14 ก.ค. 2022 เวลา 22:07 • การศึกษา
ทำความเข้าใจระบบเศรษฐกิจง่ายๆด้วยคลิปวิดีโอ
: How The Economic Machine Works
วิดีโอจัดทำโดยคุณ เรย์ ดาริโอ
ผู้จัดการกองทุนป้องกันความเสี่ยง Bridgewater Associates ที่ถือว่าใหญ่ที่สุดในโลก
มีมูลค่ามากกว่า 5 ล้านล้านบาท
คลิปวิดีโอจะพาเราไปทำความเข้าใจกลไกตลาดพื้นฐานอย่างง่ายๆว่า
การทำงานของเศรษฐกิจเกิดขึ้นจากกระบวนการเรียบง่าย
นั่นคือการแลกเปลี่ยน
การแลกเปลี่ยนของคนหลายคน สิ่งของหลายสิ่ง
ซ้ำไปวนเวียนไปไม่รู้จบซึ่งทำให้เกิดเป็นระบบเศรษฐกิจนั่นเอง
คุณเรย์ มองว่าระบบเศรษฐกิจเหมือนกับเครื่องจักร
ที่ประกอบด้วยเครื่องยนต์ 3 ชนิด
1. การเติบโตของกำลังการผลิต (Productivity Growth)
2. วงจรหนี้ระยะสั้น (Short-Term Debt Cycle)
3. วงจรหนี้ระยะยาว (Long-Term Debt Cycle)
3 สิ่งนี้ทำงานโดยมีความสัมพันธ์กัน
หากเอามารวมกันเราจะประเมินภาวะเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาต่างๆได้
เศรษฐกิจเกิดจากผลรวมการแลกเปลี่ยน
การซื้อหรือขายสิ่งใดๆก็ตามคือการแลกเปลี่ยน
ทุกการแลกเปลี่ยน มีผู้ซื้อและผู้ขาย
ผู้ซื้อ มีเงิน หรือ เครดิต(การกู้)
ผู้ขายมีสินค้าหรือบริการ
มาแลกเปลี่ยนกัน
เงิน+เครดิต = เงินทั้งหมดในระบบ
เมื่อนำมาหารกับสินค้าทั้งหมดในระบบ
เราจะได้ราคาของสินค้าแต่ละชิ้น
(เงินทั้งหมด/ จำนวนสินค้าทั้งหมด = ราคา)
ผู้ซื้อและผู้ขายจำนวนมากๆ ที่แลกเปลี่ยนในสินค้าชนิดเดียวกันจะเรียกว่า “ตลาด” เช่น ตลาดข้าว ตลาดรถยนต์ ตลาดหุ้น
เมื่อนำปริมาณใช้จ่ายทุกตลาดที่มีมากกว่าล้านอย่างมารวมกัน ก็คือปริมาณแลกเปลี่ยนทั้งหมดในเศรษฐกิจ
ผู้ชื้อ และผู้ขาย มีตั้งแต่ประชาชนทั่วไป หน่วยงาน หรือภาครัฐ
เรามีธนาคารกลางที่เป็นผู้ควบคุมปริมาณไหลเวียนของเงินและ เครดิต(หนี้) ทั้งหมดในเศรษฐกิจให้มีความเหมาะสม
ซึ่งมีหน้าที่หลัก2อย่างคือ
1. การปรับอัตราดอกเบี้ย
2. การพิมพ์เงินขึ้นมาใหม่
สิ่งที่คุณเรย์ต้องการให้โฟกัสมากที่สุดคือ เครดิตหรือหนี้
เพราะว่ามันจะเป็นตัวกำหนดวงจรเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว
ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจว่าเครดิตก็คือการที่
มีผู้กู้และผู้ให้ยืม
ผู้กู้จะได้รับเงิน ส่วนผู้ให้ยืมจะได้รับเครดิต ซึ่งคือสัญญาว่าจะได้รับเงินคืนในอนาคตพร้อมดอกเบี้ย
ใครมีเครดิตที่ดีก็จะกู้ได้เยอะ เพราะผู้ให้กู้มีความเชื่อใจว่าเขาจะคืนเงินได้
เมื่อนายA กู้เงินหมายความว่านาย A จะใช้จ่ายได้มากขึ้น
ในเมื่อ นาย A จ่ายได้มากขึ้น จะส่งผลให้นาย B ที่ขายของให้มีรายรับที่มากขึ้น
เมื่อนาย B มีรายรับที่มากขึ้น จะทำให้นาย B ใช้จ่ายได้มากขึ้นตามไปด้วย
และก็จะทำให้นาย C (ที่นาย Bไปซื้อของ) มีรายได้เพิ่มขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น นาย C ก็จะใช้จ่ายได้มากขึ้นตาม
จะเห็นได้ว่าการใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นของคนนึงจะส่งผลต่อคนอื่นๆอีกมากมายทั้งระบบ
เกิดเป็นวัฏจักรเศรษฐกิจขาขึ้น ที่ผู้คนมีการใช้จ่ายที่สูง
เมื่อถึงเวลาที่ใช้หนี้ ของนาย A
จะทำให้นาย A ใช้จ่ายได้น้อยลงเพราะจ้องแบ่งเงินไปใช้หนี้
และแน่นอนว่าจะทำให้นาย B ที่เคยขายของให้นาย A จะขายได้น้อยลง (รายรับลดลง ทำให้รายจ่ายทำได้น้อยลงตาม)
และจะกระทบไปถึงนาย C และคนอื่นๆทั้งระบบเกิดเป็นวัฏจักรเศรษฐกิจขาลง ที่ผู้คนใช้จ่ายน้อยลง
สิ่งนี้เป็นวงจรหนี้ระยะสั้นนั่นเอง
และวงจรหนี้ระยะสั้นหลายๆวัฏจักรจะมีเหตุผลต่างๆมากมายเกิดขึ้น
ส่งผลให้เกิดเป็นวงจรหนี้ระยะยาว ซึ่งมีผลที่รุนแรงกว่าวัฏจักรที่ระยะสั้น
ซึ่งจะเป็นผลให้ธนาคารกลางและรัฐบาลเข้ามาควบคุมเพื่อไม่ให้วงจรหนี้ระยะยาวมีความรุนแรงที่มากเกินไปนั่นเอง
โดยธรรมชาติทิศทางของวงจรหนี้ระยะสั้นและระยาวจะเป็นไปตามการเติบโตของกำลังการผลิต (Productivity Growth)
แต่เท่าที่ผ่านมาประวัติศาสตร์ได้ฟ้องว่าวงจรหนี้ระยะยาวนั้นรุนแรงเกินกว่าเกินจะควบคุมได้
สามารถทำความเข้าใจโดยละเอียดได้จากคลิปวิดีโอ
(เป็นอนิเมชั่นการ์ตูน ดูแล้วเข้าใจง่าย)
หากใครไม่เข้าใจภาษาอังกฤษมากนัก
มีซับไทยให้ดูด้วยลิ้งค์นี้
โฆษณา