16 ก.ค. 2022 เวลา 18:07 • ไลฟ์สไตล์
1) “การเดินทาง”
ผู้ที่ “อยากรู้” แล้ว ออกเดินทาง ด้วยการ “ตั้งคำถาม” เพื่อใช้เป็น “เข็มทิศ” และ ลงมือ “แสวงหาคำตอบ” ที่เปรียบเหมือน “จุดหมายปลายทาง” ที่อาจไม่ได้มีเพียง “คำตอบเดียว”
ในทางพุทธศาสนา มีเรื่อง “พาหุสัจจะ”
มีคาถาบทหนึ่งที่ถือว่าเป็น หัวใจนักปราชญ์ คือ "สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว" แปลว่า ผู้ปราศจาก สุ จิ ปุ ลิ จะเป็นบัณฑิตได้อย่างไร
1.1) สุตะ : ฟัง
1
1.2) จินตะ : คิด
1.3) ปุจฉา : ถาม
1.4) ลิขิต : เขียนบันทึก
“คำถาม” จึงเป็นเครื่องมือในการออกเดินทางเพื่อแสวงหา “คำตอบ” โดยระหว่างทาง
คุณอาจได้พบเจอกับสิ่งใหม่ๆที่มีคุณค่ามากกว่า “คำตอบ” ที่คุณกำลังแสวงหาอยู่ก็เป็นได้!
2) “ความอยู่รอด”
ตั้งแต่เรา “ตื่นนอนจนกลับเข้านอนอีกครั้ง” คุณคิดว่าทั้ง “จิตเหนือสำนึก” และ “จิตใต้สำนึก” ของเรา “ตั้งคำถาม” กับตัวเราเอง “กี่ครั้ง” ครับ?
เพราะสิ่งมีชีวิต “ต้องการอยู่รอด” และ “การเลือก” คือสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งในการอยู่รอดของทุกชีวิต
2.1) เวลาที่คุณยื่นอาหารให้ “เพื่อนรักสี่ขา” คุณเห็นน้องๆ แสดงท่าที “เลือก” มั้ยครับ?
2.2) เวลาคุณกินข้าวผัดกระเพราไก่ ตอนที่ร้านยุ่งมากๆ แล้วคุณสังเกตเห็นว่าผัดกระเพราไก่ของคุณที่ อาเฮียเพิ่งวางจานลงต่อหน้าคุณ มีไก่ชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งยังเป็นสีแดงๆวุ้นๆอยู่! คุณจะ”เลือก” ทำเป็นเงียบแล้วกินไก่กระเพราซาชิมิชิ้นนั้นไปหรือคุณจะเรียกเฮียมาคุยครับ?
2.3) ทั้งหมดทั้งมวลของการ “เลือก” เพื่อ “อยู่รอด” มันคือ “การตั้งคำถาม” ครับ!
2.4) ผมเองเคยเรียนการเขียนโปรแกรมพื้นฐานมาบ้าง และถ้าใครเคยเรียนมาเช่นกัน คงยังจำ
“if.....then....else....” ได้ใช่มั้ยครับ?
ผมยกตัวอย่างแบบนี้ครับ
เวลาคุณสอดบัตร atm เข้าตู้ atm, เมื่อเครื่องตรวจบัตรของคุณ มันจะถามตัวเองว่า
“ถ้า/if” บัตรที่รับมาอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ (สามารถอ่านได้) “แล้ว/then” แสดงหน้าจอให้คุณป้อนรหัสผ่าน (passcode) “มิฉะนั้น/else” (ในกรณีที่บัตรชำรุดหรือคุณลืมสอดบัตรจอดรถเข้าไปแทน!) เครื่องจะคืนบัตรคุณ พร้อมข้อความ “บัตรจอดรถโว้ย!!!!” อะไรทำนองนั้น
ที่กล่าวมาข้างต้น ผมเข้าใจว่ามันคือ “Algorithm” ซึ่งก็คือ “เลือก” โดย “การตั้งคำถาม” อยู่ดี! แต่คราวนี้ เราโปรแกรมให้เครื่องจักรทำงาน “เพื่อความอยู่รอดของเรา!”
3) “What if....” -> “imagination”
Imagination is more important than knowledge. For knowledge is limited to all we now know and understand, while imagination embraces the entire world, and all there ever will be to know and understand.
Albert Einstein
เมื่อคุณเริ่มประโยคคำถามด้วย “What if....” เมื่อนั้น “ประตูแห่งจินตนาการ” ของคุณจะถูกเปิดออก!
4) “เมื่อผมตั้งคำถามกับตัวเอง”
4.1) “ทำไมเวลาผมเหยียบเบรครถ จึงมีเสียงดังผิดปกติ?”
ผมเคยชมคลิปหนึ่งบน Youtube ที่เกี่ยวข้องกับ DIKW pyramid โดยฐานล่างสุดคือ data นั่นคือข้อมูลดิบ เมื่อเรานำ data มาหาความหมายหรือ meaning โดยใช้ปริบทหรือ context เราก็จะได้ information ซึ่งก็คือข้อมูลที่เริ่มมีทิศทาง ต่อมาเมื่อเรามีประสบการณ์ หรือ experience เราก็จะมีความรู้ หรือ knowledge และเมื่อเรานำเอาความรู้ไปใช้โดยการลงมือทำหรือ action ในที่สุดเราจะได้ปัญญาหรือ wisdom
ยกตัวอย่างจากเรื่องจริงที่เกิดขึ้นกับผม คือก่อนออกรถผมจะตั้งตัวจับระยะทางในรถให้เป็นศูนย์เพื่อตรวจดูว่าผมขับรถออกจากบ้านแต่ละครั้งเป็นระยะทางเท่าไหร่ซึ่งเป็นความชอบ
ส่วนตัว
มีอยู่ช่วงหนึ่ง เวลาผมเหยียบเบรคจะได้ยินเสียงดัง และผมก็นำรถเข้าศูนย์เพื่อตรวจดูและเปลี่ยนอะไหล่ที่เกี่ยวข้อง แต่หลังจากใช้รถต่อไปได้ไม่นาน เสียงขณะเบรคก็กลับมาอีก
จนกระทั่งผมเริ่มสังเกตเห็นว่า เสียงมักดังในช่วงที่ผมขับรถกลับบ้านมากกว่าช่วงที่ผมขับรถออกจากบ้าน
ผมจึงตั้งคำถามกับตัวเองว่า “ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?”
ต่อมาทุกครั้งที่มีเสียงจากการเบรคดังขึ้น ผมจะมองไปที่ มิเตอร์ที่จับระยะทางขับ จนได้ตัวเลขคร่าวๆอยู่ที่ 10 กิโลเมตร
หลังจากนั้นผมสรุปเองในใจว่า เบรคดังเนื่องจากความร้อนสะสมและจะเริ่มดังเมื่อขับในสภาพถนนในเมืองที่ต้องเหยียบเบรคบ่อยๆในระยะทางประมาณ 10 km !
ในที่สุดผมนำรถเข้าศูนย์อีกครั้ง โดยแจ้งกับทางช่างว่า ผมต้องนำรถออกไปวิ่งนอกศูนย์และขอให้ช่างนั่งไปกับผมด้วยโดยเป็นการขับในเมือง และเมื่อได้ระยะทางเก้ากิโลเมตรกว่าๆ ผมขอให้ช่างตั้งใจฟังเสียงเบรคให้ดีๆ จนขับไปได้ครบสิบกิโลเมตร เมื่อผมเหยียบเบรคเสียงก็เริ่มดังจริงๆ! หลังจากช่างฟังเสียงและตรวจสอบ เขาพบว่าจานเบรคไม่เรียบต้องเจียร์จานเบรค และหลังจากนั้นเสียงที่เกิดจากการเหยียบเบรคก็หมดไปครับ
นี่เป็นการประยุกต์ใช้ DIKW pyramid จากประสบการณ์จริงของผมครับ
4.2) “จะรู้ได้ยังไงว่า ได้เวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ของผม?” (โดยไม่รอให้รถสตาร์ทไม่ติดเพราะแบตเตอรี่หมด!)
เมื่อผมตั้งคำถามนี้ในใจ ผมได้ออกแสวงหาคำตอบโดยทำการศึกษาเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์มากขึ้น จนผมค้นพบ “คำตอบ” ว่า
มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “Battery Testers” ซึ่งใช้ทดสอบแบตเตอรี่ว่ามีสภาพการใช้งานอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อการตัดใจเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ก่อนที่รถจะสตาร์ทไม่ติดเพราะแบตเตอรี่หมดอายุ
เวลานี้ผมได้จัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้งานกับรถที่ผมดูแลอยู่ และใช้มันทดสอบแบตเตอรี่ให้กับรถของญาติๆได้อีกด้วย!
4.3) “คำถามที่ผลักดันให้ผมออกเดินทาง จนได้พบคำตอบบางส่วนแล้ว!”
โฆษณา