22 ก.ค. 2022 เวลา 09:43
วันนี้จะมาบอกเล่า ลักษณะของพระพุทธรูปนาคปรกแห่งการแพทย์ครับ
โดยจะมีข้อแตกต่างจาก พระนาคปรกประจำวันเสาร์
อยู่ 1 จุด คือ “เครื่องทรง”
คือพระนาคปรกแห่งการแพทย์
"ไม่ได้ครองจีวรแบบนักบวช แต่ทรงเครื่องอย่างกษัตริย์"
อีกทั้ง พระองค์แสดงธยานมุทรา และมีตลับหรือหม้อโอสถวางบนพระหัตถ์ซ้าย
ซึ่งใช้ในการเสกน้ำมนต์แก้พิบัติภัยจากโรคระบาดและโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
ผู้บูชาพระนาคปรก เชื่อว่าสามารถหายจากโรคภัยไข้เจ็บทางกายและทางใจได้
หากบูชาอย่างถูกต้อง หรือเพียงสัมผัสรูปองค์พระ
และในกรณีที่ผู้บูชาเจ็บป่วยร่างกายในบริเวณไหน ให้นำมือไปสัมผัสรูปของพระองค์ที่บริเวณนั้น ก็จะหายจากอาการเจ็บป่วย
ในภาพคือ พระบูชา พระนาคปรก รพช.
จัดสร้างโดยสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท
เนื่องในโอกาส ครบรอบ 20ปี เมื่อ พศ.๒๕๒๙
พิธีพุทธาภิเษกใหญ่ โดยมีเกจิที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น จำนวน 11 องค์
ที่รู้จักกันดี เช่น สมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ, ลพ.อุตตะมะ วัดวังก์วิเวการาม, ลป.สิม วัดถ้ำผาปล่อง, ลพ.พุธ วัดป่าสาละวันและที่สำคัญคือ ลป.เทศก์ วัดหินหมากเป้ง หนองคาย
วงการยกให้เป็น พระนาคปรก ของ ลป.เทศก์ ซึ่งวัตถุมงคลของ ลป.เทศก์ นั้นจะมีการจัดสร้างจำนวนน้อยรุ่นมาก เมื่อเทียบกับพระเกจิคณาจารย์ในสายพระป่า(วิปัสนา)
โฆษณา