16 ก.ค. 2022 เวลา 13:21 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 (Shoemaker-Levy 9 หรือ SL9ชื่ออย่างเป็นทางการ D/1993 F2) เป็นดาวหางที่พุ่งเข้าชนดาวพฤหัสบดี เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2537 ซึ่งทำให้สามารถสังเกตการชนระหว่างวัตถุในระบบสุริยะได้โดยตรงเป็นครั้งแรก (ไม่นับการชนที่เกี่ยวกับโลก) เหตุการณ์นี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง มีการเผยแพร่ออกไปทางสื่อต่าง ๆ และนักดาราศาสตร์ทั่วโลกก็มีโอกาสติดตามสังเกตการชนครั้งนี้อย่างใกล้ชิด
นอกจากนี้เหตุการณ์ดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงสภาพบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี รวมไปถึงบทบาทของดาวพฤหัสบดีที่คอยกวาดวัตถุในอวกาศที่อยู่ด้านในของระบบสุริยะด้วยอัตราเร็วประมาณ 60 กิโลเมตร/วินาที เกิดการระเบิดเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที 6 ล้านตัน
หรือเทียบเท่าระเบิดปรมาณูที่ถล่มฮิโรชิมา 100 ล้านลูก แรงระเบิดมีรัศมีกระจายไปถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้เกิดฝุ่นดาวหางปกคลุมสูงขึ้นมาเหนือเมฆในชั้นบรรยากาศโจเวียนถึง 3,000 กว่ากิโลเมตร เกิดรอยคล้ำบนชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสบดี นักดาราศาสตร์และสื่อมวลชนจึงมีเวลามากพอในการเตรียมสังเกตการณ์และประชาสัมพันธ์ แม้ว่ากล้องดูดาวบนโลกจะไม่สามารถบันทึกภาพขณะชนโดยทันที
แต่มี กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (hubble space telescope) ซึ่งเคลื่อนรอบโลก ได้ถ่ายภาพแล้วส่งสัญญาณลงมายังสถานีรับภาคพื้นดิน ร่องรอยของการชนปรากฏชัดเจนในภาพถ่าย ซึ่งกล้องฮับเบิลบันทึกหลังจากที่ดาวหางลูกแรกชนแล้ว 90 นาที ทำให้ผู้เฝ้าติดตามตื่นเต้นดีใจไปทั่วโลก นับเป็นความสำเร็จของนักวิทยาศาสตร์ที่คำนวณทางโคจรของดาวหางได้อย่างแม่นยำ
ในอดีตดาวพฤหัสบดีน่าจะเคยถูกดาวหางและดาวเคราะห์น้อยชนมาแล้วเป็นจำนวนมาก แต่ยังไม่เคยตรวจพบและคำนวณได้อย่างแม่นยำเช่นครั้งนี้ การพุ่งชนดาวพฤหัสบดีของดาวหางชูเมกเกอร์-เลวี 9 จึงเกิดขึ้นครั้งหนึ่งในหลายพันชั่วอายุขัยของมนุษย์ที่สามารถสังเกตได้ #ดาวหางชูเมกเกอร์เลวีเก้า #ShoemakerLevy9 #D1993F2 #ดาวพฤหัสบดี #Jupiter #กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล #hubblespacetelescope
โฆษณา