19 ก.ค. 2022 เวลา 15:50 • ปรัชญา
Chapter 1: “ลูกช้างจะพยายาม”
ผมเคยได้ยินมาว่า ชาวญี่ปุ่นเวลาเดินทางไปขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในศาลเจ้า พวกเขาและเธอจะลงท้ายคำอธิษฐานว่า
“ลูกช้างจะพยายาม!”
ผมยังเคยได้ยินมาอีกว่า “ลักษณะการทำงาน” มีอยู่สามประเภท คือ
i) “reactive”
คือการ “เฝ้ารอ” ให้เกิด “ปัญหา” ขึ้นก่อน แล้วจึงค่อยหาทางแก้ไขปัญหานั้นๆ
ii) “preactive”
คือการที่เรา “มองเห็น” ปัญหาที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นตั้งแต่เนิ่นๆ โดยที่ขณะนั้นปัญหาเหล่านั้นยังไม่เกิด แล้วเราเตรียมหา “ทางออก” ตั้งแต่เนิ่นๆเช่นกัน
iii) “proactive”
คือการที่เรายังมองไม่เห็นปัญหาที่อาจเกิด แต่เราก็ “พยายาม” ประเมินความเสี่ยงและวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นได้ จากความน่าจะเป็นของปัจจัยต่างๆ
ดังนั้นเมื่อผมพิจารณาคำว่า “ความหวัง” ผมจะมองว่า “ความหวัง” มีความหมายไปในทาง “reactive” มากกว่า “preactive” หรือ “proactive” เช่น
หากคุณวางแผนการ “เพาะปลูกพืชผักผลไม้” คุณไม่ควรที่จะ “คาดหวัง” ว่า
#คุณจะมีนำ้ใช้เพื่อการเกษตรตลอดปี
#คุณจะไม่พบเจอแมลงศัตรูพืช
#คุณจะไม่พบเจอปัญหาดินเค็มดินเปรี้ยว
ในทางตรงข้าม
ผมขอแนะนำให้คุณเปลี่ยนคำว่า “ความหวัง” เป็นคำที่ให้ความรู้สึกและอารมณ์ไปในทาง “preactive” และ “proactive” เช่น “ภารกิจ” (missions)
เมื่อคุณเปลี่ยนจาก “hope” เป็น “mission” โลกของคุณจะเริ่มมี “สีสัน” ด้วยเหตุผลที่ว่า
“คุณเริ่มที่จะต้องแสดงความรับผิดชอบ” ต่อ “mission” ของคุณ โดยที่คุณจะไม่ต้อง “ฝากความหวัง” (hope) ของคุณไว้กับ “ความเมตตา” ของสิ่งที่อยู่นอกเหนือ “อำนาจการควบคุม” ของคุณอีกต่อไป!
ดังเช่น กรณีที่คุณต้องการเป็นเกษตรกร
>คุณจะเริ่มศึกษาข้อมูลการจัดการนำ้และระบบชลประทานให้กับแปลงเพาะปลูกของคุณ
>คุณจะทำความรู้จักกับแมลงศัตรูพืชที่คุณมีโอกาสพบเจอในสวนของคุณ
>คุณจะเริ่มพูดคุยกับเจ้าหน้าที่จากกระทรวงเกษตรในท้องถิ่นของคุณเกี่ยวกับการปรับสภาพดิน เพื่อให้เหมาะสมกับชนิดของพืชผักที่คุณกำลังจะ
ลงต้นกล้า
ทั้งหมดทั้งมวลคือสมการที่ผมขอเรียกว่า
“responsibility taking equation”
O = S + A
O: Outcome/Objective
S: Situation
A: Action
และแน่นอนว่า “Action” หรือ “ความรับผิดชอบ” ที่คุณมีต่อ “mission” ของคุณ (Outcome) จะทำให้หัวใจคุณเต้นแรง! และคุณจะใช้พลังงานของคุณไปกับการหาคำตอบเพื่อ “บริหารจัดการ” กับ “Situation” ที่คุณพบเจอ โดยที่คุณจะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า “Hope” หรือความคาดหวัง ไม่ได้มีส่วนร่วมเป็น “ตัวแปร” (parameter) ในสมการ
นี้เลย!
และถ้าคุณต้องการ “ตัวช่วย” ใน “Action” ของคุณ ผมขอแนะนำข้อเขียนนี้ ของผม
Chapter 2: “Cloud & Dirt”
ก่อนที่ผมจะลงลึกถึงปรัชญานี้ ผมขอนำเสนอเรื่องราวของบุคคลผู้เป็นเจ้าของไอเดียนี้ ที่คุณพี่เขาทำงานด้าน Social media marketing ที่ผมชอบติดตาม contents ของแกบน Youtube จนผมเองเริ่มสนใจ Social media จนถึงทุกวันนี้
“I love losing” เป็นคำกล่าวของคุณพี่ท่านหนึ่งที่เขาและครอบครัวอพยพมาจากอดีตสหภาพโซเวียตเข้ามาอาศัยในดินแดนแห่งเสรีภาพประเทศนั้น ตั้งแต่เขาอายุประมาณสามขวบและพูดภาษาอังกฤษ ไม่ได้เลย และด้วยเงินที่ครอบครัวเขาติดตัวมาเพียงน้อยนิด
Gary Vaynerchuck ไม่ใช่เด็กที่ตั้งใจเรียน แม้แต่ครูที่โรงเรียนก็บอกว่าเขาจะไม่มีอนาคต นอกจาก Gary จะไม่เชื่อแล้ว ตอนนี้เขามีกิจการที่มีมูลค่ารวมประมาณ $200 ล้าน USD
มีบทสัมภาษณ์อันหนึ่งของเขาที่เขากล่าวไว้ว่า
“You Have To Make Your Actions Match Your Ambitions.”
ใช่ครับ! เมื่อคุณมี “Ambition” หรือ “Outcome” ในสมการ O = S+A ข้างต้น คุณต้องพึ่งพา “Action” ของคุณมากกว่าสิ่งใดๆ และมันจะไม่มีพื้นที่ให้กับ “Hope” อย่างเด็ดขาด!
อีกคลิปบทสัมภาษณ์หนึ่งของ Gary เขาได้อธิบายว่า
“Cloud” คือ “เหตุผลหรือแรงบันดาลใจ” ในการทำ “Action” เพื่อให้ได้ “Outcome” ที่คุณต้องการ
โดยที่
“Dirt” คือ การที่คุณต้อง “ลงมือทำ” (เป็น “Doer” หรือ “Practitioner”) ในระดับความสามารถที่คุณต้องรู้ในมิติทั้ง “กว้าง” และ “ลึก” จนกระทั่งคุณสามารถแสดงความรับผิดชอบต่อ “mission” ของคุณได้โดยไม่คิดจะพึ่ง “Hope”
Chapter 3: “Hand, Heart and Head”
ผมมีข้อคิดที่ผมมักบอกกับตัวเองว่า
“ความสำเร็จอยู่ที่ใจ, ความพยายามอยู่ที่มือ, และความคืบหน้าอยู่ที่หัวสมอง”
นั่นคือ ถ้าใจคุณไม่รักใน “Action” และ “Outcome” ซึ่งเป็น “mission” ของคุณ แล้วความสำเร็จจะมีขึ้นได้อย่างไร?
และถ้าคุณไม่ยอมลงมือทำ (getting your hands dirty) และคุณไม่ยอมพัฒนาตัวเองให้มีความรู้ความสามารถเพิ่มขึ้น แล้วคุณจะลบ “prefix: IM” ที่วางอยู่ในคำว่า “IMPOSSIBLE”
ของ
“mission”
ในชีวิตของคุณได้อย่างไร?
ผมขอยกตัวอย่าง “mission” ในชีวิตจริงๆของผมซึ่งผมต้องลงไปที่ “Dirt” หรือรายละเอียดของงานที่จะทำให้ผมตอบโจทย์ของ “Cloud” หรือเหตุผลในการทำ “mission” ให้บรรลุผล
ได้ดังนี้
1) “ผมเป็นคนชอบรถ”
1.1) “จะรู้ได้ยังไงว่า ได้เวลาเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ของผม?” (โดยไม่รอให้รถสตาร์ทไม่ติดเพราะ
แบตเตอรี่หมด!)
เมื่อผมตั้งคำถามนี้ในใจ ผมได้ออกแสวงหาคำตอบโดยทำการศึกษาเรื่องแบตเตอรี่รถยนต์มากขึ้น จนผมค้นพบ “คำตอบ” ว่า
มีอุปกรณ์ที่เรียกว่า “Battery Testers” ซึ่งใช้ทดสอบแบตเตอรี่ว่ามีสภาพการใช้งานอยู่กี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งข้อมูลนี้จะมีประโยชน์ต่อการตัดใจเปลี่ยนแบตเตอรี่ลูกใหม่ก่อนที่รถจะสตาร์ทไม่ติดเพราะแบตเตอรี่หมดอายุ
เวลานี้ผมได้จัดหาอุปกรณ์ดังกล่าวมาใช้งานกับรถที่ผมดูแลอยู่ และใช้มันทดสอบแบตเตอรี่ให้กับรถของญาติๆได้อีกด้วย!
1.2) “การเปลี่ยนแบตเตอรี่”
ผมได้ศึกษาการเปลี่ยนแบตเตอรี่รถยนต์ด้วยตนเองจนรู้ถึงเทคนิคที่เป็นรายละเอียดสำคัญที่ว่า
คุณควรถอด “ขั้วลบ” ก่อน แล้วจึงถอด “ขั้วบวก” และเมื่อคุณใส่แบตเตอรี่ลูกใหม่เข้าไปแล้ว คุณควรต่อ “ขั้วบวก” ก่อน แล้วจึงต่อ “ขั้วลบ” เป็นขั้นสุดท้าย
2) “ผมอยากจะทำยาแนวห้องน้ำใหม่ด้วยตนเอง”
ผมจึงศึกษาจนรู้เทคนิคที่สำคัญว่า
ในขณะที่คุณจะผสม “ผงยาแนว” กับนำ้เพื่อให้ได้ส่วนผสมที่มีลักษณะเหนียวข้นคล้ายปูน คุณต้องเทผงยาแนวลงในนำ้ ไม่ใช่เทนำ้ใส่ผงยาแนว! และหากส่วนผสมของยาแนวและนำ้ถูกคนให้เข้ากันแล้ว ถ้าหากมันเริ่มแห้ง ไม่ควรเติมน้ำเพิ่มเพื่อให้มันกลับไปเหลวอีกครั้ง! คุณควรคำนวณปริมาณส่วนผสมให้ใช้ได้หมดภายในเวลาครึ่งชั่วโมง ก่อนที่ยาแนวจะแข็งตัว!
3) “ผมดูแลผู้สูงอายุในบ้านรวมถึงเรื่องการปรุงอาหารด้วยตัวผมเอง”
ผมเองไม่ได้มุ่งเน้นไปที่เรื่องรสชาติ หากแต่ผมให้ความสำคัญกับความสะอาดและคุณภาพของวัตถุดิบในการทำอาหาร
และข้อมูลสำคัญอันหนึ่งในการทำอาหารที่ผมค้นพบคือ
“วัสดุ” ที่ถูกนำมาใช้ทำ “กะทะ” นั้น มีความแตกต่างกันในเรื่องของ “ความสามารถในการถ่ายเทความร้อน” (Thermal Conductivity Coefficient) เช่น
Carbon Steel จะมีค่าราว 50
Stainless Steel จะมีค่าราว 25
นั่นคือ “กะทะเหล็ก” จะถ่ายเทความร้อนได้ดีกว่า “กะทะสแตนเลส” !!!
แต่ “กะทะเหล็ก” ต้องดูแลมากกว่าเพราะมัน “ขึ้นสนิมได้” โดยหลังจากล้างทำความสะอาดแล้ว คุณต้องทำการ “seasoning” หรือเคลือบผิวกะทะด้วย “น้ำมัน” เพื่อป้องกันกระบวนการ “Oxidation” หรือการทำปฏิกิริยาระหว่างผิวของกะทะกับ Oxygen ในอากาศแล้วทำให้เกิดสนิมนั่นเอง!
โฆษณา