20 ก.ค. 2022 เวลา 03:07 • ท่องเที่ยว
ปราสาทบันทายโต๊ป .. ปันเตเมียนเจย (Banteay Meanchey)
Banteay Meanchey (Khmer: បន្ទាយមានជ័យ [ɓɑnˈtiəj miənˈcɨj]) .. ปันเตเมียนเจย เป็นจังหวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และมีพื้นที่กว้างเป็นอันดับที่ 13 ของของประเทศกัมพูชา และเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ Tonlé Sap Biosphere Reserve มีพื้นที่ติดกับประเทศไทยทางด้านปอยเป็ต (Poipet)
คำว่า Banteay Meanchey มีความหมายในภาษาเขมรว่า "fortress of victory" หรือป้อมแห่งชัยชนะ .. สถานที่สำคัญในเขตนี้มีอาทิเช่น Banteay Chhmar temple .. Banteay Neang and Banteay Torp temples
ในปี ค.ศ. 1795 พื้นที่ทางตะวันตกของปนะเทศกัมพูชาอยู่ภายใต้การปกครองของสยามประเทศ โดยขึ้นอยู่กับการปกครองของพระตะบอง (Phra Tabong หรือ Battambang) .. ซึ่งการอยู่ภายใต้การปกครองของสยามได้สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1907 เมื่อสยามได้แลกดินแดนแห่งนี้กับ ตราด และด่านซ้าย
ในปีเดียวกันนั้นเอง กษัตริย์ Sisowath ได้ตัดสินพระทัยแบ่งดินแดนนี้ออกเป็น 2 ส่วน คือ จังหวัด Battambang (รวมศรีโสภณ) และ จังหวัดเสียมราฐ .. ในปี ค.ศ. 1941 ประเทศไทยได้ผนวกเอาพื้นที่ทางด้านตะวันตกของกัมพูชามาอยู่ภายใต้การปกครองอีกครั้ง แต่แล้วในปี 1946 พื้นที่เหล่านี้ก็ถูกยึดไปอยู่ภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศส
ในช่วงสงครามกลางเมืองระหว่า ค.ศ. 1970-1980 บันเตเมียนเจยได้กลายเป็นสมรภูมิรบ และได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มีการฝังทุ่นระเบิดมากที่สุดของประเทศ เช่นเดียวกับ Pailin and Battambang ..
ปราสาทบันทายโต๊ป (Banteay Torp)
ปราสาทบันทายโต๊ป (Banteay Torp, Khmer: ប្រាសាទបន្ទាយទ័ព, pronounced Tor-op) มีความหมายในภาษาเขมรว่า 'Fortress of the Army’ หรือ ป้อมของกองทัพ .. ตั้งอยู่ห่างจากปราสามบันทายฉมาราว 12 กิโลเมตร หากเดินทางจากไทยจะถึงปราสาทแห่งนี้ก่อนค่ะ
เชื่อกันว่า .. พื้นที่แห่งนี้เคยเป็นที่ตั้งของกองทัพบกของเขมรโบราณในช่วงที่มีการศึกกับจามในสมัยการปกครองของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (r. 1181-1219)
ปราสาทบันทายโต๊ป สร้างขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่ 12 ถึงต้นศตวรรษที่ 13 หลังการสร้างปราสาทบันทายฉมาร์ เข้าใจว่าเป็นช่วงปลายรัชสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 .. วัตถุประสงค์ในการสร้างไม่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าศาสนสถานแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศและแสดงชัยชนะของเขมรเหนือกองทัพจาม อันเป็นเหตุให้เขมรมีอิทธิพลและสามารถปกครองพื้นที่นี้ได้เด็ดขาด .. หรืออาจะสร้างให้เป็นศาสนสถานประจำกองทัพในพื้นที่นี้
ปราสาทบันทายโต๊ป .. เป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ขนาดเล็ก (เทียบกับปราสาทบันทายฉมา) มีบางบทความที่บอกว่า ปราสาทบันทายโต๊ป มีส่วนคล้ายกับ ปราสาทพระป่าเลไลย์ (Palilay Temple) ในเมืองพระนคร ซึ่งมีรูปร่างคล้ายปล่องไฟ
ปราสาทบันทายโต๊ป .. เดิมเป็นหมู่อาคารที่มีลักษณะคล้ายปล่องไฟ (chimney-like towers) 5 ปล่อง เรียงรายในรูปแบบกากบาท เวลามองจึงทำให้เหมือนกับมีขนาดสูงใหญ่กว่าปราสาทโดยทั่วไป .. แต่เนื่องจากโครงสร้างไม่แข็งแรง จึงทำให้บางส่วนพังทลายลงมาเป็นกองศิลาชิ้นใหญ่ๆอยู่ทั่วบริเวณ
ในปัจจุบันเหลือให้เห็นเป็นรูปร่างแค่เพียงบางส่วนเพียง 3 ทาวเว่อร์ศิลาเท่านั้น แต่ก็อยู่ในสภาพที่ดูเหมือนใกล้จะพังเช่นกัน .. เวลาเดินชมและถ่ายภาพต้องปีนป่ายผ่านก้อนหินเหล่านี้
ดูเหมือนว่าศาสนสถานแห่งนี้จะไม่ได้รับการบูรณะมากเท่าไหร่ ซึ่งอาจจะด้วยเหตุที่มีงบประมาณในเรื่องนี้จำกัด เลยต้องจัดอันดับศาสนสถานที่ต้องดำเนินการบูรณะตามความสำคัญ .. เป็นผลให้เวลาเดินชมจะมีความรู้สึกว่าค่อนข้างจะไม่ค่อยปลอดภัยจากการที่อาคารที่เหลืออยู่อาจจะพังลงมาโดยไม่มีสัญญานเตือน
อย่างไรก็ตาม .. ภายในแต่ละทาวเว่อร์ยังมองเห็นส่วนค้ำยันถ่ายน้ำหนักเป็นเครื่องไม้ขนาดใหญ่ เป็นเครื่องประกอบในโครงสร้างปราสาท อยู่บ้าง
รวมถึงช่วงเหนือเพดานประตูแกะสลักเป็นรูปดอกบัวคงเหลืออยู่หลายจุด และมีคิ้วบัวสลักหินบนยอดผนังด้านในแต่ละคูหาปราสาท
... ไม่ปรากฏพบรูปประติมากรรมและทับหลังใดๆในตอนที่เราไปเดินชม
เนื่องจากแทบจะทุกบทความกล่าวว่า ปราสาทบันทายโต๊บมีลักษณะเช่นเดียวกับ ปราสาทพระป่าเลไลย์ (Palilay Temple) ในเมืองพระนคร .. จึงขอนำลักษณะของปราสาทพระป่าเลไลย์ มาเล่า ซึ่งอาจจะเทียบเคียงให้เห็นลักษณะเดิมของ ปราสาทบันทายโต๊บ ด้วยเหตุที่การสร้างศาสนสถานทั้ง 2 แห่งอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน
ปราสาทพระป่าเลไลย์ (Palilay Temple) ในเมืองพระนคร .. เป็นศาสนสถานที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างคติฮินดูและพุทธศาสนานิกายเถรวาท (เพียงแห่งเดียวที่พบในศิลปะขอม โดยเฉพาะในเมืองพระนคร นอกนั้นเป็นพุทธมหายาน) เป็นศาสนสถานที่ไม่มีจารึกกล่าวถึง ทำให้การประมาณอายุทำได้ยากยิ่ง แต่เชื่อว่าสร้างในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แต่ก็ชวนให้นึกว่าพุทธสถานที่นี้รอดมาจากการทำลายล้างในสมัยต่อมาได้อย่างไร .. หรืออาจะเป็นเพราะมีการสร้างในหลายยุคสมัยหรือไม่?
William Willetts (1918–1995) นักประวัตฺศาสตร์ศิลปะจีน (Chinese art historian) เชื่อว่าสถานที่แห่งนี้สร้างมาตั้งแต่ยุคของพระเจ้าสุริยะวรมันที่ 2 (1113–1149) โดยมีนาย Henri Marchal เข้ามาทำการเคลียร์พื้นที่ในปี 1918–19 และนาย Maurice Glaize เข้ามาบูรณะ ในปี 1937–38
ปราสาทพระป่าเลไลย์ .. ได้รับการวางผังในลักษณะกากบาทขนาด 8.5X30 เมตร ตัวปราสาทรูปทรงปล่องไฟขนาด 5 ตารางเมตร (William Willetts ให้ความเห็นว่า ส่วนนี้สร้างขึ้นมาภายหลังในยุคพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ครอบอาคารดั้งเดิม) ตั้งอยู่บนฐานสูงราว 6 เมตร สร้างจากหินทรายเรียงกัน 3 ชั้น
ทางเข้าด้านหน้าทางทิศตะวันออก มีชาลาทางเดินที่มีสะพานนาคขนาบอยู่ รวมถึงสิงห์ทวารบาล เหมือนกับปราสาทขอมที่อื่นๆที่มีระเบียงและคูหาทางเดิน .. เศียรทั้ง 7 ของพญานาคมีรัศมีเชื่อมเป็นแผ่นเดียวกัน ซึ่งเป็นศิลปะยุคนครวัดลงมา
ซุ้มประตูด้านในใกล้กับปราสาทประธาน เป็นซุ้มที่มี 3 ประตู ประตูตรงกลางหันมาทางทิศตะวันออก หน้าบันเป็นรูปพระพุทธเจ้ายืนท่ามกลางรูปบุคคล ทับหลังเป็นรูปพระพุทธไสยาสน์
ที่กล่าวมาทั้ง มดอาจจะใช้เทียบเคียงพอได้ว่า ในสมัยโบราณปราสาทหลังนี้น่าจะมีลักษณะเช่นใด .. แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดเป็นการคาดเดา
ด้านข้างศาสนสถานโบราณ .. เป็นที่ตั้งของวัดในพุทธศาสนา
มีรูปมาฝากค่ะ
โฆษณา