Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
BrandCase
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
21 ก.ค. 2022 เวลา 10:50 • ธุรกิจ
กรณีศึกษา กลยุทธ์ขายตุ๊กตา กลางดงเฟอร์นิเจอร์ ของ IKEA
เคยสงสัยกันไหมว่า เวลาไปซื้อเฟอร์นิเจอร์ หรือของตกแต่งบ้านที่ IKEA เมื่อเดินไปถึงโซนตุ๊กตา กองโต ๆ น่ารัก ๆ ทำไมหลายคนถึงอดใจไม่ไหว จนต้องซื้อตุ๊กตาติดมือกลับมาด้วย
ทั้ง ๆ ที่ตุ๊กตาเหล่านั้น อาจไม่ได้อยู่ในลิสต์รายการสินค้าที่ตั้งใจจะไปซื้อตั้งแต่แรก
2
ซึ่งนี่ก็คือ กลยุทธ์ขายตุ๊กตา กลางดงเฟอร์นิเจอร์ ของ IKEA ที่น่าสนใจไม่น้อย..
กลยุทธ์นี้มีชื่อว่า “Bulla Bulla” หนึ่งในกลยุทธ์ของ IKEA ที่ใช้หลักจิตวิทยา ในการกระตุ้นกับอารมณ์ของเรา เพื่อทำให้เราเลือกซื้อสินค้า เพราะเห็นว่า ราคาถูก
1
แต่ก่อนที่จะพูดถึงกลยุทธ์ Bulla Bulla เรามาทำความรู้จักกับ Gruen Effect กันก่อน
โดย Gruen Effect คือปรากฏการณ์ทางจิตวิทยา ที่ทำให้เราเลือกซื้อของ ที่ไม่ได้ตั้งใจจะซื้อได้มากขึ้น
ซึ่งผู้ที่คิดค้นปรากฏการณ์นี้ คือคุณ Victor Gruen สถาปนิกชาวออสเตรีย
ที่เขาค้นพบว่า เมื่อลูกค้าเข้าไปในห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าที่ถูกออกแบบมาให้มีความซับซ้อน และมีหลายซอกซอย จะทำให้ลูกค้าใช้เวลาอยู่ในสถานที่นั้น ๆ นานขึ้น
1
เมื่อใช้เวลาในนั้นนาน ๆ ก็มีโอกาสทำให้ลูกค้าเริ่มอินกับบรรยากาศ ในระหว่างที่เดิน และเพลิดเพลินไปกับการได้มองสินค้า ที่นอกเหนือจากที่ตั้งใจจะมาซื้อมากขึ้น จึงทำให้เกิดการเลือกซื้อสินค้าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นแบบไม่ตั้งใจ
ซึ่ง IKEA ก็ได้นำ Gruen Effect มาประยุกต์ใช้กับการออกแบบ แผนผังทางเดินในร้าน
จัดสรรพื้นที่ภายในร้านให้เป็นหมวดหมู่ และมีลูกศรคอยแนะนำเส้นทาง เพื่อที่ลูกค้าจะได้เดินดูสินค้าได้ครบทุกหมวดหมู่ตามที่ IKEA ตั้งใจวางไว้
แล้วทีนี้ กลยุทธ์ Bulla Bulla เกี่ยวอะไรกับปรากฏการณ์ Gruen Effect ที่เพิ่งเล่าไป ?
ต้องบอกว่า Bulla Bulla เป็นคำศัพท์เฉพาะของ IKEA เอง ที่ใช้นิยามกลยุทธ์ที่ “สร้างความรู้สึกตื่นเต้น” เมื่อได้พบสิ่งแปลกใหม่ ผ่านสินค้ากองโต ๆ น่ารัก ๆ
ซึ่งวิธีของ IKEA คือการนำตุ๊กตาน่ารัก ๆ จำนวนมาก มากองรวม ๆ กัน แล้วขายในราคาไม่แพง
เช่น ตุ๊กตาน้องหมา กูสซิก โกลเด้น, ตุ๊กตาฉลาม บลัวฮัย, ตุ๊กตาหมี ฟอเบร์ บเยิร์น
เมื่อลูกค้ามาเจอความน่ารักของกองตุ๊กตา
จะทำให้สมองหลั่งฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) ที่มีบทบาทต่อการควบคุมอารมณ์ และความรู้สึกมีความสุขของเราออกมา
เท่านั้นยังไม่พอ IKEA ยังจะจัดวางตำแหน่งของกองตุ๊กตา ให้อยู่ท่ามกลางสินค้าที่มีราคาสูงที่กว่าอย่างชัดเจน อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้านชิ้นใหญ่ ๆ
ที่ทำแบบนี้ก็เพื่อ ทำให้ลูกค้ารู้สึกว่าตุ๊กตาเหล่านี้ มีราคาที่ไม่แพง เมื่อเทียบกับราคาสินค้าโดยรอบ ก็จะสามารถกระตุ้นให้ลูกค้าซื้อได้ไม่ยาก นั่นเอง..
และแน่นอนว่าการที่ลูกค้าหยิบซื้อตุ๊กตา หรือสินค้าอื่น ๆ นอกเหนือจากเฟอร์นิเจอร์
อีกส่วนหนึ่ง ก็มาจากอารมณ์และความรู้สึกที่ถูกกระตุ้นจาก Gruen Effect ตลอดเส้นทางด้วยเช่นกัน
เหมือนกับที่คุณ Richard La Graauw ผู้อำนวยการฝ่าย Creative ของ IKEA ในสหรัฐอเมริกา เคยกล่าวไว้ว่า
“ 20% ของการตัดสินใจซื้อของผู้คนนั้น ขึ้นอยู่กับตรรกะและความต้องการ
แต่อีก 80% ผู้คนจะใช้อารมณ์ในการตัดสินใจ ”
1
References
-
https://medium.com/choice-hacking/the-gruen-effect-how-ikeas-store-design-makes-you-buy-more-27316f330385
-
https://medium.com/choice-hacking/how-ikea-used-psychology-to-become-the-worlds-largest-furniture-retailer-7444a502daa1
-
https://www.choicehacking.com/2020/10/28/how-ikea-uses-psychology-to-become-the-worlds-largest-furniture-retailer/
-
https://www.ikea.com/th/th/cat/soft-toys-18740/
-
https://wiseok.co.th/article/get-to-know-techniques-to-increase-sales-and-help-customers-make-purchasing-decisions-easier-through-the-tactics-of-bulla-bulla
-
https://www.okmd.or.th/okmd-kratooktomkit/4049/
-
https://bit.ly/3PDYykc
ธุรกิจ
ikea
12 บันทึก
22
15
12
22
15
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย