Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Wilailuk Kuskorn
•
ติดตาม
20 ก.ค. 2022 เวลา 05:15 • ความคิดเห็น
"ทำอไจล์ได้อย่างไร หากไม่ใช่ทีมพัฒนาซอฟแวร์ (Developer Team)?"
ช่วงนี้มักจะได้รับคำถามเกี่ยวกับ
"จะทำอไจล์ได้ไหม ถ้าทีมไม่ใช่ทีมที่สร้างสินค้าหรือผลิตภัณฑ์?"
"อยากทำอไจล์ แต่ไม่มีงบประมาณสำหรับสกรัมทีม (Scrum Team) ทำอย่างไงดี?"
"ทำอไจล์ได้อย่างไร หากไม่ใช่ทีมพัฒนาซอฟแวร์ (Developer Team)?"
ไม่แปลกเลยค่ะที่จะได้ยินคำถามในทำนองนี้ เพราะ เรามักจะเห็นภาพการทำอไจล์ด้วยวิธีการ Scurm ซึ่งประกอบด้วย
- Product Owner (PO) ซึ่งทำหน้าที่รวบรวมความต้องการ ปัญหา อุปสรรค์ที่เกิดกับลูกค้า ทำความเข้าใจในส่วน Business และนำมาถ่ายทอดให้กับทีมงาน (Developer Team) รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยต้องพิจารณา ค้นหาให้เจอว่างานใดให้ผลตอบแทนมากที่สุด งานใดที่ตอบโจทย์ความต้องการ หรือช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าได้มากที่สุด หรืองานใดเป็นงานที่ก่อให้เกิด Impact มากที่สุด
- Scrum Master ผู้ซึ่งทำหน้าที่สังเกต พิจารณา คิด วิเคราะห์ สร้างความเข้าใจ พาทำ ช่วยทำ รวมถึงการกระตุ้นให้ทีมนำอไจล์มาประยุกต์ใช้ เช่น การบริหารจัดการและร่วมกันทำงานแบบไม่ยึดติดกับหน้าที่ใด หน้าที่หนึ่ง (Cross Functional Team)
- Developer Team ทีมที่ประกอบด้วย Programmer และ Tester เพื่อร่วมกันพัฒนาซอฟต์แวร์ และตรวจสอบคุณภาพก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า
ดังนั้นหากงานที่เราและทีมกำลังทำอยู่ไม่ตรงกับสิ่งที่ Product Owner, Scrum Master และ Developer Team กำลังทำอยู่ เราและทีมสามารถทำอไจล์ได้หรือไม่?
เป็นคำถามที่ดี และน่าสนใจมากนะคะ
ก่อนที่จะตอบคำถามนี้
อยากจะชวนทุกท่านมารู้จักกับ “Being Agile & Doing Agile” กันสักนิดนะคะ
https://www.youtube.com/watch?v=ltXWZLrjiHY
Doing Agile
Doing Agile คือการนำแนวคิดของอไจล์มาสร้างเป็นกระบวนการ เครื่องมือ ที่สามารถจับต้อง และนำไปปฏิบัติได้ ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างดังต่อไปนี้
- กระดานงาน (Kanban Boards)
- การสื่อสารภายในทีมทุกวัน อย่างสั้นๆ ไม่เกิน 15 นาที (Daily Scrums)
- การทำงานเป็นรอบสั้นๆ เพื่อตรวจสอบผล ทบทวนและปรับปรุง (Sprints)
แต่หากเราและทีมใช้เพียงกระบวนการ เครื่องมือ โดยปราศจาก ความเข้าใจ ความเชื่อมั่นในค่านิยม และคุณค่าของอไจล์แล้ว เราและทีมก็จะเป็นเพียงหุ่นยนต์ ที่ทำตามขั้นตอนกระบวนการได้อย่างถูกต้อง แต่ไม่เกิดอไจล์ภายในทีม เพราะ เราและทีมทำเพียงเพื่อให้ครบถ้วนตามกระบวนการเท่านั้น โดยไม่ได้คำนึงถึงหัวใจสำคัญของอไจล์ไม่สามารถปรับ เปลี่ยน ประยุกต์ ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร และสร้างวิถี หรือแนวทางการทำงานแบบอไจล์ในรูปแบบที่เหมาะกับทีม และองค์กร จนสุดท้ายนำไปสู่ความล้มเหลว
สิ่งที่สำคัญ ที่จะทำให้ Agile สำเร็จนั้นก็คือ Being Agile
Being Agile
Being Agile คือ แนวคิด ความเชื่อ คุณค่า ที่ประกอบเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความคล่องแคล่ว ดังนั้นไม่ว่าจะทำการกระบวนการใด วิธีการใด หากยังคงยึดหลัก แนวคิดของการทำงานที่สร้างความคล่องแคล่ว การสื่อสารทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด การไม่ยึดติดเพียงบทบาทหน้าที่ใด หน้าที่หนึ่ง แต่ทุกคนคำนึงถึงเป้าหมายของงาน รวมถึงการพัฒนาและปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง นั้นก็ถือว่าเป็นการทำอไจล์
มารู้จัก Being Agile ให้มากขึ้นอีกสักนิด ด้วยคำแถลงอุดมการณ์แห่งอไจล์ (4 Values)
https://agilemanifesto.org/iso/th/manifesto.html
หรือจำง่ายๆ ด้วย หัวใจแห่งความคล่องแคล่ว (Heart Of Agile)
ที่มา : https://heartofagile.com/
ทำงานร่วมกันสื่อสารกันบ่อยๆ (Collaborate) ไม่ยึดติดกับบทหน้า หน้าที่ใด หน้าที่หนึ่ง แต่ทุกคนเป็นส่วนหนึ่งของทีม ร่วมกันเพื่อให้ทีมบรรลุเป้าหมาย
ส่งมอบงานบ่อยๆ (Deliver) ตามลำดับความสำคัญ คุณค่าที่ลูกค้าต้องการ เพื่อตรวจสอบประเมินผล รับ Feedback จากลูกค้า ด้วยงานที่ลูกค้าสามารถใช้งานได้จริง
สะท้อนปัญหา จากงานที่เราส่งมอบ (Reflect) กลับมาทบทวนในสิ่งที่เกิดขึ้น อะไรที่เป็นแนวทางที่เหมาะกับทีม เก็บไว้ ส่วนอะไรที่ยังสามารถพัฒนาได้เพิ่มเติม ลองมองหาแนวทางใหม่ๆ เพื่อปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ
ปรับปรุงให้ดีขึ้น (Improve) อย่าปล่อยให้ความคุ้นชินเดิม คำว่ายุ่ง ไม่มีเวลา มาทำให้ทีมหยุดการปรับปรุง รู้แต่ไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เกิดผลใดๆ
สิ่งที่ฝนต้องการสื่อก็คือ ทุกคนสามารถทำอไจล์ได้ ไม่ว่าจะเป็นทำงานด้านใด บทบาทหน้าที่คืออะไร ก็สามารถนำอไจล์ มาประยุกต์ให้ได้ทั้งหมด ขอเพียงแค่สิ่งที่คุณทำนั้น มาจากหลักการและหัวใจแห่งความคล่องแคล่ว ^^
ลองประยุกต์ใช้หัวใจแห่งความคล่องแคล่วกับงานของคุณดูนะคะ
ตัวอย่างวิธีการค้นหาไอเดีย เพื่อสร้างวิธีการทำงานในแบบอไจล์
หากมีคำถาม หรือข้อสงสัยสามารถส่งมาพูดคุยกันได้เลยนะคะ ^^
บันทึก
4
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย