17 ก.ค. 2022 เวลา 11:57 • ปรัชญา

บทที่ 9:เรื่องภพเกณท์ทั้งสี่

เรื่องภพเกณท์ทั้งสี่และเจ้าเรือนเงา เป็นบทที่ทำความเข้าใจยากที่สุด ซึ่งเป็นหลักวิชาที่ไม่มีปรากฏในตำราโหราศาสตร์พื้นบ้านแขนงอื่น และทำให้โหราศาสตร์อ.สุบินมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่แตกต่างไปจากตำราโหราศาสตร์พื้นบ้าน กล่าวโดยสรุปการอ่านดวงชะตาตามแนวทางอ.สุบินมิได้ใช้การอ่านแบบตามเจ้าเรือน หรือบางที่เรียกว่าเรือนชะตาสัมพันธ์ ที่มีการนำพระเคราะห์เรือนในไปผสมกับกับภพและพระเคราะห์เรือนนอกเพื่อแปลความหมาย ซึ่งให้ความหมายกว้างที่ใช้ได้กับทุกคนที่มีดวงชะตาเหมือนกัน เช่นเดียวกับการทำนายทายทักแบบเลข 7 ตัว
ขณะที่ตามแนวทางอาจารย์สุบิน จะถือว่าเรือนหรือภพทั้งสิบสองมิได้มีความหมายตามชื่อเรือนหรือภพนั้น อาทิเรือนกฎุมภะมิได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงในเรื่องที่เกี่ยวกับการเงินและรายได้ของเจ้าชะตา เป็นเพียงชื่อเรียกสำหรับการจดจำเท่านั้น
ขณะเดียวกันความหมายและความสำคัญของแต่ละเรือนชะตา ไม่ได้เป็นอิสระหรือเป็นเอกเทศต่อกัน แต่กลับขึ้นอยู่ภพเกณฑ์ทั้งสี่ หรือภพ1-4-7-10 จากลัคนา รวมถึงเจ้าเรือนเงาของภพเกณฑ์ทั้งสี่ โดยอ.สุบินได้กำหนดให้
ลัคนาและ ๖ เป็นตัวแทนเจ้าเรือนเงาภพตนุ ที่แสดงถึงการตัดสินใจของเจ้าชะตา และมีอิทธิพลมากสุดในวงจรตรีโกณ 1-5-9 หรือ ตนุ-ปุตตะ-ศุภะ (วงจรตรีโกณนี้มักพิจารณาความก้าวหน้าโดยทั่วไป)
๒ และ ๕ เป็นตัวแทนเจ้าเรือนเงาภพปัตนิ ที่แสดงถึงเวรกรรมของเจ้าชะตา (คนที่มาชดใช้เวรกรรมกับให้เจ้าชะตา) และมีอิทธิพลมากสุดในวงจรตรีโกณ 7-11-3
หรือ ปัตนิ-ลาภะ-สหัชชะ (วงจรตรีโกณนี้มักใช้พิจารณาหุ้นส่วนและศัตรู)
๑ และ ๔ เป็นตัวแทนเจ้าเรือนเงาภพกรรมะ ที่แสดงถึงบาปบุญของเจ้าชะตา (ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่เจ้าชะตาต้องไปสัมพันธ์ตอบแทนกับสังคมโดยรวม) และมีอิทธิพลมากสุดในวงจรตรีโกณ 10-2-6 หรือ กรรมะ-กฎุมภะ-อริ (วงจรตรีโกณนี้มักใช้พิจารณาการแข่งขันและการเลื่อนตำแหน่งในแวดวงข้าราชการ)
๗ และ ๘ เป็นตัวแทนเจ้าเรือนเงาภพพันธุ ที่แสดงถึงสิ่งสะสมของเจ้าชะตา (สัมภาระ) ที่เจ้าชะตาแบกรับมาจากภพชาติก่อน เพื่อลำเลียงไปยังภพชาติถัดไป และมีอิทธิพลมากสุดในวงจรตรีโกณ 4-8-12 หรือพันธุ-มรณะ-วินาศ (วงจรตรีโกณนี้จึงมักใ้ช้พิจารณาความฝันและลางสังหรณ์)
โดยเจ้าเรือนเงาทั้งสี่ ใช้เป็นตัวแทนแสดงความหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง เมื่อไปปฏิสัมพันธ์กับภพเกณฑ์ต่างๆ
โหราทาส
๑๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕
1

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา