18 ก.ค. 2022 เวลา 00:03 • ความคิดเห็น
กฎของยานเต้ (law of jante)
1
World Happiness Report เพิ่งจัดอันดับประเทศที่มีความสุขในโลกเป็นปีที่สิบ โดยใช้วิธีถามคนประมาณพันคนจากแต่ละประเทศว่ามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีสุดแค่ไหน โดยมีสเกล 1 ถึง 10 ซึ่งก็เป็นเหมือนสิบปีที่ผ่านมา กลุ่มประเทศสแกนดิเนเวียติด top 10 เหมือนเดิมโดยมีฟินแลนด์เป็นอันดับหนึ่ง ส่วนประเทศไทยนั้นอยู่ที่หกสิบเอ็ดจาก 146 ประเทศ
8
ที่น่าสนใจคือ NPR ผู้ทำงานวิจัยนั้นบอกว่า มีคนวิเคราะห์ว่าเหตุที่ชาวสแกนดิเนเวียถึงมีคะแนนความพึงพอใจสูงนั้นไม่ใช่เพราะทุกอย่างดีไปหมด แต่เพราะคนในประเทศเหล่านั้นมีความคาดหวังที่ต่ำกว่าประเทศอื่นเวลาถามว่าชีวิตที่ “ดีที่สุด” นั้นเป็นอย่างไร
2
สมการของความสุขนั้นน่าจะมีสองส่วนประกอบกัน ส่วนแรกคือความคาดหวัง กับส่วนที่สองคือสิ่งที่ได้รับ ถ้าเท่ากับหรือมากกว่าความคาดหวังก็น่าจะมีความสุข การแก้สมการแห่งความสุขวิธีหนึ่งก็คือการบริหารจัดการความคาดหวังให้ได้
5
ผมเองเคยทำงานกับคนนอร์เวมาหลายปีระหว่างที่อยู่ดีแทค และก็ได้พบเจอคนสวีเดนก็บ่อยเพราะเทเลนอร์ที่เป็นบริษัทแม่ดีแทคก็มีบริษัทในสวีเดน ช่วงหนึ่งก็ต้องดีลงานกับคนโนเกียจากฟินแลนด์ก็บ่อย ซึ่งก็ได้รู้สึกแบบนั้นจริงๆว่าความคาดหวังของคนนอร์เว สวีเดนหรือฟินแลนด์นั้นไม่สูงเลย
2
มีครั้งหนึ่ง เราคุยเรื่องรถประจำตำแหน่งซึ่งเป็นเรื่องปกติธรรมดาของผู้บริหารไทย ผู้บริหารชาวนอร์เวบอกผมว่ารถแบบนี้จะเป็นเรื่องใหญ่โตมากที่นอร์เว ถ้าเขาขับรถคันใหญ่แบบนี้จะมีปัญหากับเพื่อนบ้านแน่ๆ ผมก็งงๆแล้วถามว่าทำไม เขาบอกว่าที่นอร์เวนั้น การที่มีรถดีกว่าเพื่อนบ้านใกล้เคียงกันนั้นเป็นเรื่องที่สังคมยอมรับไม่ได้ ถ้าจะมีรถต้องด้อยกว่าหรือเท่ากับรถเพื่อนบ้านเท่านั้น
6
ตอนฟังเรื่องนี้ผมก็ไม่ได้เข้าใจอะไรนัก จนมารู้ทีหลังเพราะคุณซิกเว่เจ้านายเก่าผมเล่าให้ฟังถึงกฎของยานเต้ (law of Jante)
กฏของยานเต้เป็นหลักการทางสังคมที่ไม่ใช่เป็นกฎหมาย แต่เป็นความเชื่อร่วมกันมาตั้งแต่โบราณ เป็นกฏจากโลกในวรรณคดีของแอคเซล ซานดีมอส นักเขียนชาวเดนมาร์ค-นอร์เวย์ และกฎเหล่านี้ได้ยั่งรากลึกลงไปยังประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาวสแกนดิเนเวีย ซานดีมอสประพันธ์ถึงหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งชื่อ Jante ซึ่งชาวบ้านที่อาศัยอยู่เป็นพวกที่ยึดถือขนบธรรมเนียมมาก พวกเขาต่อต้านการเปลี่ยนแปลงถึงขั้นที่ขัดขวางใครก็ตามที่เด่นกว่าคนอื่น
6
แก่นของกฎของยานเต้จะมีประมาณว่า…
คุณจะต้องไม่มีความเชื่อว่าคุณเด่นหรือล้ำเลิศกว่าคนอื่น
แก่นของกฎยานเต้
8
กฎของยานเต้มีสิบข้อ คือ
  • You’re not to think you are anything special.
  • You’re not to think you are as good as we are.
  • You’re not to think you are smarter than we are.
  • You’re not to convince yourself that you are better than we are.
  • You’re not to think you know more than we do.
13
  • You’re not to think you are more important than we are.
  • You’re not to think you are good at anything.
  • You’re not to laugh at us.
  • You’re not to think anyone cares about you.
  • You’re not to think you can teach us anything.
9
ที่ปรึกษาระดับโลกอย่าง mckinsey เคยวิเคราะห์เรื่องนี้ไว้ว่าอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้ประเทศทางสแกนดิเนเวียมีความสุขในใจมากกว่าประเทศอื่นเพราะถ้าเชื่อในกฏของยานเต้ ความคาดหวังที่เรามีก็จะประมาณแค่ขอให้เท่าๆกับคนอื่นก็พอก็มีความสุขแล้ว และถ้ามีอะไรที่มากกว่าค่าเฉลี่ยแค่นิดหน่อยก็จะเป็นความสุขที่ไม่ได้คาดคิดอย่างมาก
1
happiness study ที่ University of London ศึกษาไว้บอกชัดเจนว่า “ Lower expectations make it more likely that an outcome will exceed those expectations and have a positive impact on happiness “ กฎของยานเต้จึงมีอิทธิพลต่อสังคมสแกนดิเนเวียนั้นมีส่วนในเรื่องการจัดการความหวังที่นำมาซึ่งความพึงพอใจในชีวิตอยู่ไม่น้อยเลย
1
แต่ทุกเรื่องมักจะมีข้อดีและข้อเสีย คุณซิกเว่เคยวิจารณ์กฎของยานเต้ว่า ที่นอร์เวนั้นหลายคนก็มีความรู้สึกว่าความเชื่อในกฏนี้ทำลายความคิดสร้างสรรค์ และถ้าใครมีฝันใหญ่ๆ อยากประสบความสำเร็จมากๆบ้างทำไมจะทำไม่ได้ คนแบบ elon musk หรือ steve jobs ก็จะมีได้ยากถ้าทุกคนใช้กฎของยานเต้กันหมด เรื่องนี้ก็เป็นเรื่องถกเถียงกันมากในหมู่ปัญญาชนของนอร์เวมาตลอด
3
อย่างไรก็ตาม คุณซิกเว่ก็บอกเช่นกันว่ากฎของยานเต้ก็มีข้อดีถ้าเรารู้จักเอามาใช้กับวัฒนธรรมองค์กรในบางมุม กฎนี้กล่าวถึงธรรมชาติแห่งการยึดหลักความเสมอภาคของมนุษย์ในวัฒนธรรมสแกนดิเนเวีย จึงนับเป็นสิ่งเตือนใจได้ว่า ไม่ว่าจะประสบความสำเร็จในเรื่องใดในชีวิตก็ตาม เรายังคงต้องรักษาความอ่อนน้อมถ่อมตนและเคารพผู้อื่นเอาไว้
14
ดังนั้น ในฐานะผู้นำเราจึงไม่ได้สำคัญไปกว่าคนอื่นๆ เราทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของทีม เพียงแค่รับบทบาทที่แตกต่างกันเท่านั้น สิ่งนี้เป็นหลักข้อหนึ่งใน “กฎของยานเต้” ซึ่งเราสามารถนำมาปรับใช้เพื่อประโยชน์สูงสุดได้ ซึ่งคุณซิกเว่ก็ปฏิบัติอย่างนั้นให้เราได้เห็น ไม่ว่าพนักงานจะตัวเล็กแค่ไหน ซิกเว่ก็จะยกมือไหว้ก่อนเสมอ ซิกเว่เข้าหาพนักงานทุกคนและเปิดโอกาสในการรับฟังปัญหาอย่างเท่าเทียมกัน และเป็นตัวอย่างที่ดีในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของดีแทคในตอนนั้นอย่างมาก
9
ที่ผมเอากฎของยานเต้มาเล่าในวันนี้ ไม่ได้ต้องการจะเปรียบเทียบวัฒนธรรมในระดับประเทศแต่อย่างใด แค่คิดถึงตอนที่คุณซิกเว่ใช้หลักการกับกฏข้อนี้ในดีแทคเมื่อหลายปีก่อน แล้วทำให้พนักงานทุกระดับชั้นหลอมรวมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ องค์กรยุคใหม่ที่กำลังจะต้องปรับเปลี่ยนอะไรหลายอย่าง การเข้าใจกฏของยานเต้ก็อาจจะเป็นไอเดียหนึ่งในการใช้สร้างวัฒนธรรมองค์กรก็ได้นะครับ
3
หลังจากที่คุณซิกเว่ย้ายจากดีแทคไปทำงานที่อินเดีย ซีอีโอดีแทคที่มาแทนชื่อคุณทอเร่ จอห์นสัน เป็นคุณลุงใจดีชาวนอร์เวที่ทุกคนรัก เวลาคุณทอเร่อยากกินกาแฟสตาร์บัค ก็จะลงมาจากตึกสูงมาซื้อกาแฟเองทุกครั้ง ผมก็เคยถามว่าทำไมถึงไม่ให้เลขาซื้อให้ล่ะ ขาแข้งก็ไม่ค่อยดีแล้ว มีเลขาซื้อให้ก็สะดวกดี บอกกี่ครั้งยังไงก็เดินลงมาเองตลอด
1
จนวันหนึ่งคุณทอเร่คงเบื่อที่ทั้งผม ทั้งเลขาพยายามคะยั้นคะยอ ก็เลยบอกว่า ขอเดินไปซื้อกาแฟเองเถอะ เพราะที่นอร์เวถ้าให้เลขาซื้อให้แบบนี้มันเด่นเกินคนอื่น อีกอย่างถ้าไอเกษียณไปก็ต้องซื้อกาแฟเอง ต้องฝึกตั้งแต่ตอนนี้จะได้ไม่เคยตัว.. คำตอบกับการกระทำอย่างสม่ำเสมอของคุณทอเร่ได้ใจเลขาและพนักงานในชั้นนั้นอย่างมาก
15
และนี่คือความน่ารักของกฎของยานเต้ครับ ..
3
โฆษณา