Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Dime!
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 ก.ค. 2022 เวลา 12:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
สรุป วิกฤติญี่ปุ่นกับ 10 ปีที่หายไปและเอาคืนมาไม่ได้
เมื่อพูดถึงญี่ปุ่น เรามักนึกถึง เกม การ์ตูน อาหาร ขนม รถยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสถานที่ท่องเที่ยว แต่มีน้อยคนที่รู้ว่าญี่ปุ่นเคยมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสองของโลก แต่หลังจากฟองสบู่แตกครั้งใหญ่ เศรษฐกิจญี่ปุ่นเข้าชะงักเป็นเวลานานหลายปี จนถึงกับมีคำพูดที่ว่านั่น คือ “ทศวรรษที่หายไปของญี่ปุ่น”
🎈 จุดเริ่มต้นของทศวรรษที่หายไปของญี่ปุ่น
เรื่องนี้ต้องเล่าย้อนไปหลังช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง ในปี 1945 ญี่ปุ่นในฐานะผู้พ่ายแพ้สงครามก็ถูกควบคุมโดยฝ่ายสัมพันธมิตรด้วยการกำหนดนโยบายการปกครอง การเมือง และเศรษฐกิจ
ช่วงนี้เองที่ญี่ปุ่นรับเอาวัฒนธรรมของชาวตะวันตกเข้ามาจำนวนมากผ่านทางสินค้าและบริการ แต่คนญี่ปุ่นไม่ได้หยุดอยู่แค่นั้น พวกเขาเลียนแบบและพัฒนาสินค้าให้ดีขึ้น แถมยังมีต้นทุนที่ถูกกว่าสินค้านำเข้าของชาวตะวันตก
🎈 2 สิ่งที่ทำให้สินค้าญี่ปุ่นเอาชนะสินค้าตะวันตกได้
1. ญี่ปุ่นแพ้สงครามทำให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าลงไปมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ ทำให้ผู้ผลิตญี่ปุ่นสามารถตั้งราคาสินค้าได้ถูกกว่าคู่แข่งอื่น ๆ ในโลก
2. คนญี่ปุ่นรู้สึกว่าต้องดิ้นรน สู้ชีวิต ขยันทำงาน เพื่อฟื้นฟูประเทศให้ดีขึ้น จึงต้องขยันและทำงานหนักมาก
🎈 จากผู้แพ้สงคราม กลายเป็นประเทศที่เศรษฐกิจมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก
ในช่วงปี 1952-1980 เป็นตอนที่ญี่ปุ่นเข้าสู่ยุครุ่งเรืองถึงขีดสุด อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจสูงมาก จนบางช่วงเวลาเศรษฐกิจญี่ปุ่นเคยขยายตัวอยู่ในระดับ 10% ติดต่อกันหลายปี
ความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศดีขึ้นกว่าแต่ก่อนมาก ด้วยฟันเฟืองหลักอย่างการส่งออกที่แข็งแกร่ง เนื่องจากสินค้าญี่ปุ่นยังได้ประโยชน์จากค่าเงินเยนที่อ่อนค่าต่อเนื่องมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง
การจ้างงานจึงเกิดขึ้นตลอดเวลา เพราะผู้คนวัยทำงานมีไม่เพียงพอต่อตลาดแรงงาน ส่งผลให้เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าแรง เลยปรับตัวขึ้นสูงตาม ทำให้ยุคสมัยในตอนนั้นญี่ปุ่นเต็มไปด้วยโอกาสมากมาย
🎈 จุดเริ่มต้นของปัญหาเงินเฟ้อและฟองสบู่ในราคาสินทรัพย์
ตอนนั้นธนาคารญี่ปุ่นมีความแข็งแกร่งมาก มีเงินสดล้นมือจนต้องหาทางระบายออก แต่ด้วยเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูมายาวนาน ทำให้การปล่อยสินเชื่อในช่วงเวลานั้นค่อนข้างหละหลวม ประชาชนมาขอเงินกู้ได้ไม่ยาก
ระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเลยมีเม็ดเงินหมุนเวียนจำนวนมาก ประชาชนเริ่มใช้เงินเพื่อการบริโภคและใช้จ่ายไปกันสินค้าฟุ่มเฟือยมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าหลายอย่างปรับตัวขึ้น เงินเฟ้อญี่ปุ่นเลยยืนอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยราว 5% เป็นเวลาหลายปี
นอกจากนั้น ผู้คนยังใช้เงินไปกับการเก็งกำไรในสินทรัพย์ลงทุนจำนวนมาก ทั้งบ้าน ที่ดิน และตลาดหุ้น จนเริ่มมีสัญญาณการเกิดฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่าง ๆ
🎈 ปี 1985 หลายประเทศเริ่มรู้สึกว่าถูกญี่ปุ่นเอาเปรียบ
เหตุเกิดจากสินค้าญี่ปุ่นเป็นที่ชื่นชอบมากในต่างประเทศ เพราะในเมื่อสินค้าญี่ปุ่นก็มีคุณภาพที่ดีเหมือนกับสินค้าในประเทศ แต่ราคาถูกกว่าเยอะมาก ก็ซื้อสินค้าญี่ปุ่นสิ ทำไมต้องซื้อสินค้าที่แพงกว่าล่ะ
สาเหตุที่สินค้าญี่ปุ่นมีราคาถูกกว่าสินค้าของชาติตะวันตก เพราะค่าเงินเยนอ่อนค่ามาโดยตลอดหลังสงครามโลก ทำให้ผู้ผลิตสินค้าชาวญี่ปุ่นสามารถตั้งราคาขายที่ถูกกว่าโดยกินส่วนต่างกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน
ชาติตะวันตกรู้ดีว่า หากทิ้งไว้แบบนี้ระยะยาวคงไม่เป็นผลดีต่อประเทศแน่ ๆ นั่นทำให้เกิดข้อตกลงการค้า “Plaza Accord” เข้ามากำหนดให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นทันทีราว 50% จากระดับ 250 เยนต่อดอลลาร์ เป็น 125 เยนต่อดอลลาร์
2
นั่นแปลว่าราคาสินค้าญี่ปุ่นจะแพงขึ้นทันทีราว 50% ในสายตาของชาวตะวันตก แต่ในขณะเดียวกันชาวญี่ปุ่นก็จะมีอำนาจในการซื้อสินค้าต่างประเทศมากขึ้นทันทีราว 50%
🎈 เมื่อเรากำลังสนุกสุดเหวี่ยงอยู่ในงานปารตี้ เราจะไม่มีทางรู้เลยว่างานใกล้จบแล้ว
เศรษฐกิจญี่ปุ่นคึกคักมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ประชาชนเองก็ใช้จ่ายอู้ฟู่กันอยู่แล้ว ทีนี้พอมีอำนาจในการซื้อสินค้าต่างประเทศในราคาถูกกว่าเดิมถึง 50% คนญี่ปุ่นเลยนำเข้าสินค้าต่างประเทศเยอะกว่าเดิมมาก
บรรยากาศช่วงนั้นเต็มไปด้วยความตื่นเต้นและความโลภ ดูเหมือนว่า “เงินเป็นสิ่งที่หาง่าย” ด้วย 2 เหตุผลหลักดังนี้
1. ธนาคารญี่ปุ่นอยากปล่อยกู้ เพราะตัวเองมีเงินสดเยอะ ดังนั้นยิ่งปล่อยกู้ได้มากเท่าไหร่ รายได้จากดอกเบี้ยเงินกู้ก็จะเยอะขึ้นตาม
2. ต้นทุนการกู้ยืมเงินต่างประเทศถูกกว่าเดิมเยอะมาก หลังค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นราว 50% แต่ก่อนต้องใช้เงิน 250 เยนถึงจะได้ 1 ดอลลาร์ มาตอนนี้ใช้เงินแค่ 125 เยนก็แลกได้ 1 ดอลลาร์แล้ว
ทีนี้เมื่อระบบเศรษฐกิจมีเม็ดเงินไหลเวียนมากขึ้น ย่อมมีเม็ดเงินบางส่วนที่ไหลเข้าไปสู่การเก็งกำไรในสินทรัพย์ต่าง ๆ เสมอ แต่ปัญหาคือการเก็งกำไรมันเกิดขึ้นนานแล้ว ไม่ใช่มาเกิดเอาตอนนี้
ราคาสินทรัพย์หลายอย่างพุ่งขึ้นสูงมาก เช่น ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวจากระดับ 11,500 จุด ในต้นปี 1985 พุ่งขึ้นสู่ระดับ 37,800 จุด ตอนสิ้นปี 1989 คิดเป็นอัตราผลตอบแทนทบต้นราว 27% ต่อปี
🎈 สุดท้ายงานปาร์ตี้ก็ต้องจบลง
ปี 1989 ธนาคารกลางญี่ปุ่นมีความกังวลต่อภาวะเงินเฟ้อและฟองสบู่ที่เกิดขึ้นในสินทรัพย์หลายชนิด จึงตัดสินใจขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้จากระดับ 2.5% สู่ระดับ 6.0% ในช่วงปลายปี 1990
หลังจากนั้นฟองสบู่ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นก็แตกทันที ดัชนี Nikkei 225 ปรับตัวจากระดับ 37,800 จุด ตอนสิ้นปี 1989 ทิ้งตัวลงสู่ระดับ 20,200 จุด ช่วงสิ้นปี 1990 และยังลงต่อไปถึงระดับ 14,800 จุด เมื่อกลางปี 1992
1
🎈 ญี่ปุ่นเดินหน้าเข้าสู่ยุคทศวรรษที่หายไป (The lost Decade)
หลังจากที่ฟองสบู่แตกลง เศรษฐกิจญี่ปุ่นก็ไม่สามารถกลับไปเติบโตได้เหมือนในระดับก่อนหน้านั้นอีกเลย และถ้าเรามองย้อนหลังกลับไป 10 ปีที่ผ่านมา GDP ของญี่ปุ่นขยายตัวอยู่ในช่วง 0-2% ซึ่งแปลว่าบางปีเศรษฐกิจก็ไม่ขยายตัวเลยด้วยซ้ำ
ซึ่งเป็นผลกระทบจากความมั่งคั่งของชาวญี่ปุ่นที่สูญเสียไปจากเหตุการณ์ฟองสบู่แตก จนถึงทุกวันนี้คนญี่ปุ่นหลายคนก็ยังคงฝากเงินไว้ในธนาคาร แม้ดอกเบี้ยจะต่ำมากแทบจะไม่ได้อะไร ก็ไม่อยากจะเอาเงินไปลงทุน
แถมยังไม่ค่อยกล้าใช้เงินอีก ทีนี้พอผู้คนไม่บริโภค บริษัทก็ขายสินค้าได้น้อยลง สุดท้ายก็ต้องปลดพนักงาน อัตราการว่างงานก็เลยสูงขึ้น พอวนแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ทำให้บางปีญี่ปุ่นก็ต้องเผชิญเงินฝืดซึ่งไม่เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจแน่นอน
📌 เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า ไม่มีอะไรยั่งยืน มีวันรุ่งเรือง ก็มีวันตกต่ำได้เหมือนกัน
อ้างอิง
www.investopedia.com
www.thebalance.com
data.worldbank.org
เยี่ยมชม
blockdit.com
Dime!
1.5K ผู้ติดตาม Dime! อยากให้การเงินการลงทุน เป็นเรื่องที่ทุกคนเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม ติดตามเราในช่องทางอื่น facebook.com/dimeinvest tiktok.com/@dime.finance
"เพราะการเงินเป็นเรื่องของทุกคน"
พวกเรากลุ่มคนที่รักเรื่องราวของการเงินการลงทุนเป็นชีวิตจิตใจ จึงก่อตั้งเพจ Dime! (ไดม์!) ขึ้น
Dime! แปลว่าเหรียญ 10 เซนต์ (ประมาณ 3 บาท) สื่อถึงความตั้งใจของเราที่จะทำให้การเงินการลงทุนเป็นเรื่องที่คุณเข้าถึงได้ เข้าใจง่าย และนำไปประยุกต์ใช้ต่อได้จริง เหมือนกับเงิน 1 ไดม์ ที่ใคร ๆ ก็สามารถเข้าถึงได้
หากทุกคนมีความรู้ทางการเงินที่แข็งแรง
สังคมของเราก็จะดีขึ้นตามไปด้วย
ประวัติศาสตร์
ญี่ปุ่น
เศรษฐกิจ
7 บันทึก
12
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
#HowCrisisWorks วิกฤติการเงินโลกเกิดขึ้นยังไง
7
12
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย