Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนแมน
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
20 ก.ค. 2022 เวลา 11:50 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เยอรมนี ขาดดุลการค้าครั้งแรก ในรอบ 30 ปี
เมื่อปีที่แล้วเยอรมนีเป็นประเทศที่มีมูลค่าการค้าเกินดุลสูงที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก
เป็นรองเพียงแค่จีนเท่านั้น
และตลอดหลายปีที่ผ่านมา เยอรมนีเป็นประเทศที่เกินดุลการค้ามากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกมาโดยตลอด
แต่ปีนี้ บัลลังก์ของเยอรมนีกำลังสั่นคลอน เพราะกำลังประสบปัญหาขาดดุลการค้า
แถมยังเป็นการขาดดุลครั้งแรกในรอบ 30 ปี
แล้วมันเกิดอะไรขึ้น ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
1
ก่อนที่เราจะตอบคำถามนี้ได้ ต้องย้อนกลับไปทำความเข้าใจถึงพัฒนาการของเยอรมนีก่อน
ย้อนกลับไปในสมัยปี ค.ศ. 1871 ภายหลังจากที่เยอรมนีรวมชาติเป็นจักรวรรดิเยอรมันได้สำเร็จ
รัฐบาลเยอรมนีในสมัยนั้น ได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาความรู้ด้านวิทยาศาสตร์
เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ ให้สามารถสู้กับประเทศมหาอำนาจอื่น ๆ ได้
ต้นทุนความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ที่ประเทศเยอรมนีสะสมมาตั้งแต่ในยุคจักรวรรดิ
ทำให้เยอรมนีสามารถใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นำพาประเทศให้รอดพ้นจากวิกฤติมาได้ทุกครั้ง
ซ้ำยังสามารถรักษาความเป็นประเทศที่เกินดุลการค้าอันดับต้น ๆ ของโลกไว้ได้
โดยมีสินค้าส่งออกหลัก คือ ยานยนต์ เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์
1
ส่งออกไปยังคู่ค้าหลักคือ สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และจีน
1
ตลอดระยะเวลากว่า 30 ปีที่ผ่านมา เยอรมนีไม่เคยรายงานตัวเลขขาดดุลการค้าเลย
แม้แต่เดือนเดียว
จนกระทั่งในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา
สำนักงานสถิติของเยอรมนีรายงานว่า เยอรมนีมียอดการส่งออกอยู่ที่ 4.58 ล้านล้านบาท
ขณะที่ยอดการนำเข้าอยู่ที่ 4.62 ล้านล้านบาท
ส่งผลให้ในเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา เยอรมนีขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกในรอบ 30 ปี
ซึ่งสาเหตุที่เยอรมนีขาดดุลการค้า ก็เนื่องมาจากราคาสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น 30.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ในขณะที่ราคาสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 15.9% ในช่วงเวลาเดียวกัน
1
อันเป็นผลมาจากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครน
ที่ทำให้ราคาอาหารและพลังงานปรับตัวสูงขึ้น
ดูเผิน ๆ เยอรมนีก็ประสบปัญหาเงินเฟ้อด้านราคาพลังงานที่สูงขึ้น เหมือนหลาย ๆ ประเทศในยุโรป
แต่ในความเป็นจริงแล้ว เยอรมนีพึ่งพาพลังงานจากรัสเซียมากกว่าประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น ๆ ในยุโรป
เพราะหลังจากเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกูชิมะ รัฐบาลเยอรมนีได้ประกาศยกเลิกการใช้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อย่างเด็ดขาดภายในปี 2022
โดยเยอรมนีเปลี่ยนจากการพึ่งพาไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในสัดส่วน 40%
ไปใช้แก๊สธรรมชาติจากรัสเซียมากถึง 50%
1
ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง
อิตาลี พึ่งพาแก๊สธรรมชาติจากรัสเซีย 46%
ฝรั่งเศส พึ่งพาแก๊สธรรมชาติจากรัสเซีย 24%
2
นอกจากนี้ การล็อกดาวน์ในจีน ทำให้ความต้องการสินค้าที่เยอรมนีส่งออกลดลงอีกด้วย
และอนาคตก็มีแนวโน้มว่ารัสเซียจะทยอยลดปริมาณการส่งออกพลังงานให้เยอรมนี
เพื่อเป็นการตอบโต้กลุ่ม NATO ที่สนับสนุนอาวุธให้กับยูเครน
2
เหตุการณ์ในครั้งนี้ บีบให้เยอรมนีต้องหันกลับไปพึ่งพิงพลังงานถ่านหิน
และพลังงานจากประเทศอื่นที่อยู่ห่างไกลออกไป ทำให้จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมต้นทุนการนำเข้าพลังงานให้สูงขึ้นไปอีก
1
นอกจากนี้ต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น อาจจะทำให้ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีชะลอตัวลง
ซึ่งจะยิ่งสร้างความยากลำบากให้กับประเทศที่พึ่งพาการส่งออกอย่างเยอรมนีมากขึ้นไปอีก
4
น่าสนใจว่าแนวโน้มของราคาพลังงานที่กำลังสูงขึ้น จะทำให้เยอรมนีเผชิญกับการขาดดุลการค้าไปอีกนานเท่าไร แต่ในตอนนี้คนเยอรมันหลายคนอาจบอกว่า เขาไม่เคยเจอเหตุการณ์แบบนี้มาก่อนเลยในชีวิต
2
หนังสือ BRANDING THE NATION หนังสือที่เล่าถึงการสร้างแบรนด์ของแต่ละประเทศที่ทำให้ แต่ละประเทศเป็นแบบทุกวันนี้
เช่น ทำไมเยอรมนีเป็นประเทศแห่งรถยนต์ ทำไมฝรั่งเศสเป็นประเทศแห่งแบรนด์หรู สั่งซื้อเลยที่
Lazada :
https://www.lazada.co.th/products/i3719091419.html
Shopee :
https://shopee.co.th/ลงทุนแมน-หนังสือ-BRANDING-THE-NATION-สร้างแบรนด์-แทนประเทศ-i.116732911.17558974952
References
-
https://countryeconomy.com/
-
https://www.cnbc.com/2022/07/05/germanys-much-vaunted-trade-surplus-disappears-as-import-prices-surge.html
-
https://www.ft.com/content/6f325773-bf8a-4e28-9fc1-6bc986ee90fa
-
https://tradingeconomics.com/germany
-
https://www.destatis.de/EN/Press/2022/07/PE22_279_51.html;jsessionid=F164C23049D490024A9C3573BC008758.live741
-
https://www.posttoday.com/world/91619
-
https://www.ktbst.co.th/special-article/c2755dba-af3d-42ca-b3dd-15fad103b625
เศรษฐกิจ
เยอรมนี
18 บันทึก
56
14
18
56
14
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย