16 ก.ค. 2022 เวลา 15:04 • ประวัติศาสตร์
* เปิดหลักฐานเก่าสุด ต้นตอข้อมูล *
** รูปปั้นสลักหินอ่อน ที่วัดพระแก้ว *
*** มีจดบันทึกไว้ครั้งแรกเมื่อได ? **
โดย ไกรฤกษ์ นานา
นักสืบประวัติศาสตร์
16 กรกฎาคม 2565
ถาม : อาจารย์คะ รูปแกะสลักหินอ่อนที่ลานวัดพระแก้ว มีที่มาที่ไปอย่างไร ตามหลักฐานเก่าสุด ที่เคยถูกค้นพบค่ะ ?
ตอบ : มีคำยืนยัน ทั้งข้อมูลและรูปภาพครับ พบต้นตอ มีอยู่ในเอกสารเก่าสุดจากต่างประเทศ สมัยรัชกาลที่ 5
ตามที่ได้มีการค้นพบ รูปแกะสลักหินอ่อนจำนวนมาก ฝังอยู่ใต้ดินภายในวัดพระแก้ว เมื่อเร็วๆนี้ ตรวจสอบแล้วมีบันทึกอยู่ในเอกสารต่างประเทศ ที่เชื่อถือได้ จากสมัยรัชกาลที่ 5 ดังต่อไปนี้ :-
( 1 ) หนังสือชื่อ Turrets, Towers & Temples เขียนโดย Esther Singleton ตีพิมพ์ที่อังกฤษเมื่อปีค.ศ. 1898 เขียนว่า” วัดที่ศักดิ์สิทธิ์และงดงามที่สุดในสยามเห็นจะเป็นวัดพระแก้ว ภายในตกแต่งด้วยรูปปั้นสลักศิลา โดยรอบพระอุโบสถ เป็นศิลปกรรมที่สั่งเข้ามาจากเมืองจีน ในรัชกาลก่อน
แต่ยังมีรูปปั้นหินอ่อน เป็นรูปผู้มีชื่อเสียงจากยุโรปหลายตัว ถูกสั่งทำเป็นพิเศษ สำหรับปี ค.ศ. 1882 เพื่อประดับตบแต่งคราวบูรณะวัดพระแก้ว ครั้งใหญ่เนื่องในงานฉลองสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 100 ปี โดยพระอนุชาของพระเจ้าแผ่นดิน “
( 2 ) หนังสือชื่อ Temples and Elephants เขียนโดยนาย Carl Bock ตีพิมพ์ในปีค.ศ. 1884 เมื่อนายขาวบล็อกเดินทางเข้ามายังสยามและได้ร่วมงานฉลองพระนครครบ 100 ปี ( เมื่อ ค.ศ. 1882 / พ.ศ. 2425 )
เขียนไว้ว่า “ งานซ่อมแซมวัดพระแก้วซึ่งได้เริ่มต้นตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2422 รวมเวลากว่า 2 ปี ให้ทันวันฉลองพระนครครบ 100 ปี เพื่อเป็นสวัสดิมงคลแก่บ้านเมือง พระเจ้าแผ่นดินทรงมอบหมายให้พระอนุชาหลายพระองค์ ดูแลงานส่วนต่างๆ
มีองค์หนึ่ง โปรดให้สร้างและซ่อมตบแต่งบรรดาตุ๊กตาหิน และกระถางต้นไม้ในลานวัด รวมทั้งจัดซื้อตุ๊กตาหินอ่อนมาเพิ่มเติมด้วย “
( 3 ) นสพ. ILLUSTRATION ของฝรั่งเศส ฉบับลงวันที่ 31 October 1891
ยังได้เคยลงภาพวาดตุ๊กตาแกะสลักหินอ่อนจำนวนมาก ที่ลานวัดพระแก้ว ในงานฉลองสมโภช สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ เมื่อได้ทรงรับการสถาปนาขึ้นเป็นสยามมกุฎราชกุมาร ( ดูภาพประกอบด้านล่าง )
อนึ่ง พระอนุชาของในหลวงรัชกาลที่ 5 ผู้ได้รับมอบหมาย ให้จัดหาซื้อตุ๊กตาแกะสลักหินอ่อน จากต่างประเทศเข้ามาประดับตกแต่งลานวัดพระแก้ว มีพระนามว่ากรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร ครับ
( ข้อมูลจาก : หนังสือ สยามกู้อิสรภาพตนเอง โดย ไกรฤกษ์ นานา )
โฆษณา