Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
PHARM DRiP
•
ติดตาม
21 ก.ค. 2022 เวลา 09:47 • สุขภาพ
‘คุณเภสัชพอดีได้ยา Mucosta กับ Glaviscon มานี่กินพร้อมกันได้มั้ยคะ?’
อย่างแรกที่ต้องนึกได้คือ Mucosta นี่มันยาอะไร ในเสี้ยววิตอนนั้นเป็นความคุ้นเคยล้วนๆ Mucosta เสียงคล้ายๆ Mucus ยาเคลือบกระเพาะ!!! (แต่ชื่อตัวยาก็ยังไม่แวบขึ้นมา) พอได้ขึ้นชื่อว่าเคลือบแล้ว มันต้องมีตีกันกับยาตัวอื่นแน่เลย
จริงเหรอ?
ก่อนจะตอบคำถาม ขอ Remide เกี่ยวกับยากลุ่มเคลือบชั้นผิวกระเพาะกัน
การเสริมให้กระเพาะแข็งแกร่งไม่ใช่เรื่องง่าย กรดในกระเพาะที่ใช้ในการย่อยมหากาพย์ชาบูของเราเมื่อช่วงเย็นไม่ใช่กระจอก ไม่งั้นเราคงไม่สามารถต่อด้วยเนื้อย่างเย็นวันต่อไป
อย่างแรก การที่กระเพาะจะปกป้องตัวเองได้ จำเป็นต้องมั่นใจให้ได้ว่ามีการไหลเวียนของเลือดอย่างเพียงพอในชั้น Mucosal ผ่านการกระตุ้นการสร้าง growht factor ต่างๆ และ Nitric oxide
อย่างที่สอง การใช้ Prostaglandin E2 and prostacyclin (PGI2) สารที่มากระตุ้นให้มีการสร้าง Mucus เหนียวๆ ที่มี pH เป็นกลางเคลือบกระเพาะไว้ และยังกระตุ้น Mucosal Brunner glands ที่ลำไส้เล็กส่วนต้นให้สร้าง Bicarbonate เพื่อปกป้องลำไส้เล็กของเรา ประเด็นคือ PGE2/PGI2 จะมีการสร้างน้อยลงเมื่อเรากินยากลุ่ม NSAIDs
ยากลุ่มนี้หลัก ๆ มี 3 ตัวที่ได้ยินบ่อย
💊 #Misoprostol หรือที่เราจำได้แม่นกว่า ‘Cytotec’
ตัวนี้คือ PG Analogue แน่นอนมาเพิ่ม PG ขนาดนี้ต้องช่วยปกป้องกระเพาะจากการใช้ยา NSAIDs นานๆ ได้แน่ แต่เดี๋ยวก่อน
ประเด็นหลักคืออาการข้างเคียงแรงมาก เจ้า PG นี้ส่งผลต่อการบีบตัวของมดลูก จนกลายเป็นยาควบคุมพิเศษที่มีเฉพาะในโรงพยาบาล (แต่เหมือนจะมีอยู่เกลื่อนเน็ตTT) และถูกนำไปใช้ในการรักษาทางสูตินารีเวชเสียมากกว่า หากจะมีการใช้จริง ๆ เพื่อปกป้องกระเพาะ ก็อาจจะต้องเตือนเรื่องอาการท้องเสียที่พบได้มากถึง 3 ใน 10 คน และยังต้องกินถี่มาก 3 - 4 ครั้งต่อวัน
💊 #Sucralfate หรือที่ได้ยินบ่อย ‘Ulcefate’
ยาเคลือบกระเพาะที่มีมายาวนาน ตัวยาเป็น octasulfate of sucrose ที่เติม Al(OH)3 ทำงานโดยภาวะกรด (pH < 4) ยาจะเกิดการ Cross-link กันเป็นโพลิเมอร์เหนียว ๆ เกาะติดกับผนังกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ยังกระตุ้นการสร้าง PGE2 และ Epidermal growth factor ได้ด้วย
ลักษณะยาหลัก ๆ 2 อย่าง จึงมีผลต่อการกินยาและการใช้ยาอื่น
<1.> ต้องใช้กรดกระตุ้นการทำงานของยา -> จึงควรกินก่อนอาหารประมาณ 1 hr และไม่ควรกินยากลุ่ม Antacid/Glaviscon ภายใน 30 นาทีหลังจากกิน Sucralfate เนื่องจากมันไปลดสภาวะกรดจนส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา
<2.> เกิดเป็น Polymer เหนียว ๆ -> จึงเป็นเหตุให้ทานห่างจากยาอื่น ๆ อย่างน้อง 2 hr นั่นเอง
💊 #Rebamepride หรือที่เรารู้ในชื่อ ‘Mucosta’
ยาเคลือบกระเพาะที่ใช้กันเยอะในแถบเอเชีย ต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น มีกลไกปกป้องกระเพาะเยอะมาก หลัก ๆ คือ กระตุ้นการสร้าง PG Epidermal growth factor NO และที่เด่นอีกอย่างคือ ลดการเกิดกระบวนการอักเสบในบริเวณแผลด้วย
ข้อดีคือ ไม่ได้มีเงื่อนไขในการออกฤทธิ์ของยามากมาย กินก่อนหลังอาหารไม่มีปัญหา ยาออกฤทธิ์เป็นหลักที่กระเพาะถูกดูดซึมน้อยมากแค่ 5% ขับทางไต ไม่ผ่านตับ ยาตีกันคือไม่มีเลย ปลอดภัยสุด แต่ด้วยความเป็นยาค่อนข้างใหม่จึงเลี่ยงการใช้ในเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร
ข้อเสีย กินบ่อย 3 ครั้งต่อวัน ปกติมักไม่ให้ตัวเดี่ยวๆ นิยมให้กับ PPI โดยพบว่าการใช้ร่วมกัน 2 สัปดาห์ทำให้แผลให้กระเพาะดีขึ้นเร็วกว่าการไม่ได้ยา อีกทั้งราคาสูงนิดนึง กับประสิทธิภาพเป็นการช่วยเสริมมากกว่า
จบไปแล้ว และหวังว่า #เรื่องเล่าโทรศัพท์สายไหม้ นี้จะมีคำตอบแล้วค่ะ
Ref.
MIMS Thailand
Goodman and Gilman's The Pharmacological Basis of Therapeutics, 13th Edition
นพ.สุริยา กีรติชนานนท์. ม.ป.ป. โรคแผลในกระเพาะอาหาร: อาการ วิธีวินิจฉัย และแนวทางการรักษา. วงการแพทย์
บันทึก
1
4
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย