14 ก.ค. 2022 เวลา 22:36 • สิ่งแวดล้อม
พรรณไม้ : พญาชาฤๅษี
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Paraboea harroviana (Craib) B.L.Burtt
ชื่อเล่น: "ชาคืนชีพ"
ชื่อวงศ์ : ชาฤาษี (Gesneriaceae)
ลักษณะ : ใบจะคล้ายกับหนวดของฤาษีจึงเป็นที่มาของชื่อข้างต้น
ชาฤาษี จะขึ้นตามพื้นที่สูงที่เป็นผาหินปูนเป็นพืชเฉพาะถิ่นพบแค่บางพื้นที่ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติต้นจะขึ้นอยู่ตามผาหินปูน ป่าดงดิบเขาสูงเป็นพืชที่มีอายุสั้นเมื่อออกดอกแล้วจะทิ้งตัวตายทันที
สรรพคุณ : ตัวใบที่นำมาตากแห่งแล้วมาชงรับประทานมีคุณค่าหลายประการเช่น บำรุงธาตุ ช่วยย่อยอาหาร แก้น้ำเหลืองเสีย แก้ไตพิการขับปัสสาวะ ลดความดัน แก้โรคไต
วงศ์ชาฤาษี Gesneriaceae
ในไทย พบว่า มี 16 สกุลจากจำนวน 138 ชนิดที่พบในประเทศไทย คือ สกุล Boea, Calcareoboea, Chirita, Damrongia, Didymocarpus, Epithema, Kaisupeea, Monophylleae, Paraboea, Petrocosmea, Phylloboea, Rhynchoglossum, Rhynchotechum, Stauranthera, Tetraphyllum และ Trisepalum พืชในสกุลเหล่านี้มีการกระจายพันธุ์บริเวณเทือกเขาหินปูนทั้งสิ้น
ข้อมูลและภาพ
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง Umphang Wildlife Sanctuary
ข้อมูลเกี่ยวข้อง
ชาฤษีเขาใหญ่
ป.ล.
เห็นมีสมุนไพรชาฤษีต่าง ๆ ขายออนไลน์กันเยอะเลยนะคะ
โฆษณา