Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อายุยืน
•
ติดตาม
21 ก.ค. 2022 เวลา 12:04 • สุขภาพ
สำรวจอาหารคาว-หวาน เต็มแอพ เสี่ยงโรค NCD
ในยุคที่ “อาหารดิลิเวอรี่” ได้รับความนิยมสูง ทาง “เครือข่ายลดบริโภคเค็ม” และ “เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน” จึงได้ทำการสำรวจว่า อาหารที่ประชาชนนิยมสั่งมารับประทานนั้น เป็นมิตรกับสุขภาพมากน้อยแค่ไหน.
ในยุคที่ “อาหารดิลิเวอรี่” ได้รับความนิยมสูง ทาง “เครือข่ายลดบริโภคเค็ม” และ “เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน” จึงได้ทำการสำรวจว่า อาหารที่ประชาชนนิยมสั่งมารับประทานนั้น เป็นมิตรกับสุขภาพมากน้อยแค่ไหน โดยเฉพาะรสหวาน มัน เค็ม ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการก่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ (NCD) ซึ่ง
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็ม และอาจารย์ประจำหน่วยโรคไต ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่าได้ทำการสำรวจภายใต้โครงการข้อมูลความเสี่ยงด้านอาหาร ที่เกี่ยวข้องกับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของอาหารพร้อมส่งพร้อมรับประทานยอดนิยมใน กทม. ผ่านแอพพลิเคชั่นปี 2565.
รศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ
โดยผลการวิเคราะห์สารอาหารของอาหารจานเดียว 25 รายการ พบปริมาณโซเดียมสูงกว่า 0.6 กรัมต่อมื้อ โดย ส้มตำปูปลาร้า มีโซเดียมสูงที่สุด เฉลี่ย 5 กรัมต่อ 1 จาน ซึ่งสูงกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 2 กรัม ต่อวัน ซึ่งหมายความว่าส้มตำปูปลาร้า 1 จาน มีปริมาณความเค็มสูงเกือบ 3 เท่า ของการบริโภคโซเดียมตลอดหนึ่งวัน หรือคิดเป็นปริมาณโซเดียมสูงมากถึง 8 เท่าต่อ 1 มื้อ อีกทั้งยังพบปริมาณโซเดียมสูงมากเกินกว่า 0.6 กรัมต่อมื้อ ในกาแฟเย็น ซาลาเปาไส้หมูสับ ชิฟฟอนใบเตย และปาท่องโก๋
ส่วนเครื่องดื่มรสหวาน 10 รายการ พบ 8 รายการ มีนํ้าตาลเกินกว่าปริมาณที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 25 กรัมต่อวัน และมีเพียง 2 รายการเท่านั้น คือ อเมริกาโน่เย็น และนํ้าเต้าหู้ที่มีปริมาณนํ้าตาลเฉลี่ยไม่ถึง 16 กรัม ขณะที่ชานํ้าผึ้งมะนาว มีนํ้าตาลเฉลี่ย 53.1 กรัม หรือเกือบ 13 ช้อนชา หากคิดต่อ 1 มื้ออาหาร ควรมีปริมาณนํ้าตาลเฉลี่ยประมาณ 8 กรัมต่อมื้อ
เครื่องดื่มรสหวานเหล่านี้เป็นพลังงานว่างเปล่า หรืออาหารที่แทบจะไม่มีสารอาหาร วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ให้พลังงานหรือมีปริมาณแคลอรีที่สามารถทำให้นํ้าหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
ไม่เพียงเครื่องดื่มรสวานที่มีปริมาณนํ้าตาลเกินเกณฑ์ที่แนะนำเท่านั้น อาหารจานเดียว เช่น ส้มตำไทย หมูปิ้ง ไข่พะโล้ และของหวานอย่าง ชิฟฟอนใบเตย และไอศกรีมกะทิสด ยังมีปริมาณนํ้าตาลสูงมากต่อมื้อและสูงเกินกว่าที่องค์การอนามัยโลกแนะนำอีกด้วย
ส่วนเรื่องของ “ไขมัน” องค์การอนามัยโลกแนะนำไม่ควรบริโภคไขมันเกิน 30% ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน หรือคิดเป็นปริมาณไขมันต่อ 1 มื้อ เฉลี่ยอยู่ที่ 25 กรัมและอาหารที่มีไขมันสูง เช่น หมูสามชั้นทอด มีไขมันเฉลี่ยสูงถึง 67.1 กรัม ซึ่งถือว่ามีปริมาณไขมันสูงเกือบ 3 เท่าต่อมื้อ หรือคิดเป็น 86 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายควรได้รับใน 1 วัน.
ส่วนหมูปิ้ง 55.6 กรัม คอหมูย่าง 48.6 กรัม มีปริมาณไขมันเกินถึง 2 เท่าต่อมื้อ คิดเป็น 71 เปอร์เซ็นต์ และ 62 เปอร์เซ็นต์ ของปริมาณพลังงานที่ร่างกายควรได้รับตลอดทั้งวัน
ยิ่งไปกว่านั้นเนื้อสัตว์ติดมันและอาหารที่นำไปทอด จะเป็นไขมันอิ่มตัว ที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ทำให้คอเลสเตอรอลในเลือดสูง เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจตามมา ดังนั้นการแสดงปริมาณสารอาหารโดยเฉพาะเกลือ นํ้าตาลและไขมัน ใน
รายการอาหารบนแอพพลิเคชั่นอาหารออนไลน์ จะสามารถช่วยให้ผู้บริโภคทราบถึงปริมาณสารอาหารดังกล่าว นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นอาหารออนไลน์ควรเพิ่มหรือให้ทางเลือกแก่ผู้บริโภคในการกรองตัวเลือกเมื่อสั่งซื้ออาหาร เช่น ส้มตำ ควรมีตัวเลือก เกลือน้อย นํ้าตาลน้อย เพื่อช่วยให้ผู้บริโภคได้สั่งอาหารโดยคำนึงถึงสุขภาพได้
คอลัมน์ : คุณหมอขอบอก
เขียนโดย : อภิวรรณ เสาเวียง
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย