18 ก.ค. 2022 เวลา 10:52 • สุขภาพ
ผ่าตัดกลางอากาศ-ช่วยชีวิตผู้หญิงที่กำลังจะตาย..เพราะความรัก
👉ปอดแตก..ไม่ใช่ปอดแหก ร่วมกับลมไหลออกจากปอดทางเดียว ไม่ไหลกลับเข้าปอด ลมจะดันจนปอดแฟบและยุบ ไม่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้ คนไข้จะตายเร็วมาก!!!
พอลล่า ดิ๊กสัน ตกอยู่ในห้วงหลุมรักกับชายคนรักที่เพิ่งพบหน้ากันไม่นาน
1
เธอพบกับเขาที่ฮ่องกง และเวลาเหมือนติดปีกวันนี้เธอจะต้องขึ้นเครื่องบินบริติชแอร์เวย์ เพื่อบินกลับลอนดอน
เครื่องมือแพทย์กลางอากาศที่ใช้จริง(ขอบคุณภาพจากวารสารทางแพทย์ British Medical Journal)
❤️มาฟังเรื่องราวความรักที่แสนจะเหลือเชื่อ แต่เรื่องที่เธอรอดตายจากการผ่าตัดกลางอากาศ นั้น..
มันเหลือเชื่อยิ่งกว่า❕
เรื่องนี้เกิดมานานแล้ว ตั้งแต่ปีคริสตศักราช 1995
..คุณหมอ”แองกัส วอลเลซ”และคุณหมอ”ทอม หว่อง” ได้รับการร้องขอจากลูกเรือภาคพื้นดินให้ช่วยตรวจผู้โดยสารหญิง อายุ 39ปีคนหนึ่ง
เธอคือ”พอลล่า ดิ๊กสัน”นั่นเอง
ดิ๊กสันไปเที่ยวฮ่องกงแล้วได้พบเจอชายคนรัก(ซึ่งต่อมาแต่งงานกันเป็นครอบครัว)
เธอเล่าว่าช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ฮ่องกงมันสั้นมากเธอจึงอ้อยอิ่งอยู่กับชายคนรักจนมาขึ้นเครื่องบินแทบไม่ทัน
ระหว่างที่ชายคนรักพ่วงเธอด้วยมอเตอร์ไซค์มาส่งที่แอร์พอร์ต เกิดอุบัติเหตุชนกับรถยนต์ ด้วยความเร่งรีบจะไปขึ้นเครื่องบินเธอจึงไม่ยอมไปโรงพยาบาล
ที่แขนซ้ายของดิ๊กสันมีแผลถลอกและมีเลือดออก เธอบอกกับลูกเรือภาคพื้นดินว่าเจ็บแต่ไม่เป็นไร
❕ “เธอแค่หกล้ม” เท่านั้นเอง
จึงเป็นที่มาที่ลูกเรือต้องเชิญคุณหมอให้มาตรวจเธอ
จากการตรวจขั้นต้นหมอทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าเธอขึ้นเครื่องได้และวางแผนจะใส่เฝือกเข้าที่แขนซ้ายของเธอ
ดิ๊กสันโชคดีมากเพราะคุณหมอวอลเลซก็คืออาจารย์แพทย์ด้านผ่าตัดกระดูกที่มีชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยแพทย์ในเมืองน็อตติ้งแฮม ซึ่งบินมาฮ่องกงเรื่องประชุมวิชาการทางแพทย์
แต่..ยังไม่ทันได้ใส่เฝือกเกิดเรื่องร้ายแรงขึ้นมาก่อน
จู่ ๆ ดิ๊กสันเกิดเจ็บที่ชายโครงซ้าย หอบเหนื่อยแล้วก็ปากเขียว คุณหมอมาตรวจเธออีกรอบ
ในรายงานแพทย์บันทึกไว้ว่าคุณหมอวอลเลซได้แต่ภาวนาว่า ขอให้เธอไม่เป็นอะไรมาก..
.. แต่ไม่เป็นผล..ดิ๊กสันเจอภาวะร้ายแรง กระดูกซี่โครงข้างซ้ายของเธอหักแล้วไปทิ่มเข้าที่ปอด ทำให้เกิดภาวะปอดรั่ว…
1
👉จนมีลมรั่วออกจากปอดมาคั่งที่”ช่องปอด”ด้านซ้าย..
อย่างที่หมอๆ เราเรียกภาวะนี้ว่า “Pneumothorax”(นิวโมธอแรกส์)หรือ”ปอดแตก”
ซ้ำร้ายกว่านั้นภาวะ Pneumothorax ของเธอมีภาวะแทรกซ้อน เกิดเป็นแบบรุนแรงคือ เกิดภาวะลมไหลออกตลอดทางเดียวที่เรียกว่า “Tension pneumothorax”
1
👉ปอดแตก..ไม่ใช่ปอดแหก
ร่วมกับลมไหลออกจากปอดทางเดียว ไม่ไหลกลับเข้าปอด ลมจะดันจนปอดแฟบและยุบ จนปอดเสียหาย ไม่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้ คนไข้จะตายเร็วมาก!!!
1
วิธีช่วยชีวิตที่ง่ายที่สุด
- ใช้เข็มเบอร์ใหญ่ปักเข้าไปในช่องปอด ให้ลมมีทางพุ่งออกมาจากช่องปอด ลดการกดทับลงบนปอด
- แล้วตามด้วยการใส่ท่อ
เข้าไปในช่องปอดด้านนั้น
*ต้องทำวาวล์ให้ลมไม่ไหล
ย้อนกลับเข้าไปในปอดด้วย
(ปอดแตก-รูปปก)
แต่นี่อยู่บนเครื่องบินไม่มีเครื่องมือจะทำอย่างไรดี
คุณหมอทั้งสองรีบปรึกษากัน เพราะ
“ เธอกำลังจะตาย
รอช้าไม่ได้ ถ้างั้นผ่าตัดกันกลางอากาศเลยก็แล้วกัน”
คุณหมอวอลเลซและคุณหมอหว่อง
1
  • คนไข้มักเสียชีวิต ถ้าช่วยไม่ทัน
ตอนนั้น คุณหมอวอลเลซและคุณหมอหว่องต้องตัดสินใจผ่าตัดกลางอากาศเพื่อช่วยชีวิตของนิกสัน
🥼เครื่องมือผ่าตัดจะเอาที่ไหน❔❕
คุณหมอทั้งสองสำรวจเครื่องมือในกระเป๋าเครื่องมือหมอบนเครื่องบินจนได้ตามนี้
- สายสวนปัสสาวะมา
1 เส้น
- และได้ไม้แขวนเสื้อทำด้วยลวดมาอีก 1 อัน
- เขามองหาจนได้น้ำแร่
เอเวียงมาอีก 1 ขวด
1
- และสิ่งสุดท้ายที่เขานำมาใช้ในการผ่าตัดช่วยชีวิตครั้งนี้คือเหล้าคอนญัคอีกหนึ่งขวด ใช้ฆ่าเชื้อโรค
พยาธิสรีรวิทยาของการเกิดโรคและเทคนิคการผ่าตัดเพื่อช่วยชีวิต..ป้าพาขอเล่าอีกสักตอน..มันเล่ายากอยู่ค่ะ
เอาเป็นว่าในท้ายสุด..
ดิ๊กสันได้รอดชีวิตแล้วก็ได้แต่งงานกับชายคนรักสมใจ
❤️ ✈️ ❤️ ✈️
ส่วนคุณหมอทั้งสองก็ได้รับรางวัลใหญ่จากรัฐบาลอังกฤษ
ในวันรับรางวัล”มาร์กาเร็ต แธตเชอร์” นายกรัฐมนตรีอังกฤษในสมัยนั้นกล่าวชมเชยคุณหมอแองกัส วอลเลซ ว่า
⭐️“ พวกเราตื่นเต้นตกใจที่ได้ยินข่าวนี้ในครั้งแรกคือเดือนพฤษภาคมปีค.ศ. 1995”
“และวันนี้(วันมอบรางวัล)
เราได้ยินจากปากของคุณหมอเองที่เล่าเรื่องนี้ใหม่
..เราก็ยังตกใจอยู่”❕
🥼คุณหมอวอลเลซได้บริจาคเงินรางวัลจำนวน 5000 ดอลลาร์แก่มูลนิธิที่ทำงานวิจัยของมหาวิทยาลัยการแพทย์น็อตติงแฮมที่เขาเป็นอาจารย์อยู่
ป้าพาฝากไว้
- ท่านผู้อ่านคนไหน..หกล้ม ชนของแข็งหรือมีอุบัติเหตุกระแทกเข้าที่สีข้างลำตัว!!!
อย่าชะล่าใจนะคะ
ควรไปพบหมอแล้วก็ตรวจเอกซเรย์ปอดกันสักหน่อย..
👉เพราะเราอาจไม่โชคดีเท่ากับคุณดิ๊กสัน..ที่ได้พบ👇
“คุณหมอวอลเลซ วีรบุรุษสุดยอดหมอผ่าตัดกลางอากาศ..อันลือลั่น” กันนะคะ
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านที่ติดตามป้าพานะคะ
สวัสดีค่ะ
อ้างอิง
- และ”Readers digest”ฉบับเก่าเก็บที่บ้านค่ะ
ขอขอบคุณภาพจากวารสารทางแพทย์ British Medical Journal สำหรับภาพเครื่องมือทางการแพทย์บนเครื่องบิน Original ด้วยค่ะ
โฆษณา