15 ก.ค. 2022 เวลา 14:50 • ไลฟ์สไตล์
เก็บชารอบที่3 ในปี2565 @จังหวัดตรัง
ปีนี้ฝนมาไว และพายุมาเยอะ เป็นพิเศษ แน่นอนว่าส่งผลต่อพืชผลต่างๆอย่างมาก ผลไม้หลายชนิดเสียหาย ผักหลายอย่างไม่ได้ผลผลิตตามที่ต้องการ และแน่นอนว่า ภาคใต้อย่างเราที่เด่นเรื่องปริมาณน้ำฝนอยู่แล้ว ก็ไม่น้อยหน้าภาคไหนเช่นเดียวกัน
.
ตอนที่เก็บชารอบที่2 ของปีนี้ จำได้ว่า มีฝนลงก่อนวันเก็บ แต่ถือว่าโชคดีที่เช้าในวันที่เก็บใบชา มีแดดให้ได้ชื่นใจบ้าง
.
มาถึงรอบที่3 กำหนดเก็บชา(ฤกษ์สะดวก) ในวันที่ 11 กรกฎาคม ถือเอาวันจันทร์เป็นมงคล 5555 เปล่าหรอกนะ เป็นเพราะว่าเป็นวันที่เจ้าหน้าที่ที่ต้องลงเก็บให้เรานั้น พอจะมีเวลาว่างพอดี แต่ครั้งนี้ มีเจ้าหน้าที่เก็บน้อยคน เพราะที่เหลือมีคิวไปขุดหลุมปลูกหมาก
.
แต่ด้วยฤกษ์ดี ไม่มีฝน และแดดไม่จัดจนเกินไป จึงทำให้ได้ใบชาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานของชาภาคใต้ อย่างเมืองตรัง และที่สำคัญคือ ใบชาในช่วงนี้ อ่อนกำลังดี ใครที่ได้ดื่ม 3rd flush คราวนี้ถือว่า ได้ยอดชาที่เอ๊าะ ขบเผาะ เลยล่ะ
.
ครั้งนี้ ได้ใบชามาแค่ 5.5 กิโลกรัมเท่านั้นเอง และในครั้งนี้ เราวางแผนไว้ว่า จะทำเป็นชาแดงทั้งหมด เนื่องจากว่าสต็อคชาแดงที่มาจากชาตรัง กำลังจะหมดแล้วดังนั้นในรอบที่3 ของการเก็บเกี่ยวจึงวางแผนทำชาแดง และในรอบที่3 นี้ อาจจะมี 3/1 3/2 เนื่องจาก ยังคงมียอดชาเหลือในโควตาของเราอีกสักหน่อย
.
เมื่อพูดถึงชาในภาคใต้ โดยยกตัวอย่างชาในจังหวัดตรัง ก็ทำให้เรานึกไปถึง คำพูดของแต่ละคน ซึ่งก็น่าคิด มากกว่า 80% มักจะทักเสมอว่า ชาภาคใต้จะปลูกได้เหรอ แล้วจะกินได้หรือเปล่า
.
บอกเลยว่า คนที่เคยดื่มชาตรัง จะรู้คำตอบอย่างดี และสามารถตอบคำถามนี้ แทนข้าพเจ้าได้อย่างดี
.
ในตอนนี้ เบื้องต้นถ้าวัดจากสัมผัสที่ได้จากกการดื่มชาตรัง อาจจะสรุปได้ว่า ในพื้นที่ปลูกของศูนย์วิจัยฯ ได้ใบชาที่มีความ “มัน” อันโดดเด่น เป็นพิเศษ ไม่ว่าจะนำใบชานั้นมา process เป็นชาชนิดใด ความมัน นั้นก็เด่นชัด แบบ สัมผัสได้
.
ส่วนในเรื่องของกลิ่น และ รส อื่นๆ คงต้องอาศัยระยะเวลา ให้ต้นชาได้บ่มเพาะตัวเองอีกนิด เรายังมีเวลาอีก 2 ปี ก่อนที่ผลการวิจัยน่าจะสำเร็จ ออกมาเป็น “พันธุ์ชาตรัง1” ดังนั้นในระหว่างนี้ ก็พยายามที่จะทำใบชาให้ออกมาเป็นชาประเภทต่างๆให้สุดฝีมือ สุดความสามารถ และค่อยๆ พัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ เท่าที่จะทำได้ไปก่อน แล้วรอเวลาที่จะหาจุดเด่น อันเป็นเฉพาะของสายพันธุ์ตรังอีกครั้งนึง เมื่อเวลานั้นมาถึง
.
ดังนั้นการเก็บชาในแต่ละรอบ ไม่ได้มุ่งหวังเพียงแค่ได้ใบชา มาผลิตทำเป็นชาชัมบาลา ที เท่านั้น แต่เราพยายามที่จะสังเกต และหาความแตกต่างของแต่ละฤดูกาล ที่ส่งผลต่อชาในจังหวัดตรังของเรา เพื่อที่จะได้แนวทางในเบื้องต้น เตรียมไว้ ถ้าหากวันนึง “ชา” จะได้กลายเป็น ของฝากประจำจังหวัดตรัง อีกหนึ่งอย่างจริงๆ
.
ด้วยความรักที่มากพอ ด้วยความพยายามที่มากพอ ด้วยการสนับสนุนที่มากพอ น่าจะทำให้ความฝันของคนคนนึง เดินไปไกลได้มากพอ
.
คงต้องฝากให้ทุกๆคนที่อ่าน ช่วยส่งแรงใจ และช่วยแนะนำสนับสนุน ชาตรัง ชาภาคใต้ ซึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของชาในประเทศไทย ด้วยนะคะ อย่างน้อย การสนับสนุนของแต่ละคนก็เป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยม ที่จะผลักดันให้เราสามารถค่อยๆก้าวไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง และถูกทาง
.
ฝาก ด้วย นะ คะ
#ชาตรัง #ชาชัมบาลา #ชัมบาลาทีรูม #shambhalatea #shambhalatearoom #Trangtea
โฆษณา