Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
MarketThink
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
15 ก.ค. 2022 เวลา 12:00 • การตลาด
ทำอย่างไร ให้ลูกค้านึกถึงแบรนด์ของเรา เป็นตัวเลือกแรก ๆ ด้วยกลยุทธ์การ “เชื่อมโยง”
5
ถ้าพูดถึงแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้า หลายคนคงนึกถึง Tesla
ถ้าพูดถึงแบรนด์รองเท้ากีฬา คนส่วนใหญ่คงนึกถึง Nike
ถ้าพูดถึงค่ายหนังแอนิเมชัน คนจำนวนไม่น้อยจะนึกถึง Disney
4
สาเหตุที่เวลาเรานึกถึงสินค้าหรือบริการ แล้วทำให้จำได้ทันทีว่า ต้องเป็นแบรนด์อะไร หรือเกี่ยวข้องกับแบรนด์อะไรบ้างนั้น
เกิดจาก “การเชื่อมโยงตราสินค้า” หรือ “Brand Association”
1
อธิบายง่าย ๆ ก็คือ การที่แบรนด์พยายามเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เช่น คุณลักษณะ, คุณสมบัติ หรือคุณประโยชน์ (โดยไม่จำเป็นต้องเป็นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง) เข้ากับความรู้สึก และความทรงจำของผู้บริโภค
ซึ่งข้อดีของกลยุทธ์นี้ อย่างแรกก็คือ ทำให้ผู้บริโภคจดจำแบรนด์ได้
และยิ่งถ้าแบรนด์มีจุดเด่นที่แตกต่างจากแบรนด์คู่แข่ง ก็จะยิ่งส่งผลให้แบรนด์โดดเด่น จนทำให้ผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์ของเราเป็นตัวเลือกแรก ๆ และตัดสินใจซื้อสินค้าได้ง่ายขึ้น รวมถึงเกิดความภักดีต่อแบรนด์ (Brand Loyalty) ด้วย
3
หรือในกรณีที่แบรนด์มีการเชื่อมโยงบางสิ่งบางอย่าง แล้วสร้างการรับรู้เชิงบวกให้กับผู้บริโภค
ก็จะทำให้ผู้บริโภคเกิดทัศนคติ หรือความรู้สึกที่ดีต่อแบรนด์ได้
3
สุดท้ายเมื่อผู้บริโภคนึกถึงแบรนด์ของเราเป็นตัวเลือกแรก ๆ ก็หมายความว่า แบรนด์ของเราได้รับการยอมรับจากผู้บริโภค ซึ่งก็จะเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน ทำให้เราสามารถขยายสินค้าใหม่ ๆ ภายใต้แบรนด์เดิมได้ง่ายขึ้น
1
แล้วถ้าแบรนด์อยากใช้กลยุทธ์ “เชื่อมโยงตราสินค้า” สามารถเชื่อมโยงกับอะไรได้บ้าง ?
1
1. เชื่อมโยงกับคุณสมบัติ
2
หนึ่งในการเชื่อมโยงที่ถูกใช้บ่อยที่สุดก็คือ การเชื่อมโยงกับ “ลักษณะเด่น” ของแบรนด์หรือสินค้า ที่แตกต่างและโดดเด่นกว่าแบรนด์คู่แข่ง
โดยสามารถเชื่อมโยงได้ทั้งคุณสมบัติภายนอก เช่น เป็นแบรนด์ที่เน้นความเรียบง่าย, เป็นแบรนด์ที่เน้นสินค้าราคาถูก แต่คุณภาพดี, เป็นแบรนด์ที่มีอยู่ทุกที่ เข้าถึงได้ง่าย
และเชื่อมโยงกับคุณสมบัติภายใน เช่น เป็นแบรนด์ที่เน้นผลิตภัณฑ์ ที่มีส่วนผสมของธรรมชาติ หรือออร์แกนิก, เป็นแบรนด์ที่มีการผลิตอย่างพิถีพิถันและใส่ใจ, เป็นแบรนด์ที่เน้นใช้นวัตกรรมใหม่ ๆ ในการผลิต
ซึ่งการเชื่อมโยงกับคุณสมบัตินี้ หลายแบรนด์ก็เลือกที่จะสร้างการรับรู้ให้กับผู้บริโภคผ่าน “สโลแกน” เช่น
- ฟาร์มเฮ้าส์ กับสโลแกน หอมกรุ่นจากเตาทุกวัน
- โป๊ยเซียน กับสโลแกน ใช้ดม ใช้ทา ในหลอดเดียวกัน
- TOTO กับสโลแกน ไร้รอยต่อ ทอเต็มผืน หลับเต็มตื่น ด้วยชุดเครื่องนอนโตโต้
3
ส่วนอีกกรณี คือแบรนด์ที่ไม่ได้เชื่อมโยงคุณสมบัติผ่านสโลแกน แต่ก็โดดเด่น จนผู้บริโภครับรู้ และจดจำได้เอง เช่น
1
ถ้าให้นึกถึงร้านค้าจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน
หลาย ๆ คนคงมีหลายคำตอบอยู่ในใจ เช่น Index Living Mall, SB Furniture หรือ HomePro
1
แต่ถ้าให้นึกถึงร้านค้าจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ที่ให้ลูกค้านำกลับไปประกอบเอง
แน่นอนว่า ทุกคนก็ต้องนึกถึง IKEA แบรนด์เฟอร์นิเจอร์สัญชาติสวีเดนอย่างแน่นอน
1
ซึ่งโมเดลธุรกิจนี้ของ IKEA เรียกว่าประสบความสำเร็จอย่างมาก
เพราะนอกจาก IKEA จะประหยัดต้นทุนในการผลิต เช่น ลดพื้นที่ในการจัดเก็บสินค้า, ลดต้นทุนค่าขนส่งขนาดใหญ่
ยังเกิดเป็นทฤษฎี “IKEA Effect” ที่เชื่อว่า หากคนเราได้ลงแรงทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จด้วยตัวเอง เช่น การประกอบเฟอร์นิเจอร์เอง
จะทำให้คนคนนั้นรู้สึกดีกับสินค้ามากกว่า และกลายเป็นโมเดลธุรกิจที่หลาย ๆ บริษัทหันมาใช้กันมากขึ้น
2. เชื่อมโยงกับประโยชน์ที่จะได้รับ
1
เป็นการนำประโยชน์ที่ลูกค้าจะได้รับจากการบริโภค หรือใช้ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ มาเชื่อมโยง
ซึ่งสามารถเชื่อมโยงได้ทั้งประโยชน์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ทางกายภาพ เช่น
- Head & Shoulders ผลิตภัณฑ์ดูแลเส้นผม ที่ช่วยขจัดรังแค และปกป้องหนังศีรษะ
- Dettol ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ที่ช่วยกำจัดเชื้อโรค
- ผลิตภัณฑ์ยา เช่น ซาร่า, ทิฟฟี่ บรรเทาอาการปวดศีรษะ และลดไข้
นอกจากนี้ ก็สามารถเชื่อมโยงกับประโยชน์ที่เกิดขึ้นทางจิตใจได้ เช่น
- สินค้าแบรนด์หรูต่าง ๆ ที่ใช้แล้วแสดงถึงสถานะทางสังคม และรสนิยม
- คอนโดมิเนียม และบ้านที่อยู่แล้วส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้อยู่อาศัย และตอบสนองไลฟ์สไตล์ในการดำเนินชีวิต
3. เชื่อมโยงกับทัศนคติ
1
เป็นการเชื่อมโยงแบรนด์ด้วยทัศนคติ บางครั้งก็ทำให้แบรนด์ได้รับการยอมรับ และเลือกใช้จากผู้บริโภค มากกว่าการเชื่อมโยงด้วยคุณสมบัติ หรือประโยชน์ที่ได้รับ
ตัวอย่างแบรนด์ที่มีความโดดเด่นในเรื่องนี้ เช่น Dove ที่สาว ๆ ทุกคนรู้จักกันดีว่าเป็นแบรนด์ยาสระผม
แต่ก็อาจจะมีใครหลาย ๆ คนสามารถเชื่อมโยงได้เหมือนกันว่า
นี่คือแบรนด์ยาสระผมที่มีจุดยืนชัดเจน โดยเชื่อว่า “ผู้หญิงทุกคนสามารถสวยได้ในแบบของตัวเอง”
1
โดยที่ผ่านมา Dove เคยให้คำมั่นสัญญาไว้ 3 ข้อ คือ
- Dove จะนำเสนอภาพผู้หญิงที่มีตัวตนจริง ไม่ใช้นางแบบ ในการทำแคมเปญต่าง ๆ
- Dove จะไม่นำเสนอรูปภาพที่ถูกปรับแต่งให้สมบูรณ์แบบ ไร้ที่ติ แต่ไม่เป็นความจริง
- Dove จะช่วยให้เด็กผู้หญิงมั่นใจในรูปร่างหน้าตา และมีความภูมิใจในตัวเอง
หรืออย่างโฆษณาล่าสุด ที่ Dove ทุ่มซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์หน้า 1 เพื่อเป็นกระบอกเสียงให้กับการรณรงค์ “หยุดกฎบังคับตัดผมในโรงเรียน”
ถึงแม้ว่าบนปกหนังสือพิมพ์หน้า 1 นั้น จะไม่ได้พูดถึงผลิตภัณฑ์ หรือแบรนด์เลยแม้แต่นิดเดียว
แต่ก็ทำให้ผู้บริโภคเห็น “ทัศนคติ” ของแบรนด์
ช่วยให้แบรนด์มีภาพลักษณ์ที่ดี และเข้าไปนั่งอยู่ในใจของลูกค้าได้อย่างง่ายดาย
4. เชื่อมโยงกับบุคคลที่มีชื่อเสียง
1
การมีดารา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง มาเป็นพรีเซนเตอร์ หรือแบรนด์แอมบาสเดอร์
เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ช่วยให้ผู้บริโภครู้จัก จดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น และบางครั้งอาจถึงขั้นช่วยเพิ่มยอดขายให้แบรนด์ได้ ในกรณีที่พรีเซนเตอร์ หรือแบรนด์แอมบาสเดอร์ มีผู้ติดตามและแฟนคลับคอยสนับสนุน
1
นอกจากนี้ พรีเซนเตอร์ หรือแบรนด์แอมบาสเดอร์ ยังช่วยสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้อีกด้วย เช่น
เลือกใช้พรีเซนเตอร์ที่เป็นคนรุ่นใหม่ เพื่อสะท้อนว่าเป็นแบรนด์ที่ทันสมัย
หรือเลือกใช้พรีเซนเตอร์ที่เป็น AI เพื่อสะท้อนถึงการเป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีต่าง ๆ
1
ยกตัวอย่างเช่น AIS เรียกได้ว่าเป็น “เจ้าแห่งพรีเซนเตอร์”
1
เมื่อไม่นานมานี้ เพิ่งเปิดตัวพรีเซนเตอร์ภายใต้ชื่อ “TEAMAIS5G” กว่า 20 คน
เช่น แบมแบม GOT7, วิน-เมธวิน, แอลลี่-อชิรญา, บิวกิ้น-พุฒิพงศ์, พีพี-กฤษฏ์, TRINITY และ 4EVE
หวังดึงกลุ่มคน New Gen ที่มีอายุระหว่าง 12-24 ปี มาเป็นลูกค้ามากขึ้น
2
อย่างไรก็ดี การเชื่อมโยงกับบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อทำให้ผู้บริโภคนึกถึงเสมอ ๆ
บางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องจ้างดารา หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง
เพราะยังมีอีกกลยุทธ์อย่าง CEO Marketing ก็คือ การที่ CEO เอาตัวเองเข้าไปทำการตลาดคู่กับแบรนด์
อย่างกรณีที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ เพียงพูดชื่อ “อีลอน มัสก์”
หลายคนก็นึกถึงธุรกิจของเขา อย่าง Tesla และ SpaceX ออกทันที
หรือหากเอ่ยชื่อ ท๊อป-จิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา แบรนด์ Bitkub ก็คงลอยขึ้นมาทันที..
1
5. เชื่อมโยงกับความสนใจ
1
การเชื่อมโยงแบรนด์เข้ากับความสนใจของผู้บริโภค
บางครั้งอาจจะคล้าย ๆ กับการเชื่อมโยงด้วยประโยชน์ หรือบุคคลที่มีชื่อเสียง
แต่ความแตกต่างของการเชื่อมโยงกับความสนใจ ก็คือ ต้องทำการศึกษาก่อนว่า ผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายของแบรนด์ มีความสนใจในเรื่องใด แล้วจึงนำเสนอเรื่องนั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น Mazda ค่ายรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่น ที่มักจะนำเสนอโปรโมชันดอกเบี้ย 0%
ถ้าลองวิเคราะห์ว่า ทำไมต้องเป็นโปรโมชันนี้ ?
ก็เพราะว่า Mazda เป็นหนึ่งในค่ายรถยนต์ที่กลุ่มคนรุ่นใหม่ ซึ่งรวมถึง First Jobber เลือกซื้อ
และแน่นอนว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่นี้ อาจจะยังมีฐานเงินเดือนที่ไม่ได้สูงมาก
ดังนั้นโปรโมชันดอกเบี้ย 0% จึงเป็นโปรโมชันที่คนกลุ่มนี้ให้ความสนใจนั่นเอง
นอกจากการเชื่อมโยงกับสิ่งต่าง ๆ ทั้งหมดที่กล่าวมาแล้ว
ทั้งเชื่อมโยงกับคุณสมบัติ, ประโยชน์, ทัศนคติ, บุคคลที่มีชื่อเสียง และความสนใจ
ก็ยังมีการเชื่อมโยงกับสิ่งอื่น ๆ อีก เช่น
- เชื่อมโยงกับบุคลิกภาพของแบรนด์ เช่น บอกว่าเป็นเครื่องดื่มสำหรับคนรุ่นใหม่
- เชื่อมโยงกับเมือง หรือประเทศ ที่ขึ้นชื่อในเรื่องนั้น ๆ เช่น นมจากฮอกไกโด หรือเบียร์จากเยอรมนี
ซึ่งทั้งหมดนี้ ก็สามารถสรุปได้ว่า ถ้าอยากให้ลูกค้านึกถึงแบรนด์ของเราเป็นตัวเลือกแรก ๆ
วิธีการง่าย ๆ ก็คือ การสร้าง “ความเชื่อมโยง” ด้วยการดึงจุดเด่นอะไรสักอย่างของแบรนด์ หรือของผลิตภัณฑ์ออกมา
แล้วสื่อสารจุดเด่นนั้น ๆ ออกไป เพื่อให้ผู้บริโภครับรู้ และจดจำได้นั่นเอง..
1.
https://www.popticles.com/branding/types-of-brand-association/
2.
https://www.marketing91.com/brand-association/
3.
http://www.ditp.go.th/contents_attach/78333/78333.pdf
4.
https://www.dove.com/th
5.
https://positioningmag.com/1387891
198 บันทึก
55
4
176
198
55
4
176
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย