Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Dharma’S Diary
•
ติดตาม
15 ก.ค. 2022 เวลา 05:16 • การศึกษา
ศีลธรรมกับวัฒนธรรม แตกต่างกันยังไง ?
ศีล หมายถึง ความประพฤติดีทางกายและวาจา ที่ต้องรักษาให้เรียบร้อย เป็นข้อปฏิบัติสำหรับควบคุมให้ตั้งอยู่ในความดีงาม "ศีล" นั้นแปลว่า "ปกติ" คือสิ่งหรือกติกาที่บุคคลจะต้องระวังรักษาตามเพศและฐานะ
"วัฒนธรรม" มาจากคำว่า วัฒนะ หรือ "วัฒน" หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง
และ "ธรรมะ" หรือ ธรรม หมายถึง กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ
"วัฒนธรรม" หมายถึง วิถีชีวิต (WAY OF LIFE) ของมนุษย์ในสังคม และแบบแผนในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุก ๆ อย่างรวมทั้งบรรดาผลงานทั้งมวลที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้น ตลอดจนความคิด ความเชื่อ ค่านิยม และความรู้ต่าง ๆ เป็นต้น
ศีลธรรมกับวัฒนธรรม มีความใกล้เคียงกันมาก เนื่องจากมีพื้นฐานมาจากธรรมะ ในขณะที่ศีล เป็นข้อพึงประพฤติที่มีมาแต่สมัยพุทธกาล
ศีลต่างจากวัฒนธรรมตรงที่ มีกำหนดข้อพึงกระทำไว้อย่างชัดเจน ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล สามารถนำมาปรับใช้ได้ในทุกวาระ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง หรือบิดพริ้วตามกาลเวลา
โดยมีข้อกำหนดดังนี้
1.
ศีล 5 สำหรับบุคคลทั่วไป
2.
ศีล 8 สำหรับผู้ต้องการฝึกตนให้สูงขึ้น ในเพศฆราวาส
3.
ศีล 10 สำหรับสามเณร
4.
ศีล 227 สำหรับภิกษุสงฆ์
5.
ศีล 311 สำหรับภิกษุณี
วัฒนธรรมต่างจากศีลตรงที่ เป็นกฎเกณฑ์ของสังคมที่ควรปฏิบัติ เพื่อให้สังคมเป็นระเบียบ อยู่ร่วมกับคนหมู่มากได้อย่างเป็นสุข ปรับเปลี่ยนตามยุคสมัย โดยตกลงร่วมกัน ถ้าหากไม่ปฏิบัติตาม อาจโดนมองแรงจากผู้คนรอบข้าง ให้รู้สึกอับอาย แต่ไม่มีความผิดร้ายแรง จนต้องถูกจองจำในตาราง เหมือนเวลาที่ประพฤติผิดอาญาแผ่นดิน
ในแต่ละท้องถิ่น แต่ละประเทศ มักมีข้อบังคับที่ต่างกันออกไป ตามความเหมาะสม และเห็นควรของคนในพื้นที่นั้น ๆ
ที่มา :
https://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/culture/01.html
http://larnbuddhism.com/grammathan/siil5.html
ความคิดเห็น
พุทธศาสนา
ธรรมะ
บันทึก
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย