องมือ เช่น จัดทำ Force Labor Enforcement Task Force ภายใต้ United States-Mexico-Canada Agreement (USMCA) Implementation
(4) สร้างความโปร่งใสในอุตสาหกรรม ระบบห่วงโซ่อุปทาน และส่งเสริมสิทธิแรงงานและสิทธิมนุษยชนในระบบห่วงโซ่อุปทานอาหารทะเลทั่วโลก ผ่านนโยบายการค้าที่มีศูนย์กลางอยู่ที่สิทธิแรงงาน
(5) พยายามปิดกั้นโอกาสการค้าระหว่างประเทศ สินค้าจากการทำประมง IUU ทั้งในสหรัฐฯ และในประเทศพันธมิตรทั่วโลก เช่น
 National Oceanic and Atmospheric Administration (NOAA) จะเริ่มขยายขอบเขต Seafood Import Monitoring Program (SIMP) ให้ครอบคลุมสายพันธุ์สัตว์ทะเลหลายสายพันธุ์มากยิ่งขึ้น ภายในปี 2022
 NOAA และ U.S. Customs and Border Protection (USCBP)
o ตรวจสอบการนำเข้าอย่างเข้มงวด และออกคำสั่ง Withhold Release Order (WRO) สอบสวนคดีต่างๆ ที่สามารถลงโทษทางแพ่งกับผู้นำเข้าที่เกี่ยวข้องกับปัญหาเรื่องการทำประมง IUU และที่ได้รับคำสั่ง WRO ตามที่เหมาะสม กระจายข้อมูลการตรวจสอบและการค้นพบไปยังประเทศคู่ค้าอื่นๆ รวมถึง International Criminal Police Organization (INTERPOL) เพื่อดำเนินการในทำนองเดียวกันกับสหรัฐฯ กับธุรกิจดังกล่าว/ธุรกิจที่ทำความผิดในลักษณะเดียวกัน
o จัดทำระบบเทคโนโลยีก้าวหน้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจจับการทำประมง IUU และสินค้าอาหารทะเลนำเข้าที่ผิดกฎหมาย
o ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้ภาษีตอบโต้ (countervailing duties) การแจ้งการนำเข้า (import declarations, และประกาศนียบัตร (certification) เป็นเครื่องมือควบคุมการนำเข้า
o ให้ความสำคัญสูงสุดในการตรวจสอบการทำประมงและการนำเข้าสินค้าอาหารทะเลในประเทศ เอกวาดอร์ ปานามา เซเนกัล ไต้หวัน และเวียดนาม
o ร่วมมือกับประเทศเม็กซิโกและแคนาดาภายใต้ข้อตกลง USMCA ห้ามการนำเข้าสินค้ารวมถึงอาหารทะเลที่ผลิตโดยแรงงานถูกบีบบังคับ และกระตุ้นให้ลดการบริโภคผ่านทางการกระจายข่าวสารเรื่องการประมง IUU และการใช้แรงงานบีบบังคับ
(6) นำการแซงชั่นและอำนาจการให้วีซ่ามาใช้กับผู้ทำประมง IUU และการบังคับใช้แรงงาน และแบ่งปันข้อมูลเหล่านี้กับพันธมิตรและผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ดำเนินการเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับสหรัฐฯ
ศึกษารายละเอียดนโยบายและการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่
- Memorandum on Combating Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing and Associated Labor Abuses | The White House
- FACT SHEET: President Biden Signs National Security Memorandum to Combat Illegal, Unreported, and Unregulated Fishing and Associated Labor Abuses | The White House
สาเหตุสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯ ให้ความสนใจเรื่องการทำประมง IUU และการบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรม เนื่องมาจาก
- สหรัฐฯ เป็นตลาดอาหารทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก เกินกว่าร้อยละ 85 ของอาหารทะเลที่บริโภคในสหรัฐฯ มาจากการนำเข้า เมื่อรวมตลาดอาหารทะเลของสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น จะมีสัดส่วนร้อยละ 55 ของตลาดอาหารทะเลโลก
- สหรัฐฯ ระบุว่า การทำประมง IUU และการละเมิดสิทธิแรงงาน ส่งผลกระทบต่อสหรัฐฯ ทั้งด้านการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงของประเทศ ความยั่งยืนของการประมงในสหรัฐฯ และทั่วโลก การรักษาสิทธิมนุษยชนของชาวประมง และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งล้วนส่งผลเสียต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศโลก
- แม้ว่าในคำสั่งจะไม่ระบุประเทศไทยเป็นประเทศเป้าหมายสำคัญ แต่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสนใจ เนื่องจาก
(1) วัตถุดิบอาหารทะเลที่ใช้ในการผลิตสินค้าในประเทศไทย อาจนำเข้ามาจากประเทศอื่นที่ผิดกฎระเบียบ เช่น จีน
(2) คำสั่งได้มอบหมายหน้าที่ให้กับหน่วยงานราชการสหรัฐฯ ถึง 21 หน่วยงานให้ทำงานร่วมกับหลายประเทศรวมถึงองค์กรขนาดใหญ่ระดับโลก ทั้งยังกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภคและองค์กรต่างๆ เสมือนการสร้างป้อมปราการปิดล้อมปฏิบัติการที่ผิดกฎหมายในทุกช่องทาง
(3) มีแนวโน้มสูงว่า มาตรการเข้มงวดเรื่องการบังคับใช้แรงงานในอุตสาหกรรมอาหารทะเลจะขยายวงออกไปในทุกภาคอุตสาหกรรม และในทุกรูปแบบของการจ้างแรงงานที่ผิดกฎหมายสากล ซึ่งประเทศไทยยังคงอยู่ในรายชื่อของกระทรวงแรงงานสหรัฐฯว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการใช้แรงงานเด็กผิดกฎหมายในแรงงานผลิตอาหารทะเลและเสื้อผ้าสำเร็จรูป
สถิติมูลค่านำเข้าอาหารทะเลจากประเทศไทยในปี 2021
- อาหารทะเลแช่เยือก 270 ล้านเหรียญฯ (+1.68%)
- อาหารทะเลมูลค่าเพิ่ม (prepared seafood) 900 ล้านเหรียญฯ (-17.52%) เป็นสินค้าปลามูลค่าเพิ่ม (prepared fish 600 ล้านเหรียญฯ (-26.8%) และสินค้ากุ้งมูลค่าเพิ่ม (prepared crustaceans) 300 ล้านเหรียญฯ (+7.57%)
สินค้าอาหารทะเลที่มีมูลค่านำเข้าจากประเทศไทยมากที่สุดคือ
(1) สินค้าปลา Tuna Skipjack และ Bonito ทั้งตัวหรือเป็นชิ้น 400 ล้านเหรียญฯ (-34.2%)
(2) สินค้ากุ้ง ที่ไม่ได้บรรจุในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ 300 ล้านเหรียญฯ (+3.78%)
(3) กุ้งน้ำอุ่น (warmwater shrimp) แช่แข็ง 160 ล้านเหรียญฯ (-13.25%)
(4) สินค้าปลาแซลมอนทั้งตัวหรือเป็นชิ้นๆ 56 ล้านเหรียญฯ (-3.28%)
(5) สินค้าปลา สินค้าที่มีเนื้อกุ้ง หอย ลูกชิ้นปลา และปลาบด 55 ล้านเหรียญฯ (+25.85%)
(6) เนื้อปลาทูน่า skipjack หรือ Bonito แช่เยือกแข็ง 25 ล้านเหรียญฯ (+36.97%)
(7) ปลาหมึก (squid) แช่เยือกแข็ง 20 ล้านเหรียญฯ (+70.81%)
(8) ปลาทู mackerel ทั้งตัว หรือเป็นชิ้นๆ 18 ล้านเหรียญฯ (+11.33%)
(9) สินค้าปู, เนื้อปลา 16 ล้านเหรียญฯ (+33.98%)
(10) ปลาซาดีน ทั้งตัวหรือเป็นชิ้น 13 ล้านเหรียญฯ (-13.79%)
โฆษณา