22 ก.ค. 2022 เวลา 11:58 • การศึกษา
อนุกรมความตาย : ความตายที่ถูกกำหนด...ไม่ยอมให้ตาย
֍֍֍֍֍
จดศัพท์ : “Daughter from California syndrome”
֍֍֍֍֍
. วันนี้ได้อ่านข้อมูลจากแหล่งๆหนึ่งว่าเป็นวันครบรอบวันที่นักร้องบอยแบนด์ดังในอดีตประสบอุบัติเหตุรถเสียหลักตกลงไปในคูน้ำเน่า จนทำให้สมองติดเชื้อ(รา) และต้องทนรักษาตัวอยู่อีกราวสี่ปี..
. ย้อนหลังไปไม่กี่วัน อดีตนักร้องบอยแบนด์ดังในอดีตอีกท่านหนึ่ง ถูกหามลงมาจากคอนโด เพราะป่วยติดเตียง แต่ในขณะที่กำลังทำความสะอาดร่างกายอยู่ อดีตนักร้องท่านนั้นเกิดภาวะช็อคและได้ทำการช่วยชีวิตด้วยวิธี CPR อยู่ราวๆสิบนาที
. สองเหตุการณ์นี้ เกี่ยวกันตรงที่มีการ”ยื้อชีวิต”
. ที่หยิบยกเรื่องเหล่านี้มาบันทึกไว้มิใช่ต้องการจะตำหนิหรือชื่นชมใคร แต่อยากจะบอกว่า ความตายนั้นเป็นเรื่องธรรมดาของโลก แต่เมื่อความตายใกล้ตัวมากยิ่งขึ้น ใครต่อใครที่อยู่รอบๆข้างผู้ที่กำลังจะตายก็มักจะคิดว่า “ฉันต้องยื้อชีวิตให้ถึงที่สุด”
. โดยที่มิได้คำนึงถึงเลยว่า หากยื้อชีวิตของผู้ใกล้ตายนั้น ให้ได้สัญญาณชีพกลับมา แต่สภาพร่างกายกลับจะต้องเหมือนผักที่วางอยู่บนกระดาน จะมีผลเป็นอย่างไร?
. กรณีการทำ CPR (ตามข่าว่าทำไปสิบนาที) เรื่องนี้ไม่มีรายละเอียด ว่า มีผลเป็นเช่นไร ภาวะของสมองของผู้ที่ถูกยื้อชีวิตนั้น ขาดอากาศเกินกว่าสี่นาทีไปแล้วหรือไม่?? เพราะหากขาดอากาศเกินกว่าเวลาที่เขากำหนดไว้ แม้จะมีสัญญาณชีพกลับมา สภาพร่างกายของเขาก็ต้องเหมือนผัดที่วางอยู่บนกระดานเช่นเดียวกัน
. ใน วงการแพทย์ก็มีคำศัพท์สำคัญที่ฟังดูแล้วออกจะตลก แต่เมื่อทราบความหมายก็ตลกไม่ออก คือคำว่า “กลุ่มอาการกตัญญูเฉียบพลัน”
. มีคำอธิบายว่า “กลุ่มอาการกตัญญูเฉียบพลัน”นี้ นิยมใช้บรรยายสถานการณ์ ที่ญาติซึ่งมาจากที่ไกลๆหรืออยู่ห่างไกล พอมาถึงโรงพยาบาลก็ระดมสั่งให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ทำนู่นทำนี่ เพื่อช่วยยึดชีวิตของผู้ป่วย(ซึ่งโดยมากก็เป็นผู้สูงอายุ) โดยไม่ได้คำนึงถึงเลยว่า ที่ให้ทำนู่นทำนี่จะมีราคาค่างวดเท่าไร หรือจะก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานกับผู้ป่วยเพียงใด
. เหตุผลลึกๆที่ญาติสั่งให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ทำนู่นทำนี่มากมาย เกิดจากความสำนึกผิดที่ตนเองไปทำงานไกลบ้านไกลเมืองจนไม่มีเวลามาดูแลผู้ป่วยก่อนที่ผู้ป่วยจะอยู่ในขั้นวิกฤตนี้
. บุคลากรทางการแพทย์ในอเมริกา จึงตั้งชื่อปรากฏการณ์นี้ว่า”กลุ่มอาการลูกสาวจากแคลิฟอร์เนีย”(อังกฤษ: Daughter from California syndrome) ก็เพราะในอดีต(ยุคตื่นทอง)อาจจะมีลูกสาวต้องไปทำงานขุดทองในรัฐแคลิฟอร์เนียจนไม่มีเวลากลับมาดูญาติผู้ใหญ่ที่บ้านเลย พอกลับมาแล้วพบว่าญาติผู้ใหญ่ป่วยหนัก ก็เลยเร่งระดมทุกสรรพวิธีเพื่อยื้อชีวิตของญาติผู้ใหญ่นั้น ให้อยู่ให้นานที่สุด เป็นการทดแทนความผิดพลาดของตนเอง
. ส่วนคนที่ มีบ้านอยู่ที่แคลิฟอร์เนียอยู่แล้ว และญาติผู้ใหญ่หรือผู้ป่วยก็อยู่ที่แคลิฟอร์เนียด้วย เขาก็จะเปลี่ยนไปเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า”ลูกสาวจากนิวยอร์ค” (อังกฤษ: Daughter from New York syndrome) บ้าง ”ลูกสาวจากออนตาริโอ้” (อังกฤษ: Daughter from Ontario syndrome) บ้าง
. จะอย่างไรก็แล้วแต่ หากใครได้เข้ามาอ่านบันทึกนี้ ก็อยากจะแจ้งให้ทราบไว้เลยว่า หากข้าพเจ้ามีเหตุที่จะต้องพบกับอาการเฉียดตาย ใกล้ตาย หรืออะไรก็แล้วแต่ หากไม่จำเป็นแล้วไซร้ กรุณาอย่ายื้อชีวิตของข้าพเจ้าไว้เลย เพราะข้าพเจ้าตระหนักดีว่าความตายเป็นธรรมดาของโลก และข้าพเจ้ายอมรับความธรรมดานั้นแล้ว
. หากยื้อชีวิตของข้าพเจ้า กลับมาได้ แต่ร่างกายของข้าพเจ้าก็ต้องนอนเป็นผักอยู่บนกระดาน ข้าพเจ้าเองคงไม่มีโอกาสได้ใช้อายตนะของข้าพเจ้าในการชื่นชม”ลูกสาวจากแคลิฟอร์เนีย”
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กลุ่มอาการกตัญญูเฉียบพลัน เป็นคำอย่างไม่เป็นทางการที่บุคลากรทางการแพทย์นิยมใช้บรรยายสถานการณ์ที่ญาติที่อยู่ห่างไกลมาที่โรงพยาบาลในขณะที่ผู้ป่วยสูงอายุกำลังเข้ารับการรักษาอาการเจ็บป่วยที่เป็นรุนแรงถึงขั้นมีโอกาสเสียชีวิตหรือกำลังจะเสียชีวิต
และขอร้องหรือบังคับให้ผู้ให้บริการทางการแพทย์ให้การรักษาทุกรูปแบบไม่ว่าจะมีราคาสูงหรือก่อให้เกิดความทุกข์ทรมานเพียงใดก็ตาม เพื่อช่วยชีวิตหรือยืดชีวิตผู้ป่วยให้ได้ หรืออีกรูปแบบหนึ่งอาจตำหนิแนวทางการรักษาเดิม หรือขอให้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการรักษาใหม่
บุคลากรทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกานิยมเรียกปรากฏการณ์เดียวกันนี้ว่า กลุ่มอาการลูกสาวจากแคลิฟอร์เนีย (อังกฤษ: Daughter from California syndrome) ส่วนบุคลากรทางการแพทย์ในแคลิฟอร์เนียจะเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ลูกสาวจากนิวยอร์ก"
From Wikipedia, the free encyclopedia
"Daughter from California" syndrome is a phrase used in the medical profession to describe a situation in which a long-lost relative arrives at the hospital at which a dying elderly relative is being treated, and insists that the medical team pursue aggressive measures
to prolong the patient's life, or otherwise challenges the care the patient is being given. In his 2015 book The Conversation: A Revolutionary Plan for End-of-Life Care, American doctor Angelo Volandes ascribes this to "guilt and denial," "not necessarily what is best for the patient."
The "daughter from California" is often described as angry, articulate and informed.
Medical professionals say that because the "daughter from California" has been absent from the life and care of the elderly patient, they are frequently surprised by the scale of the patient's deterioration, and may have unrealistic expectations about what is medically feasible.
They may feel guilty about having been absent, and may therefore feel motivated to reassert their role as an involved caregiver.
The phrase was first documented by a collective of gerontologists in a 1991 case report published in the Journal of the American Geriatrics Society, titled "Decision Making in the Incompetent Elderly: 'The Daughter from California Syndrome'". In the paper,
Molloy and colleagues presented strategies intended to help medical staff deal with the difficult family members of mentally incompetent patients.
In California, the "daughter from California" is known as the "daughter from New York" and the "daughter from Ontario"..
โฆษณา