16 ก.ค. 2022 เวลา 12:15 • ธุรกิจ
วิกฤตเงินเฟ้อในอังกฤษ กำลังทำร้ายธุรกิจขนาดเล็กให้ล้มหายตายจาก
1
เจ้าของรุ่นสามของร้านฟิชแอนด์ชิปส์เก่าแก่ ให้ความเห็นว่าครั้งนี้หนักมาก
1
เครดิตภาพปก: บน - Stratis Michael/Business Insider ล่าง – Getty Images
อย่างที่ทราบกันตอนนี้ในยุโรปประสบปัญหาเรื่องเงินเฟ้อพุ่งสูง โดยเฉพาะในอังกฤษตอนนี้สูงโด่งเลย ข้อมูลล่าสุด ณ พฤษภาคม พ.ศ. 2565 อยู่ที่ 9.0% (พอๆกับอเมริกาที่ล่าสุดแตะ 9.1% แล้ว) กลุ่มอียูรวมกันอยู่ที่ 8.1% ฝรั่งเศส 5.8% เยอรมัน 7.6%
1
[อ้างอิงข้อมูล: https://www.rateinflation.com/inflation-rate/uk-inflation-rate]
เงินเฟ้ออธิบายง่ายๆสั้นๆคือ เงินที่อยู่ในกระเป๋ามันมีค่าน้อยลง เนื่องจากข้าวของต่างๆในชีวิตประจำวันที่ต้องจ่ายซื้อมันมีต้นทุนสูงขึ้น ราคาก็สูงขึ้นด้วย เงินเท่าเดิมซื้อของได้น้อยลง
3
ผมเคยเขียนบทความเกี่ยวกับ #วิกฤตฟิชแอนด์ชิปส์ ในอังกฤษเอาไว้เมื่อก่อนหน้านี้ ซึ่งอธิบายถึงปรากฏการณ์นี้และผลกระทบต่อธุรกิจดังกล่าวเอาไว้ประมาณหนึ่ง ดังนั้นผมจะไม่เล่าซ้ำในบทความนี้ สามารถเข้าไปอ่านได้ที่ลิ้งค์บทความใน Blockdit ด้านล่างของบทความนี้ ก่อนถึงแหล่งข่าวอ้างอิงได้ครับ
1
บทความนี้ผมจะยกตัวอย่างกรณีศึกษาผลกระทบต่อธุรกิจร้านอาหารประเภทฟิชแอนด์ชิปในอังกฤษ จากบทสัมภาษณ์กับเจ้าของธุรกิจโดยตรงครับ
1
...
1
Fryday’s เป็นร้านฟิชแอนด์ชิปแบบดั้งเดิมต้นฉบับ ปัจจุบันดำเนินการโดยเจ้าของรุ่นที่สามชื่อ Stratis Michael อายุ 52 ปี โดยเป็นร้านเก่าแก่ของคนอังกฤษและเคยได้รับรางวัลเช่น รับรองเรื่องความยอดเยี่ยมจาก Trip Advisor (ปี ค.ศ. 2014) และคุณภาพยอดเยี่ยม 5 ดาว จากสถาบันที่รับรองร้านประเภทนี้โดยเฉพาะ
2
Stratis Michael เจ้าของร้านใส่เสื้อเชฟสีขาวยืนแถวหลังคนขวาสุด คนซ้าย-ภรรยา คนกลาง-ลูกชาย แถวหน้าคือพนักงานร้านที่ใส่ชุดสีดำ เครดิต: Business Insider
เจ้าของร้านเล่าให้ฟังว่า ตัวเขาเกิดและเติบโตมากับร้านฟิชแอนด์ชิปส์ตั้งแต่เกิด
2
ปู่ของเขาได้เริ่มเปิดร้านที่แรกในลักษณะแบบทำกันเองในครอบครัวขนาดไม่ใหญ่ ที่เมืองแบรดฟอร์ด ในเวสต์ยอร์กเชอร์ ช่วงกลางยุค 60’s
1
พ่อของเขาได้เปิดร้านที่สองในเมืองลีดส์ ช่วงกลางยุค 70’s
1
ตัวเขาเกิดเมื่อปี ค.ศ. 1969 และอาศัยในอพาร์ทเม้นท์ที่อยู่ด้านบนของร้านอาหารนั่นเอง เติบโตที่นั่น ช่วยเหลือที่บ้านปอกเปลือกมันฝรั่งและเตรียมปลาในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์และช่วงปิดเทอม
1
เขาจำได้ว่าตอนที่เขายังเด็ก ฟิชแอนด์ชิปที่หนึ่งราคาแค่ 25 เพนนี (0.25 ปอนด์) และเป็นธรรมเนียมของอังกฤษว่าผู้คนจะมาต่อแถวซื้อเมนูนี้ช่วงค่ำหลังเลิกงานของวันศุกร์ แถวยาวลงมาถึงถนน มาถึงปัจจุบันถ้าเป็นอย่างนี้ได้ถือว่าโชคดีมากแล้ว
1
ส่วนตัวเขาเองพร้อมภรรยาได้ออกมาเปิดร้านที่ใหม่ในเมืองลีดส์ ในชื่อ Fryday’s ในปี 2010
1
  • เขาอยู่ในธุรกิจนี้มานานมาก ได้เห็นสภาวะขึ้นลง ผ่านช่วงที่เศรษฐกิจแย่และเจอภาวะถดถอยมาก็หลายครั้งก่อนหน้านี้ แต่รอบนี้เลวร้ายสุดๆมาก กระทบธุรกิจร้านเขาแบบไปไม่ถูกซวนเซกันเลย ไม่มีใครในธุรกิจนี้เคยเจอสภาวะที่แย่แบบนี้มาก่อนเลย
2
ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมานี้ ราคาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องถีบตัวสูงขึ้นมาก เขายกตัวอย่างเช่น
2
  • ราคาต้นทุนปลาแฮดด็อกสูงขึ้น 100% ไม่ใช่แค่ปลา แพคเกจจิ้งที่ใช้ใส่ราคาสูงขึ้น 65% น้ำมันที่ใช้ทอดปลากับมันฝรั่งรวมถึงเครื่องปรุงต่างๆราคาถีบตัวขึ้นเป็นสองเท่า ไหนจะค่าไฟค่าแก๊สที่เพิ่มแบบบ้าคลั่งอีก
2
เพิ่มเติมนอกจากค่าวัตถุดิบต่างๆ เขาเองยังต้องจ่ายค่าจ้างพนักงานทั้งหมด 17 คนที่ทำงานในร้าน ไม่ปรับลดใดๆ
2
  • เมื่อ เมษายน พ.ศ. 2565 เขาจำเป็นต้องปรับราคาขายครั้งใหญ่ คือ เมนูฟิชแอนด์ชิปขนาดมาตรฐานต่อที่ จาก 7.99 ปอนด์ เป็น 9.99 ปอนด์ (เพิ่ม 2 ปอนด์) ด้วยแรงกดดันจากต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้น
3
หลังจากหักภาษี ต้นทุนวัตถุดิบ ค่าจ้าง ออกหมดแล้ว เหลือกำไรออกมาน้อยมากเมื่อเทียบกับแรงที่ลงไป แต่ยังไงก็ต้องทำต่อไป
1
ปัญหาตอนนี้ที่เกิดขึ้นคือ ลูกค้าบ่นกันแล้วว่าราคาอาหารร้านเขาเริ่มแพงขึ้นมาก แต่อย่างไรก็ตามร้านเล็กๆของเขาที่เน้นขายลูกค้าที่มีกำลังซื้อไม่สูงก็ต้องดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดเช่นกัน
1
เขายังโชคดีกว่าคนอื่นตรงที่ว่าเป็นเจ้าของที่เอง ไม่ต้องเสียค่าเช่า และยังมีที่อื่นในเมืองนี้ปล่อยเช่าอยู่ด้วย ดังนั้นค่าเช่าที่เก็บได้ เขาจึงถือว่าเป็นเงินเดือนส่วนตัวและใช้เลี้ยงครอบครัว กำไรจากร้านเขาเองแทบไม่เหลือคุ้มกับค่าแรงที่เขาลงเลย
1
เขายังให้ความเห็นว่า ร้านที่พยายามรักษาราคาให้เท่าเดิมหรือทำโปรโมชั่นลดราคา ไม่รู้ว่าจะเหลือกำไรและอยู่รอดได้อย่างไร ถ้าไม่มีสายป่านยาวพอ
1
เขาคาดการณ์ว่าในอีก 12 เดือนข้างหน้า ถ้าสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ร้านที่สายป่านสั้นจะล้มหายตายจากธุรกิจนี้ เพราะกำไรโดนบีบจนไม่เหลือแล้ว
1
  • พวกเราต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลแล้วในเวลานี้ เหมือนตอนที่ช่วยลดภาษีในช่วงโควิด-19 ระบาด
1
...
1
มาถึงตรงนี้ผมขออธิบายนิดนึงคือ ในอังกฤษมีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากราคาสินค้าและบริการทั้งหมด โดยเรียกว่า VAT เหมือนเมืองไทย โดยมีอัตราแบบปกติอยู่ที่ 20% (เมืองไทยปัจจุบันคือ 10% แต่ยังคงเก็บที่ 7% มาโดยตลอด)
2
  • โดยก่อนหน้านี้อังกฤษก็มี VAT อัตราพิเศษ 5% มาโดยตลอด เพื่อช่วยเหลือธุรกิจและประชาชนในช่วงโควิด-19 และเพิ่งมาปรับเป็นอัตราปกติ 20% เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2565 นี่เอง
2
  • ในแง่ของคนทำธุรกิจ VAT 5% เป็นอะไรที่ช่วยเหลือได้มาก ถึงแม้ว่าราคาต้นทุนจะสูงขึ้น แต่ยังมีส่วนของมาร์จินที่ยังเหลืออยู่จากราคาส่วนต่างราคาขายสุดท้ายกับช่องว่างของภาษีที่โดนหักน้อย ยังพอช่วยให้ธุรกิจเดินต่อไปได้
1
แต่พอภาษีปรับมาเป็นที่ 20% ปุ๊บ กำไรที่เหลือหายวับไปเลย
1
...
ตอนนี้พวกเราโดนบีบคั้นอย่างมาก ถ้าไม่ขึ้นราคาก็ต้องยอมออกจากธุรกิจนี้ ถ้ารัฐบาลต้องการให้เราอยู่รอดก็ต้องมีแนวทางช่วยเหลือเรา ต้นทุนการดำเนินธุรกิจสูงเป็นเรื่องชั่วคราว มันจะผ่านพ้นไปได้ในไม่กี่ปี แต่ถ้าธุรกิจไม่เหลือแล้วคงไม่มีใครช่วยได้แล้ว
1
  • ฟิชแอนด์ชิปส์ ไม่ใช่อาหารที่แสดงความเป็นอังกฤษอย่างเดียว แต่ยังเป็นอาหารที่ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนอังกฤษอีกด้วย มันเป็นอาหารที่คนต่อแถวซื้อที่ร้าน ไม่ใช่อาหารที่เหมาะสำหรับการเดลิเวอรี่ การมาซื้อเมนูนี้เป็นกิจกรรมทางสังคมอย่างหนึ่ง ที่คนมาซื้อหรือกินที่ร้านได้มาพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน เสริมสร้างมิตรภาพ โดยเฉพาะในช่วงคืนวันศุกร์
3
สุดท้ายเขาบอกว่า ร้านเขาไม่ต้องการขึ้นราคาขายอีกแล้ว ถ้าทำแบบนั้นลูกค้าร้านจะยิ่งหายมากไปกว่าเดิมอีก แต่ถ้ามันไม่ไหวจริงๆ เราก็จำเป็นต้องปิดร้าน ตอนนี้เราอยู่ในโหมดสู้เพื่อเอาตัวรอดโดยแท้
1
บทความเกี่ยวกับวิกฤตฟิชแอนด์ชิปส์ที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้
เรียบเรียงโดย Right SaRa
16th July 2022
  • แหล่งข่าวอ้างอิง:
โฆษณา