18 ก.ค. 2022 เวลา 02:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สหรัฐอเมริกา เสียบแทนรัสเซีย ขายพลังงาน ให้ยุโรป
10
หลายคนคงรู้ว่า รัสเซีย มีความสำคัญด้านพลังงานต่อทวีปยุโรปอย่างมาก
โดยเฉพาะ “แก๊สธรรมชาติ” ที่นำเข้าจากรัสเซีย
คิดเป็นสัดส่วน 40% ของความต้องการใช้แก๊สธรรมชาติในยุโรป
1
อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ยุโรปคว่ำบาตรเศรษฐกิจรัสเซีย ซึ่งรวมถึงการนำเข้าพลังงาน แม้อาจไม่สามารถทำได้ทั้งหมดโดยทันที แต่ก็ได้เริ่มทยอยลดการพึ่งพาจากรัสเซียลงแล้ว
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ยุโรปก็ต้องไปหาซื้อพลังงานจากแหล่งอื่นแทน
ซึ่งหนึ่งในผู้ที่ได้ประโยชน์อาจเป็น “สหรัฐอเมริกา”..
2
เรื่องนี้ มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
แก๊สธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงฟอสซิลที่อยู่ในสถานะแก๊ส ทำให้ส่วนใหญ่ จึงใช้วิธีการขนส่งผ่านทางท่อส่งแก๊ส จากแหล่งผลิตไปยังลูกค้า เช่น โรงไฟฟ้า หรือโรงงานอุตสาหกรรม
1
แต่ถ้าระยะทางห่างไกลมาก จนการขนส่งทางท่อไม่คุ้มทุน หรือดำเนินการไม่ได้ ก็จะมีทางเลือกในการนำเอาแก๊สธรรมชาติ ไปแปรสภาพเป็นของเหลวเพื่อขนส่งทางเรือ ก่อนจะเปลี่ยนกลับมาเป็นแก๊สอีกครั้งเมื่อถึงที่หมาย โดยเราจะเรียกแก๊สธรรมชาติประเภทนี้ว่า Liquefied Natural Gas หรือ “LNG”
1
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบแหล่งแก๊สธรรมชาติใหม่ในชั้นหินดินดาน หรือ Shale Gas ปริมาณมาก และมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการขุดเจาะ รวมทั้งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ มากมาย
3
จึงทำให้สามารถแปรสภาพ Shale Gas เป็น LNG มาขายในเชิงพาณิชย์ได้สำเร็จ
จนก้าวขึ้นเป็นผู้ผลิตและส่งออก LNG รายใหญ่อันดับต้น ๆ ของโลก
3
ประเทศที่ส่งออกแก๊ส LNG มากที่สุด ในปี 2021
อันดับ 1 คือ ออสเตรเลีย อยู่ที่ 108,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
อันดับ 2 คือ กาตาร์ อยู่ที่ 106,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
อันดับ 3 คือ สหรัฐอเมริกา อยู่ที่ 95,000 ล้านลูกบาศก์เมตร
6
ในปี 2022 นี้ อุตสาหกรรม LNG ของสหรัฐอเมริกา ยังมีแผนขยายกำลังการผลิตและทำสัญญาซื้อขายต่อเนื่อง
3
ทำให้คาดการณ์ว่าจะสามารถส่งออก LNG ได้สูงถึง 115,000 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 22% ของความต้องการใช้ LNG ทั่วโลก แซงหน้าเจ้าตลาดเดิมอย่าง ออสเตรเลียและกาตาร์
2
ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อชาติยุโรปที่เป็นพันธมิตรสำคัญ ต้องการหาคนขายแก๊สธรรมชาติแทนรัสเซีย แก๊ส LNG ของสหรัฐอเมริกา จึงเป็นคำตอบที่เหมาะเจาะพอดี
ปีที่แล้ว ยุโรปนำเข้าแก๊สธรรมชาติจากรัสเซียถึง 155,000 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่จากกรณีที่รัสเซียรุกรานยูเครน ทำให้ยุโรปมีแผนที่จะลดการนำเข้าแก๊สธรรมชาติจากรัสเซีย ให้ได้ราว 2 ใน 3 ภายในสิ้นปีนี้
5
และต้องบอกว่า ทางฝั่งรัสเซียเอง ก็ใช้ทรัพยากรพลังงานเป็นเครื่องมือกดดันยุโรปอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็น การบังคับให้ชำระเงินเป็นสกุลรูเบิล หรือแม้กระทั่งลดปริมาณการส่งแก๊สธรรมชาติจากท่อนอร์ดสตรีม 1 ซึ่งมีกำลังการจ่ายแก๊สได้ 55,000 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อปี ลงถึง 60% โดยอ้างว่าแผนซ่อมบำรุงเกิดเหตุล่าช้า
 
จึงทำให้ยุโรป ต้องหันไปจัดหาพลังงานจากแหล่งอื่น ซึ่งหนีไม่พ้น LNG จากสหรัฐอเมริกา
8
โดยในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ สหรัฐอเมริกา ขาย LNG ให้ลูกค้าในยุโรป
คิดเป็นสัดส่วน 75% ของการส่งออก LNG ทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดิมที่อยู่ราว 25% เท่านั้น
2
นอกจากนั้น สหรัฐอเมริกา ยังทำข้อตกลงที่จะขาย LNG ให้ยุโรป เพิ่มอีก 15,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2022 และตั้งเป้าหมายที่จะขายเพิ่ม รวมเป็น 50,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ภายในปี 2030 ซึ่งจะสามารถทดแทนส่วนที่เคยนำเข้าจากรัสเซีย ได้ราว 1 ใน 3 เลยทีเดียว
5
รวมทั้งยังมีโอกาสที่บริษัท LNG จากสหรัฐอเมริกา จะพยายามขาย LNG เพิ่มมากยิ่งขึ้นกว่านี้อีก
เพราะนอกจากจะเป็นการขยายฐานตลาดใหม่แล้ว ราคาแก๊สธรรมชาติในตลาดยุโรป ยังปรับตัวขึ้นหลายเท่าภายในระยะเวลาไม่กี่ปี และทำจุดสูงสุดในรอบ 12 ปีด้วย
3
หากเรามาดูราคานำเข้าแก๊สธรรมชาติ ในตลาดยุโรป
1
เดือนพฤษภาคม ปี 2020 เฉลี่ยอยู่ที่ 1.57 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู
เดือนพฤษภาคม ปี 2021 เฉลี่ยอยู่ที่ 8.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู
เดือนพฤษภาคม ปี 2022 เฉลี่ยอยู่ที่ 29.85 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู
6
ดังนั้น การมีสัญญาซื้อขายกับลูกค้าที่ค่อนข้างแน่นอน ประกอบกับอุตสาหกรรมเป็นเทรนด์ขาขึ้น จะทำให้บริษัทเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อมาพัฒนาโครงการฐานผลิต LNG มูลค่าหลายแสนล้านบาทได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจเติบโตอย่างรวดเร็ว
1
ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Cheniere Energy ซึ่งเป็นบริษัทอเมริกันเจ้าแรก ที่ส่งออก LNG เมื่อปี 2016 และปัจจุบันกลายเป็นผู้ผลิต LNG ขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
4
ในไตรมาสที่ 1 ปี 2022 บริษัทมีรายได้ 270,000 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 142% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนหน้า
4
อย่างไรก็ตาม ในระยะสั้นนั้น การซื้อขาย LNG ทางเรือ ก็มีข้อจำกัดเช่นกัน เพราะประเทศผู้นำเข้าในยุโรป จะต้องมีสถานีรับและแปรสภาพ LNG ที่เป็นของเหลวให้กลับมาเป็นสถานะแก๊ส เพื่อนำไปใช้ต่อ ให้เพียงพอและสอดคล้องกันด้วย ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้ ใช้เวลาในการลงทุนก่อสร้างนานพอสมควร
2
ส่วนใครที่คิดว่า รัสเซียน่าจะได้รับความเสียหายมหาศาล จากการที่ลูกค้ารายใหญ่เลิกซื้อแก๊สธรรมชาติ ก็อาจไม่เป็นเช่นนั้นเสมอไป
1
เพราะยังมีประเทศอื่นที่ไม่ใช่คู่ขัดแย้ง สนใจรับซื้อทั้งน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจากรัสเซีย ในราคาที่มีส่วนลด เช่น จีนและอินเดีย ซึ่งก็มีความต้องการใช้พลังงานสูงมาก
3
ปิดท้ายเรื่องนี้ด้วยประเด็นที่น่าคิดสำหรับประเทศไทย
ในช่วง 4 เดือนแรกของปี 2022 ประเทศไทยนำเข้า LNG
คิดเป็นสัดส่วน 18% ของปริมาณความต้องการใช้แก๊สธรรมชาติทั้งหมด
1
แต่ในอนาคต ประเทศไทย คงต้องนำเข้าแก๊ส LNG เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปริมาณแก๊สธรรมชาติสำรองในอ่าวไทย ที่ผลิตใช้มาอย่างยาวนาน กำลังมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ
1
ดังนั้น ภาครัฐและบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า LNG มาขายในประเทศได้
คงต้องวางแผนในการบริหารจัดการให้ดี ทั้งในส่วนของปริมาณการนำเข้า และราคาซื้อขาย
เพราะแก๊สธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่ทั่วโลกแย่งชิงกันอย่างดุเดือด จนราคาพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งจะทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีต้นทุนพลังงานสูงขึ้น และส่งผลกระทบมายังค่าไฟฟ้าของประชาชน ในท้ายที่สุด
1
นอกจากนั้น การที่สหรัฐอเมริกาและรัสเซีย เป็นมหาอำนาจในด้านแก๊สธรรมชาติของโลก ก็ทำให้ประเทศไทยอาจมีโอกาสเจรจาซื้อ LNG กับทั้งสองฝ่ายในอนาคต
1
ซึ่งเราคงต้องคอยวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองระดับโลก ควบคู่ไปกับแผนกระจายความเสี่ยงในการซื้อ LNG จากประเทศผู้ผลิต ที่เป็นคู่ขัดแย้งด้วย
1
ประเด็นที่สำคัญของเรื่องนี้ก็คือ หากไทยเลือกซื้อพลังงานจากใครคนใดคนหนึ่งมากกว่า หรือแค่ฝ่ายเดียว ก็ อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอีกฝ่ายหนึ่ง ก็เป็นได้..
3
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
โฆษณา