22 ก.ค. 2022 เวลา 08:13 • อาหาร
ดอกหอม ช่อดอกหอมแดง
  • 1.
    นิยมทานเป็นผัก โดยนำมาทำอาหารเช่น ผัดดอกหอม หรือนำไปลวกจิ้มกับน้ำพริก
  • 2.
    ดอกหอมมีสารอาหรที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้ประโยชน์ ดังนี้ มีฟอสฟอรัส เบตาแคโรทีน มีวิตามินต่าง ๆ มากมายทั้งวิตามินเอ ซี บี1 บี2 บี3 บี5 บี6 บี9 มีคาร์โบไฮเดรต ให้พลังงานต่อร่างกาย มีเส้นใย ไขมัน เหล็ก สังกะสี ฟลูออไรด์ แคลเซียม น้ำตาล โปรตีน แมกนีเซียม แมงกานีส โพแทสเซียม
ดอกหอม ดอกเป็นแบบซี่ร่ม กลีบดอกมีสีขาว ก้านมีสีเขียว
สรรพคุณทางยาของดอกหอม
ดอกหอม ช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้หลากหลายอาการ เช่น ปวดตามข้อ การนอนหลับ บำรุงความจำ เจริญอาหาร ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอัมพาต รักษาหวัดคัดจมูก ภูมิแพ้ หอบหืด ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้ท้องร่วง ขับพยาธิ ขับปัสสาวะ ลดอาการปวดอักเสบ แก้ลมพิษ แก้บวมแก้ปวดจากพิษ
คุณค่าทางโภชนาการของดอกหอม
ดอกหอม 100 กรัม ให้พลังงาน 17 กิโลแคลอรี่ ประกอบไปด้วย
  • 1.
    โปรตีน       1  กรัม
  • 2.
    ไขมัน      0.1  กรัม
  • 3.
    คาร์โบไฮเดรต     3.1  กรัม
  • 4.
    แคลเซียม       4   มิลลิกรัม
  • 5.
    ฟอสฟอรัส    15   มิลลิกรัม
  • 6.
    วิตามินบี 1     0.04   มิลลิกรัม
  • 7.
    วิตามินบี 2     0.12   มิลลิกรัม
  • 8.
    ไนอาซิน           0.2   มิลลิกรัม
  • 9.
    วิตามินซี           33   มิลลิกรัม
  • 10.
    เบต้าแคโรทีน     71.98
ประโยชน์และสรรพคุณดอกกุยช่าย
มีฟอสฟอรัส มีเบตาแคโรทีน มีวิตามินเอ มีวิตามินซี มีคาร์โบไฮเดรต มีพลังงาน มีเส้นใย มีไขมัน มีเหล็ก มีแคลเซียม
ช่วยบำรุงน้ำนม ช่วยรักษาหนองใน ช่วยบำรุงเพศ ช่วยบำรุงไต ช่วยรักษาลมพิษ ช่วยบำรุงกระดูก ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยรักษาโรค
วัณโรค แก้หวัด ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก ช่วยรักษาเลือดกำเดาไหล แก้อาเจียน แก้ท้องเสีย แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร แก้นิ่ว ช่วยรักษาปัสสาวะขัด ช่วยฆ่าเชื้อ แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยรักษาแผลหนอง ช่วยรักษาฟกช้ำดำเขียว แก้ปวด แก้แผลอักเสบ ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดอาการลำไส้อักเสบ ช่วยป้องกันโรคมะเร็งลำไส้
การปลูกและขยายพันธุ์ดอกกุยช่าย
ดอกกุยช่ายเจริญได้ในดินทุกชนิด ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทรายจะเจริญได้ดี และแยกเหง้าปลูก
การปลูกโดยใช้เมล็ด จะนิยมมากกว่า จะหว่านเมล็ดลงในแปลงดินที่เตรียมไว้ แล้วรดน้ำให้เพียงพอ
วิธีดูแลรักษาดอกกุยช่าย
ดอกกุยช่ายเป็นพืชที่ชอบน้ำ ให้ระบายน้ำดี น้ำไม่ขัง ชอบแสงแดด ต้องดูแลรดน้ำเสมอ ต้องหมั่นรดน้ำให้ชุ่ม โดยรดน้ำเช้าเย็น ให้โดนแดดตลอดวัน จะทำให้กุยช่ายโตได้เร็ว
การเก็บเกี่ยวผลผลิตดอกกุยช่าย
การปลูกด้วยเมล็ด จะเก็บเกี่ยวใช้เวลา ประมาณ 7-8 เดือน หลังปลูกลงแปลง ก็จะเก็บผลผลิตได้
การปลูกโดยใช้เหง้า จะเก็บเกี่ยวได้ใช้เวลา ประมาณ 4-5 เดือน หลังปลูกลงแปลง ก็จะเก็บผลผลิตได้
โดยจะตัดโคนดอกออกมา ดอกออกตูมไม่บาน แล้วล้างน้ำให้สะอาด แล้วนำใส่ในภาชนะที่มิดชิด อย่าให้โดนแสงแดดจะ ทำให้เหี่ยวได้
การเก็บรักษาดอกกุยช่าย
นำดอกกุยช่ายที่ตัดไว้ นำมาล้างน้ำให้สะอาด แล้วสะเด็ดน้ำออกให้หมด แล้วใส่ในกล่องหรือภาชนะ แล้วนำไปแช่ตู้เย็น จะสามารถเก็บไว้ได้นาน
  • 1.
    กุยช่าย
  • 2.
    ดอกกุยช่าย
  • 3.
    ผัก
สรรพคุณของกุยช่าย
  • 1.
    ช่วยบำรุงกระดูก เนื่องจากใบกุยช่ายมีธาตุฟอสฟอรัสสูง (ใบ)
  • 2.
    ช่วยบำรุงกำหนัด กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ แก้ปัญหาการหลั่งเร็วในเพศชาย ไร้สมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากกลิ่นฉุนของน้ำมันหอมระเหยของกุยช่ายจะคล้ายกับกลิ่นของกระเทียม เพราะมีสารประกอบจำพวกกำมะถัน ซึ่งมักจะมีสรรพคุณช่วยในเรื่องเพศ (ใบ)
3​.น้ำมันหอมระเหยจากผักกุยช่ายมีสารอัลลิซิน (Alllicin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด (ใบ)
4​.ช่วยป้องกันมะเร็ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง (นิตยสารครัว) (ใบ)
5.​ช่วยลดระดับความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง (นิตยสารครัว) (ใบ)
​สำหรับผู้ที่เป็นโรคเบาหวานและวัณโรค ให้นำใบของต้นกุยช่ายมาต้มกับหอยน้ำจืดและรับประทานทุกวัน จะช่วยบรรเทาอาการของโรคได้ (ใบ)
  • 1.
    ช่วยรักษาโรคหูน้ำหนวก ด้วยการใช้น้ำที่คั้นได้จากใบสดนำมาทาในรูหู (ใบ)
  • 2.
    ใช้เป็นยาแก้หวัด (ใบ)
  • 3.
    ช่วยแก้เลือดกำเดาไหลได้เป็นอย่างดี (ราก)
  • 4.
    เมล็ดช่วยฆ่าแมลงกินฟัน ด้วยการใช้เมล็ดคั่วเกรียมนำมาบดให้ละเอียด แล้วผสมกับน้ำยางชุบสำลี ใช้อุดฟันที่เป็นรูทิ้งไว้ 1-2 วัน จะช่วยฆ่าแมลงที่กินอยู่ในรูฟันให้ตายได้ (เมล็ด)
โฆษณา