Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Jitta Wealth
•
ติดตาม
23 ก.ค. 2022 เวลา 02:30 • หุ้น & เศรษฐกิจ
ลงทุนให้ชนะตลาด ทำไมถึงยากนัก?
คุณรู้สึกไหมครับ ว่าเดี๋ยวนี้หาหุ้นลงทุนเองให้ชนะตลาดได้ยากขึ้นเรื่อยๆ
ถึงคุณจะไป ‘ขุดหุ้น’ แบบวิเคราะห์เจาะลึกมากแค่ไหน ก็ยังมีนักลงทุนคนอื่นที่รู้ข้อมูลเท่าคุณหรือลึกกว่าคุณอยู่ดี
มีงานวิจัยมากมายบอกเราว่าขนาดผู้จัดการกองทุนที่มีข้อมูลครบครัน มีนักวิเคราะห์คอยเฝ้าหน้าจอ อัปเดตข่าวให้ตลอด ยังทำผลตอบแทนแพ้ตลาด
ถึงขนาดที่ Warren Buffett กล้าเดิมพันกับผู้จัดการกองทุนหลายคนมาแล้วว่ากองทุนอิงดัชนีที่ปู่เลือกจะทำผลตอบแทนได้ดีกว่าผู้จัดการกองทุนทุกคน (ไปฟังเรื่องราวการเดิมพันของปู่ได้ที่นี่
https://jitta.co/3G2KGMy
)
วันนี้เราจะสรุปแบบง่ายๆ ให้คุณเข้าใจว่าทำไมการลงทุนหุ้นให้ชนะดัชนีตลาด มันถึงยากนัก
☝ หุ้น ‘#ตัวแบก’ ดัชนี ระยะยาว มีไม่ถึง 1%
สาเหตุแรกที่นักลงทุนส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนสมัครเล่นหรือแม้แต่มืออาชีพระดับผู้จัดการกองทุนทำผลตอบแทนแพ้ตลาด ก็เพราะว่าหุ้นที่ทำผลตอบแทนชนะตลาดในแต่ละปี มันมีแค่หยิบมือเดียว
ในงานวิจัยอันโด่งดังเรื่อง Do Stocks Outperform Treasury Bills? ของ Hendrik Bessembinder เขาได้ให้ข้อสรุปที่ทำให้นักลงทุนทั่วโลกตาสว่างว่า
“ในช่วงปี 2469 - 2559 มีหุ้นแค่ 4% หรือราว 1,092 ตัวจากทั้งหมด 25,332 ตัวเท่านั้นที่ดันให้ดัชนี S&P 500 ทำผลตอบแทนได้สูงกว่าการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 1 เดือนทบไปเรื่อยๆ”
“หุ้นอีก 38% ทำผลตอบแทนรวมเป็นบวก ขณะที่หุ้นอีก 58% ให้ผลตอบแทนรวมเป็นลบ และเมื่อนำผลตอบแทนของหุ้นสองกลุ่มนี้มารวมกัน ก็จะเท่ากับผลตอบแทนที่ได้จากการลงทุนในพันธบัตรอายุ 1 เดือนทบต้นไปเรื่อยๆ เท่านั้น”
1
นั่นแปลว่า ถ้าคุณลงทุนระยะยาวแล้วหุ้นที่คุณเลือกอยู่ในกลุ่มตัวท็อป 4% แรก พอร์ตของคุณก็จะโตชนะดัชนีตลาดได้สบายๆ แต่ถ้าดันเลือกหุ้นผิดตัว โอกาสที่คุณจะทำผลตอบแทนชนะตลาดได้ในระยะยาวก็จะยากขึ้น
คำถามคือคุณมั่นใจแค่ไหนว่าหุ้นที่คุณเลือกคือหุ้นตัวท็อป 4% ของตลาด?
ในงานวิจัยยังให้ข้อมูลอีกว่า ตลอดช่วงปี 2469 - 2559 มูลค่าตลาดของดัชนี S&P 500 เพิ่มขึ้นมาราว 32 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่าที่เพิ่มขึ้นนี้ เกิดจากหุ้นแค่เพียง 90 ตัว
ใช่ครับ แค่ ‘90’ ตัวเท่านั้นจาก 25,332 ตัวหรือ 0.36% ของหุ้นทั้งหมด 😅
ในอีกงานวิจัยนึงที่ใกล้เคียงกันคือ Do Global Stocks Outperform US Treasury Bills? ที่ทำกับหุ้นทั่วโลก ก็พบข้อสรุปคล้ายๆ กับงานวิจัยในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ครับ
นั่นคือในช่วงปี 2533 - 2561 มีแค่ 1% ของหุ้นทั้งหมดนอกตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ทำผลตอบแทนรวมชนะพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 1 เดือน
และมีหุ้นตัวอื่นๆ นอกตลาดหุ้นสหรัฐฯ มากถึง 61% ที่ทำผลตอบแทนรวมได้ต่ำกว่าพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 1 เดือนเสียอีกครับ
เราไม่แปลกใจเลย ที่นักลงทุนระดับท็อปของโลกจะมีนิสัยรักการอ่าน เพื่อจะได้ ‘พลิกหินทุกก้อน’ วิเคราะห์หุ้นให้มากตัวที่สุดเท่าที่ทำได้ และไม่พลาดการซื้อหุ้นตัวท็อปของตลาดหุ้นนั่นเอง
✌ ความ #อคติ ของคุณเองนั่นแหละ!
ประเด็นที่สองที่ทำให้การลงทุนชนะตลาดมีความยากขึ้นเป็นทวีคูณจากประเด็นแรก คือ ‘ความอคติในการตัดสินใจ’ หรือ Cognitive Bias ที่ฝังอยู่ในตัวเราตามธรรมชาตินี่แหละครับ
อคติแรกที่นักลงทุนอย่างเราเจอบ่อยก็คือการ ‘แห่ตามกระแส’ หรือเรียกว่า ‘Bandwagon Effect’ ครับ สมัยนี้อาจจะมีคำเรียกที่ดูเท่มากขึ้นว่าเป็นความรู้สึก ‘Fear of Missing Out’ หรือ #FOMO นั่นเองครับ
1
เจ้า Bandwagon Effect ตัวนี้จะโน้มน้าวให้นักลงทุนที่วิชายังไม่แก่กล้าอย่างเรามีพฤติกรรม ‘ขึ้นซื้อ ลงขาย’ และ #ติดดอย อยู่ร่ำไป เพียงเพราะความอยากซื้อหุ้นที่กำลังเป็นกระแส กำลังถูกไล่ราคาขึ้นอย่างเมามัน
อีกอคตินึงที่ร้ายพอๆ กันก็คือ ‘ความกลัวการสูญเสีย’ หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า ‘Loss Aversion’ ที่อธิบายว่าโดยธรรมชาติแล้ว มนุษย์เรากลัวการสูญเสียเงิน 1,000 บาทมากกว่าการได้เงิน 1,000 บาทซะอีก
ความรู้สึก ‘กลัว’ ตัวนี้แหละที่ทำให้คุณทนถือหุ้นดีๆ ต่อไม่ได้เวลาเห็นหุ้นตกแรง และคุณก็มักจะคิดเองเออเองต่อไปได้ว่าเดี๋ยวบริษัทจะต้องเจอวิกฤติ หรือเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่แน่นอน ขายหุ้นตอนนี้น่ะดีแล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่มีอะไรในกอไผ่
1
ที่จริง หุ้นเทคฯ ที่ฮ็อตฮิตหลายตัวล้วนเจอช่วงที่ราคาตกแรงมาแล้ว อย่าง Apple Amazon หรือ Google (ชื่อใหม่คือ Alphabet) ก็เคยเจอช่วงที่ราคาร่วงเกิน 50% กันมาทุกตัว
1
ถ้าคุณเผลอใจ ไปกดขายหุ้นตอนที่ราคาตกแรงแล้วราคาดันฟื้นกลับมา ก็จะกลายเป็นโมเมนต์ที่ ‘#รู้งี้’ อีกครั้งของคุณครับ
หาหุ้นตัวแบกที่ทำกำไรชนะตลาดระยะยาวว่ายากแล้ว แต่การเอาชนะอคติตามธรรมชาติ ทนถือหุ้นตัวนั้นไว้ให้ผ่านทั้งตลาดขาขึ้นและขาลงยากกว่าอีกครับ
เพราะตอนวิเคราะห์หุ้น คุณใช้แค่ทักษะการคำนวณ การวิเคราะห์ซึ่งเป็นเรืองของเหตุผล แต่พอต้องถือหุ้นไว้นานๆ ให้ผ่านทั้งช่วงที่ดีและร้ายก็มักมีเรื่องอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเสมอ จริงไหมครับ? 🤔
‘ความอคติในการตัดสินใจ’ ยังถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการการเงิน หากคุณสนใจ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
https://jitta.co/3tnk0QT
➡️ Jitta Ranking พร้อมช่วยคุณลงทุนให้ชนะตลาด
จากทั้งหมดที่สรุปมา คุณพอเข้าใจแล้วใช่มั้ยครับว่า ‘ทำไมการลงทุนให้ชนะดัชนีตลาดถึงทำได้ยาก’ ยิ่งในยุคที่ข้อมูลข่าวสารไหลเร็ว การหาข้อมูลเชิงลึกที่จะทำให้คุณได้เปรียบนักลงทุนคนอื่นก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
แต่ทีมงาน Jitta Wealth มีทางออกให้คุณครับ เพราะเราออกแบบนโยบาย Jitta Ranking ด้วยหลักการ Quantitative Value Investing (QVI) ที่จะคัดสรรหุ้นลงทุนและปรับพอร์ตให้คุณอัตโนมัติ แบบไม่มีอารมณ์เข้ามายุ่งเกี่ยว
พร้อมแผนลงทุนใหม่ล่าสุด! Jitta Ranking ญี่ปุ่น พาคุณไปเสาะหาหุ้นเด็ดจากแดนอาทิตย์อุทัยมาให้คุณลงทุนกันแบบ ‘โอมากาเสะ’ พิสูจน์ด้วยผลตอบแทนย้อนหลัง 26.12% ต่อปี ชนะดัชนี TOPIX มากกว่า 2 เท่าครับ
หากสนใจ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
https://jittawealth.com/jitta-ranking/japan
แล้วพบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ 😎
เศรษฐกิจ
หุ้น
การลงทุน
11 บันทึก
17
2
12
11
17
2
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย