18 ก.ค. 2022 เวลา 09:55 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา บริหารทรัพย์สินครอบครัวอย่างไร ให้อยู่รอดถึงรุ่นทายาท
KBank Private Banking x ลงทุนแมน
การสร้างความมั่งคั่งให้กับครอบครัวในยุคนี้ ไม่ใช่เรื่องง่าย
แต่เชื่อหรือไม่ว่า การรักษา สืบทอด และส่งต่อความมั่งคั่งให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน กลับเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่า
1
อะไรคือ สาเหตุของความล้มเหลวในการบริหารทรัพย์สินครอบครัว ?
แล้วทำไมครอบครัวที่มีทรัพย์สินและธุรกิจมากมาย จึงมีปัญหาความขัดแย้ง ในบางครั้งรุนแรงจนถึงขั้นเกิดความสูญเสีย ?
หลายคนคงเคยได้ยินข่าวว่าหลากหลายครอบครัวเศรษฐีตระกูลดังในประเทศไทย
มีปัญหาแย่งชิงมรดกของคนในตระกูล ปัญหาธุรกิจครอบครัวที่แบ่งกันไม่ลงตัว รวมไปถึงปมศึกสายเลือดต่าง ๆ
และมักจะลงเอยด้วยความขัดแย้งจนเกิดความแตกแยกของคนในครอบครัว ความล่มสลายของธุรกิจครอบครัว ไปจนถึงความสูญเสีย ซึ่งอาจเลยเถิดรุนแรงกลายเป็นคดีฆาตกรรม
โดยสาเหตุหลัก ๆ ที่ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์ในลักษณะนี้
มักจะเกิดขึ้นในครอบครัวที่มีทรัพย์สินมาก ๆ แต่ขาดการบริหารจัดการทรัพย์สิน ขาดการวางแผนสืบทอดและส่งต่อให้กับทายาทรุ่นต่อไปที่ชัดเจน
ส่งผลให้ทายาทไม่เข้าใจสิทธิและหน้าที่ จนนำไปสู่ความขัดแย้งต่าง ๆ ภายในครอบครัว
ขณะเดียวกัน เมื่อถึงเวลาวางแผนส่งต่อทรัพย์สินและธุรกิจให้กับคนรุ่นต่อไป
ผู้นำครอบครัวเอง ก็อาจจะเกิดความลังเล เพราะทัศนคติต่อความสามารถของทายาท, ความกังวลต่อเสียงติฉินนินทาว่าแบ่งสมบัติอย่างไม่ยุติธรรม รวมถึงความไม่เชื่อมั่นในความสามารถตนเองของทายาท
รู้หรือไม่ว่า จากผลการสำรวจธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ประจำปี 2564 จาก PwC Thailand
พบว่า 90% ของธุรกิจครอบครัวไทย ยอมรับว่า มีความขัดแย้งในธุรกิจ
แต่ก็มีเพียง 11% เท่านั้น ที่เตรียมแผนการสืบทอดธุรกิจเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างชัดเจน
ซึ่งน้อยกว่า ค่าเฉลี่ยของธุรกิจครอบครัวทั่วโลก ที่มีสัดส่วนเฉลี่ย 30%
คำถามก็คือ แล้วครอบครัวที่มีขนาดทรัพย์สินมาก ๆ จะสร้างความยั่งยืนให้กับทรัพย์สินครอบครัวในระยะยาว และส่งต่อทรัพย์สินให้กับทายาทอย่างราบรื่นได้อย่างไร ?
คำตอบคือ เริ่มต้นบริหารจัดการ และวางแผนทรัพย์สินครอบครัวอย่างชัดเจนและเป็นระบบ ที่ยิ่งเริ่มต้นเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี
เพราะหากรอให้เกิดความขัดแย้งหรือสูญเสียก่อนแล้วจึงค่อยกลับมาจัดการ ก็อาจจะสายเกินไปแล้ว
โดยใช้เครื่องมือ Family Wealth Planning Service ของ KBank Private Banking
ที่มีบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น
1. การวางแผนความต่อเนื่อง และกติกาของครอบครัว (Family Continuity Planning)
กำหนดหลักเกณฑ์ กติกา หรือธรรมนูญครอบครัว เพื่อให้ครอบครัวสามารถรักษาธุรกิจ ตลอดจนทรัพย์สินอื่น ๆ จากรุ่นสู่รุ่น และเติบโตได้อย่างยั่งยืน
2. การวางแผนการบริหารความเสี่ยงของครอบครัว (Financial Asset, Liability and Risk Management)
กำหนด และประเมินความเสี่ยงของครอบครัว
เช่น หนี้สินในอนาคต เพื่อจัดทำแผนการบริหารความเสี่ยง
3. การวางแผนโครงสร้างการถือครองทรัพย์สิน (Asset Holding Structures)
วางแผนการถือครองทรัพย์สินให้สอดคล้องกับกติกา และโจทย์ของครอบครัว
เช่น การจัดทรัพย์สินในรูปของบริษัทโฮลดิ้ง
4. การวางแผนการสืบทอดกิจการและทรัพย์สิน (Inheritance and Wealth Transfer)
วางแผนการส่งต่อทรัพย์สินและกิจการ รวมถึงการวางแผนมรดก และวางแผนเรื่องภาษีที่เกี่ยวข้อง
เพื่อลดความขัดแย้งในครอบครัว ทำให้สามารถส่งต่อสินทรัพย์ และธุรกิจครอบครัวได้อย่างราบรื่น
ทั้งหมดนี้ นอกจากจะช่วยรักษาความมั่งคั่งของครอบครัวได้อย่างยั่งยืน
ยังช่วยให้การสืบทอดทรัพย์สินไปสู่ทายาทนั้นราบรื่น และรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวได้ในระยะยาว อีกด้วย
รู้หรือไม่ว่า KBank Private Banking มีบริการที่ปรึกษาด้านการบริหารทรัพย์สินครอบครัวมากว่า 6 ปี
โดยให้บริการลูกค้ามาแล้วกว่า 3,600 ราย หรือ 720 ครอบครัว
ครอบคลุมทรัพย์สินครอบครัว ทั้งธุรกิจและที่ดิน รวมมูลค่ากว่า 120,000 ล้านบาท
ที่น่าสนใจก็คือ KBank Private Banking ยังมีองค์ความรู้จาก Lombard Odier ไพรเวทแบงก์ระดับโลกจากสวิตเซอร์แลนด์
พันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านธุรกิจครอบครัว เป็นธุรกิจครอบครัวที่ดำเนินงานมานานถึง 225 ปี ส่งต่อกันมาถึง 7 รุ่น
จึงไม่น่าแปลกใจ ที่ปัจจุบันนี้ KBank Private Banking จะมีบริการที่ช่วยบริหารสินทรัพย์ครอบครัวได้อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็น
- การเก็บรักษา หรือ Wealth Preservation
- การสร้างความเติบโต หรือ Wealth Growth
- การส่งต่อ หรือ Wealth Transfer
ซึ่งคำแนะนำของ KBank Private Banking ที่จะช่วยในการเริ่มต้นบริหารจัดการทรัพย์สินครอบครัว ภายใน 5 ขั้นตอน คือ
1. ทำบัญชีทรัพย์สินที่ถือครอง
ไม่ว่าจะเป็น ธุรกิจครอบครัว ที่ดิน พอร์ตการลงทุน เงินฝาก รวมถึงทรัพย์สิน และของสะสมอื่น ๆ
2. กำหนดโจทย์ หรือเป้าหมายของครอบครัว
โดยเริ่มต้นจากการวางกติกาของครอบครัว เพื่อให้สมาชิกในครอบครัวเข้าใจสิทธิ หน้าที่ และความยุติธรรมในการจัดสรรทรัพย์สิน
รวมทั้งการจัดการระบบกงสี และสร้างความปรองดองภายในครอบครัว
3. บริหารจัดการให้เป็นระบบธุรกิจ
โดยลดการบริหารงานแบบครอบครัว และจัดโครงสร้างการถือครองทรัพย์สินโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ
เช่น บริษัทโฮลดิ้ง หรือทรัสต์ในต่างประเทศ เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่วางไว้
4. การวางแผนการส่งต่อ
สิ่งสำคัญคือ ต้องให้ทายาทรุ่นต่อไปมีส่วนร่วม เพื่อการส่งต่อความมั่งคั่งอย่างราบรื่น
5. การบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอื่น ๆ
เช่น การวางแผนภาษี, การจัดการระบบบัญชี, การรักษาความสัมพันธ์ภายในครอบครัว หรือกฎหมายด้านการจัดการทรัพย์สิน
สุดท้ายแล้ว คงไม่มีใครอยากเห็น ทรัพย์สินครอบครัวของตัวเองต้องมลายหายไป
หรือกลายเป็นตระกูลที่เคยมีขนาดทรัพย์สินมาก ๆ แต่กลับเจอเหตุการณ์ลูกหลานทะเลาะเบาะแว้งเพื่อแย่งชิงทรัพย์สมบัติกันเอง
ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ จึงไม่ใช่การฝากความหวังไว้กับทายาทรุ่นต่อไป..
แต่ควรเป็นการเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันนี้ เพื่อวางแผนสำหรับการบริหารทรัพย์สินครอบครัวได้อย่างชัดเจน
แม้เรื่องนี้อาจจะดูไม่ง่าย แต่อย่างน้อยก็ยังอุ่นใจได้
หากมีผู้เชี่ยวชาญอย่าง KBank Private Banking ที่มีบริการ Family Wealth Planning Service มาคอยดูแล..
สนใจข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ
KBank Private Banking Contact Center โทร. 02-888-8811
โฆษณา