Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
nForceSecure
•
ติดตาม
22 ก.ค. 2022 เวลา 13:00 • ไอที & แก็ดเจ็ต
เก็บฐานข้อมูลลูกค้าอย่างไร? ไม่ให้ผิดกฎหมาย PDPA
ฐานข้อมูลลูกค้าเป็นสิ่งที่จะช่วยให้การทำ Digital Marketing มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้สามารถเข้าถึงพฤติกรรม ความชอบ ความต้องการ มองเห็นภาพและรู้จักลูกค้าในมุมที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
ทำให้สินค้าและบริการขององค์กรเข้าไปตอบโจทย์ได้ตรงกลุ่ม อีกทั้งยังสามารถยกระดับจากลูกค้าทั่วไปให้กลายมาเป็นลูกค้าคนสำคัญได้อีกด้วย
2
แต่ใช่ว่าทุกวันนี้องค์กรต่างๆ จะสามารถเก็บข้อมูลของลูกค้าได้อย่างที่เคยทำ เพราะการมาของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act)
ทำให้ขั้นตอนการเก็บข้อมูลของลูกค้าเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งจะต้องมีการขออนุญาตเก็บและขออนุญาตใช้อย่างชัดเจน ที่สำคัญต้องได้รับ “การยินยอม (Consent)” จากเจ้าของข้อมูลด้วย
1
เรื่องกฏหมาย PDPA จะว่าไปก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในประเทศไทยได้มีการพูดถึงกฏหมายตัวนี้มานานพอสมควร แต่พึ่งมีการประกาศใช้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
ซึ่งหลังการประกาศใช้ทำให้หลายๆ องค์กรที่ทำ Digital Marketing
เกิดการตื่นตัวในเรื่องการเก็บข้อมูลลูกค้า ไม่แน่ใจว่าข้อมูลที่เราเก็บไว้นั้นถูกต้องตามกฏหมาย PDPA หรือไม่? รวมถึงประเด็นที่ว่าหากจะเก็บข้อมูลลูกค้าต้องทำอย่างไร? มีวิธีการขอความยินยอมแบบไหน? แล้วใช้เครื่องมืออะไรได้บ้าง?
2
วันนี้ nForce Secure มีคำตอบให้กับประเด็นต่างๆ พร้อมกับวิธีการเก็บข้อมูลลูกค้าเพื่อใช้สำหรับการทำ Digital Marketing มาแนะนำ โดยขอยกบทความจากเว็บไซต์ PDPA PRO ผู้ให้บริการโซลูชั่นเกี่ยวกับกฏหมาย PDPA แบบครบวงจร
★
Digital Marketing กับ PDPA เกี่ยวข้องกันอย่างไร?
อย่างกับที่กล่าวไว้ข้างต้น ว่าข้อมูลของลูกค้าคือ สิ่งสำคัญสำหรับการทำ Marketing นักการตลาดจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์วางแผนตามแคมเปญและเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า
ซึ่งก็คือข้อมูลส่วนตัวที่สามารถสื่อหรือเชื่อมโยงไปถึงตัวบุคคลหรือลูกค้าคนนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม อาจเป็นได้ทั้งข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ เช่น ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล เลขบัตรประชาชน เลขที่บัญชีธนาคาร เป็นต้น
การนำข้อมูลของลูกค้ามาทำการตลาด จะเลือกกลุ่มเป้าหมายที่สนใจสินค้าหรือบริการ โดยคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ จากข้อมูลส่วนตัว เช่น อายุ เพศ อาชีพ จากนั้นใช้ Keyword ที่เหมาะสมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาสินค้าหรือบริการออนไลน์
แต่ก่อนที่ฝ่าย Marketing จะเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าได้นั้น ก็จะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ดังนี้
●
ขอ Consent (ยินยอม) การใช้หรือเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจากลูกค้าซึ่งก็คือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อน
●
แจ้งจุดประสงค์การขอใช้หรือเก็บข้อมูล ว่าใช้หรือเก็บเพื่ออะไร ระยะเวลาเก็บเท่าไร
●
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่หลอกลวง แยกเป็นข้อ ๆ ให้ชัดเจน ไม่นำเงื่อนไขต่าง ๆ มาผูกพันกันและขอเก็บข้อมูลเท่าที่จำเป็น
●
เมื่อลูกค้าสมัครใจยินยอมให้ข้อมูลแล้ว (Consent) นักการตลาดก็มีหน้าที่ต้องคุ้มครองดูแลข้อมูลนั้นไม่ให้รั่วไหล
การปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA ให้สอดคล้องกับการทำ Digital Marketing ก็เพื่อป้องกันไม่ให้บุคคลภายนอกที่ไม่ประสงค์ดีนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าไปใช้ ซึ่งก็อาจเกิดความเสี่ยงทางด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินตามมาได้
นอกจากนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้ภาคธุรกิจต้องรับโทษตามกฎหมายจากความเสียหายที่เกิดขึ้นกับลูกค้า ซึ่งจะทำให้องค์กรที่ดูแลข้อมูลเสียความน่าเชื่อถือในการประกอบธุรกิจอีกด้วย
★
การจัดการ Consent ใน Digital Marketing
ความยินยอม (Consent) เกิดขึ้นได้จากการที่เจ้าของข้อมูลได้สมัครใจ “เลือก” ที่จะยินยอมให้ใช้หรือเก็บข้อมูลส่วนบุคคล สิ่งที่น่าสังเกตคือ หากมีการเก็บข้อมูลใหม่หรือเปลี่ยนวัตถุประสงค์การเก็บไปจากเดิม ก็ควรจะต้องขอ Consent ใหม่ทุกครั้ง ไม่ควรนำ Consent เดิมกลับมาใช้ใหม่เพราะอาจผิด PDPA ได้
1
สำหรับการจัดการ Consent เพื่อเก็บข้อมูลของลูกค้าจะอยู่ในรูปแบบของฟอร์มกรอกข้อมูล ในการขอ Consent มีทั้งระดับ Consent ประเภทต่าง ๆ และ Cookie Consent โดยแบ่งได้ ดังนี้
1. Consent ประเภทต่าง ๆ
เป็นการขอ Consent ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากจุดรวบรวมข้อมูลที่ถูกตั้งไว้เพื่อรับข้อมูลส่วนบุคคล ในบริการต่าง ๆ เช่น Web Form, Email, APP SDK หรือ Custom API เป็นต้น
การขอ Consent ประเภทอื่นๆ เหมาะสำหรับเว็บไซต์และแอพพลิเคชันที่มีการจัดเก็บและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รับบริการ หรือมีการสมัครสมาชิก นอกจากการขอ Consent แล้ว จำเป็นต้องแจ้งนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy) ซึ่งองค์กรต้องจัดทำเพื่อใช้ในการขอจัดเก็บข้อมูลจากเจ้าของข้อมูลตาม PDPA
การทำ Consent ประเภทต่างๆ ยังต้องยึดหลักการขอ Consent คือ ต้องแจ้งวัตถุประสงค์การเก็บและประมวลผลข้อมูล (Purpose of Processing) เช่น ใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้า วางแผนแคมเปญ หรือการทำ Email Marketing โดยการให้ Consent ในส่วนนี้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถกดยอมรับหรือคลิกจาก Link ได้ ส่วนการตั้งค่า ช่องทางการติดต่อ และการเลือกหมวดหมู่ที่ต้องการรับข่าวสารมักใช้วิธีตั้งค่าผ่าน Preference Center
ตัวอย่างการจัดการ Consent ประเภทต่าง ๆ ผ่านการตั้งค่าบน Preference Center
2. Cookie Consent
หากเว็บไซต์มีการใช้คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล หรือใช้ในการทำการตลาด จำเป็นต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล(ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์) ก่อน ถ้าไม่มีการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อนอาจจะถือได้ว่ามีความเสี่ยงสูงต่อหลักการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักประเภทของคุกกี้ที่เก็บบนเว็บไซต์ ที่แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ดังนี้
2
2.1 คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง (Necessary Cookies)
ผู้ใช้งานจะเลือกเก็บคุกกี้ประเภทนี้ไม่ได้ เพราะมีความจำเป็นกับระบบการทำงานของเว็บไซต์ รวมถึงนโยบายความปลอดภัย เช่น ระบบ Log in หรือการยืนยันตัวตนด้วย KYC
2.2 คุกกี้ที่ไม่จำเป็น (Non-Necessary Cookies)
ผู้ใช้งานสามารถเลือกให้ Consent การเก็บคุกกี้ประเภทนี้ได้ โดยคุกกี้ที่ไม่จำเป็นแบ่งย่อยได้อีกหลายประเภท เช่น
●
คุกกี้เก็บข้อมูลการใช้งาน (Analytic หรือ Statistics หรือ Performance Cookies) เป็นคุกกี้ทางสถิติที่รวบรวมและรายงานข้อมูลสถิติการเข้าชมเว็บไซต์
●
คุกกี้ฟังก์ชันการทำงาน (Preferences หรือ Functional Cookies) ที่เป็นการบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงฟังก์ชันการใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้งาน เช่น จดจำ Log in ทำให้การเข้าใช้งานเว็บไซต์ครั้งต่อไปไม่ต้อง Log in ซ้ำอีก ภาษาในเว็บไซต์ที่เราเลือกใช้
●
คุกกี้โฆษณา (Marketing Cookies) ซึ่งมักเป็นคุกกี้จากเว็บไซต์บุคคลที่สามที่เผยแพร่หรือลงโฆษณา มีไว้ใช้ติดตามผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อแสดงโฆษณาที่เกี่ยวข้องและที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้งานรายบุคคล
การขอ Cookie Consent โดยส่วนใหญ่จะใช้วิธีการขอ Consent ผ่าน Cookie Banner ซึ่งมีลักษณะเป็นตัวป็อปอัพที่เด้งขึ้นมาบนเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานกด Accept หรือยินยอมการเก็บคุกกี้ และอาจมี Link ให้คลิกอ่านรายละเอียดนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy) และตั้งค่าการเก็บคุกกี้แต่ละประเภทได้เอง Cookie Consent ที่ดีควรมีองค์ประกอบ ดังนี้
●
แจ้งและขอความยินยอมการเก็บคุกกี้
●
ระบุวัตถุประสงค์การเก็บรวบรวม
●
ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ชัดเจน ข้อความไม่กำกวม
●
ไม่สร้างเงื่อนไขให้กับผู้ใช้เว็บไซต์
●
เข้าถึง Cookie Policy บนเว็บไซต์ได้ง่าย
●
ผู้ใช้งานเว็บไซต์สามารถเลือกได้ว่าจะให้เว็บไซต์ใช้คุกกี้หรือข้อมูลประเภทใดได้บ้าง
●
มีระบบตรวจสอบ และบันทึกข้อมูลการให้ความยินยอมให้ใช้คุกกี้
ตัวอย่างการขอ Cookie Consent โดยใช้วิธีการขอ Consent ผ่าน Cookie Banner
การขอ Consent เพื่อเก็บข้อมูลจากลูกค้า ถือเป็นหัวใจหลักในการทำ Marketing เพื่อให้สอดคล้องตาม PDPA นอกจากเรื่องการขอ Consent แล้ว เว็บไซต์ที่มีการจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลจำเป็นต้องจัดทำนโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ซึ่งเนื้อหาที่องค์กรจัดทำจึงต้องมีความชัดเจน ครบถ้วน ซึ่งสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่ได้รับการยอมรับจากนักกฎหมายของ PDPA PRO ช่วยสร้าง Privacy Policy อย่างมืออาชีพ
ตัวอย่างรายละเอียดของนโยบายคุกกี้ (Cookie Policy)
ด้านการจัดการ Consent ประเภทต่างๆ ให้เหมาะสำหรับเว็บไซต์หรือแอพลิเคชั่นมีการจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้บริการหรือใช้ข้อมูลลูกค้าเพื่อวิเคราะห์แคมเปญต่างๆ ส่วนเว็บไซต์ที่มีการจัดเก็บคุกกี้ก็จะต้องขอ Cookie Consent
โดยสามารถใช้เครื่องมือช่วยสร้าง Cookie Banner และแจ้ง Cookie Policy เพียงไม่กี่ขั้นตอนง่ายๆ ได้ทันที เพียงเท่านี้องค์กรของคุณก็พร้อมที่จะปฏิบัติตาม PDPA แล้ว
ข้อมูลและภาพประกอบจาก :
https://pdpa.pro/blogs/other-consents-and-cookie-consent-what-do-marketers-should-know
บริษัท เอ็นฟอร์ซ ซีเคียว จำกัด (มหาชน) (SET: SECURE) ผู้เชี่ยวชาญในด้านผลิตภัณฑ์รักษาความปลอดภัยทางเทคโนโลยีไซเบอร์ (Cyber Security) มากว่า 15 ปี
ในฐานะตัวแทนจำหน่ายและผู้ให้บริการอย่างครบวงจร สำหรับโซลูชั่นของ nForce Secure ที่โจทย์เกี่ยวข้องกับกฏหมาย PDPA ได้แก่ UCP และ BigID แพลตฟอร์มอัจฉริยะที่จะช่วยให้องค์กรบริหารข้อมูลส่วนบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สามารถติดตามโซลูชั่นอื่นๆ ได้ทาง
https://www.nforcesecure.com/
https://www.facebook.com/nForceSecure/
46 บันทึก
19
42
46
19
42
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย