Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พลาสติกไม่ใช่ผู้ร้าย
•
ติดตาม
22 ก.ค. 2022 เวลา 11:56 • สิ่งแวดล้อม
Waste to energy (WTE) คืออะไร?
พูดง่ายๆมันก็คือเอาขยะมาเป็นพลังงานนั่นเอง
แล้วขยะแบบไหนล่ะที่สามารถกลายเป็นพลังงานได้?
โดย Concept ของมันแล้ว มันคือการแปรสภาพของขยะที่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ (non-recyclable) ไปสู่พลังงาน
โดยใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ไม่ใช่แค่การเผาเป็นพลังงาน (incineration) เพียงแค่นั้น แต่มีเทคโนโลยีอื่นๆอีก อาทิ ไพโรไลซิส, แก๊สจากหลุมฝังกลบ, การย่อยสลายโดยไม่ใช้ออกซิเจน (anaerobic digestion)
วิธีการที่เป็นที่นิยมมากที่สุดก็คือการเผาโดยใช้เตาเผา
กระบวนการ WtE ส่วนใหญ่สร้างกระแสไฟฟ้าและ/หรือความร้อนโดยตรงผ่านการเผาไหม้ หรือผลิตเชื้อเพลิงที่ติดไฟได้ เช่น มีเทน เมทานอล เอทานอล หรือเชื้อเพลิงสังเคราะห์
เตาเผาเตาแรกนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1874 แล้ว ในบางประเทศมีการผลิตคิดค้นและพัฒนามายาวนาน และเทคโนโลยีในปัจจุบันก็แตกต่างจากในอดีตโดยสิ้นเชิง
ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศกลุ่มยุโรปที่มีอัตราการรีไซเคิลสูงที่สุดก็ใช้เทคโนโลยีนี้ในการเผาทิ้งเพื่อหลีกเลี่ยงการฝังกลบ แต่ขณะเดียวกันก็มีนักวิจารณ์โต้แย้งว่า การเผาขยะทำลายทรัพยากรที่มีค่าและอาจลดแรงจูงใจ ที่ทำให้คนอยากคัดแยกขยะลง มากกว่านั้นเตาเผาขยะที่ว่าก็มีหลายมาตรฐาน ซึ่งบางมาตรฐานก็ยังส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ดีหากไม่มีการทดสอบที่รัดกุม ปัญหาของการเผาขยะนี้เคยมีรายงานว่ามีมลพิษเข้าสู่ชั้นบรรยากาศด้วยไอเสียจากหม้อน้ำ ไอเสียเหล่านี้อาจกลายเป็นฝนกรดได้
ดังนั้นเตาเผาขยะสมัยใหม่จึงจำเป็นต้องออกแบบมาอย่างพิถีพิถันและควบคุมการปล่อยมลพิษออกมาน้อยที่สุด
หากเปรียบเทียบการเผากับวิธีอื่นๆแล้ว การเผาดูเหมือนจะน่าสนใจที่สุดเนื่องจากประสิทธิภาพการผลิตพลังงานที่สูง ต้นทุนการลงทุนที่ต่ำกว่าและอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ต่ำกว่า นอกจากนี้การเผายังให้ปริมาณไฟฟ้าสูงสุดอีกด้วย
ถึงอย่างไรมันก็มีข้อเสียตรงที่การเผา(ในบางประเภทของเตาเผา)ทำให้เกิดเถ้าถ่าน ซึ่งเถ้าถ่านเหล่านี้ก็ต้องถูกกำจัดได้อย่างปลอดภัยด้วย ก็เป็นกระบวนการที่เสี่ยงต่อการปนเปื้อนในดินและส่งผลต่อแม่น้ำเช่นกัน
ประเทศไทยมีขยะเปียกมากกว่าขยะแห้ง แตกต่างกับยุโรป การเผาจึงยากกว่าและมีกฏหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นมาตรฐานและเทคโนโลยีก็ย่อมแตกต่างกันไป ตอนนี้เราก็เริ่มเห็นเตาเผาแบบ RDF มากขึ้น แต่มาตรฐานจะเป็นอย่างไรนั้นก็ไม่รู้ว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงกำกับดูแลมากแค่ไหน
ที่มา:
https://en.wikipedia.org/wiki/Waste-to-energy
https://home.kpmg/xx/en/home/insights/2019/10/waste-to-energy-green-solutions-for-emerging-markets.html
พลังงาน
ขยะ
การจัดการขยะ
บันทึก
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย