Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เขียนไว้ให้เธอ
ยืนยันแล้ว
•
ติดตาม
23 ก.ค. 2022 เวลา 03:00 • ความคิดเห็น
ปัญหาใหญ่เท่าช้าง
ผมเคยชมการสัมภาษณ์พี่ตุ้ม หนุ่มเมืองจันท์ จากรายการนิ้วกลมสนทนา เมื่อสองปีก่อน พี่ตุ้มเล่าถึงเทคนิคการแก้ปัญหาของพี่แต๋ม ศุภจี ธรรมพันธุ์ สุดยอดซีอีโอของ dusit group ผู้ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักแก้ปัญหามืออาชีพและ turnaround บริษัทมาหลายบริษัท
พี่ตุ้มเล่าว่า เทคนิคในการแก้ปัญหาที่ดูเหมือนใหญ่ ยากและแก้ไม่ได้นั้น พี่แต๋มจะใช้วิธีซอยปัญหาให้เล็กลงเป็นส่วนๆก่อนแล้วกระจายงานว่าใครต้องรับไปแก้ท่อนเล็กๆนั้น รวมๆกันก็จะแก้ปัญหาใหญ่ได้ พี่ตุ้มบอกว่าถ้าเรามองแต่ปัญหาใหญ่ๆเราก็จะท้อ สิ่งที่ควรทำก็คือการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาแล้วได้ผลเยอะที่สุด ก็ให้เริ่มต้นที่จุดนั้น
1
แล้วตรงไหนที่ได้ผลเยอะที่สุด แต่ละคน แต่ละปัญหาอาจจะไม่เหมือนกัน
พอพี่ตุ้มพูดเรื่องนี้ ผมเลยนึกถึงเรื่องเทคนิคการปลดหนี้ที่เคยอ่านเจอขึ้นมา เป็นเรื่องที่สหรัฐซึ่งคนอเมริกาส่วนใหญ่เจอปัญหาหนี้สินล้นพ้นตัวมากเพราะต้องกู้กันตั้งแต่เรียน มีหนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน ฯลฯ มารู้ตัวอีกทีรายได้ก็ไม่พอจ่ายหนี้ กลายเป็น debt snowball เวลาผ่านไปหนี้สะสมยิ่งก้อนใหญ่จากดอกเบี้ยทบต้นจนถึงไปกู้หนึ้ใหม่มาโปะหนี้เก่า จนกลายเป็นปัญหาที่ใหญ่จนท้อ … และในช่วงโควิดนี้หลายคนก็อาจจะเจอสถานการณ์คล้ายๆกันอยู่เหมือนกัน
เวลาไปถามผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน ส่วนใหญ่ก็จะแนะนำให้เรียงความสำคัญของหนี้เป็นลำดับแรก โดยเน้นหนี้ที่มีดอกเบี้ยที่สูงเป็นหนี้ที่สำคัญที่สุด หาตังค์ได้ต้องจ่ายก้อนนี้ก่อน ซึ่งในมุมการเงินนั้นก็มีเหตุมีผลดีอยู่เพราะการลดหนี้ดอกเบี้ยสูงสุดก่อนเช่นหนี้บัตรเครดิตนั้น เป็นการใช้เงินที่มีอยู่อย่างจำกัดที่สมเหตุสมผลที่สุด
แต่ทำไมคนหลายคนทำวิธีนี้แล้วก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ทำได้ซักพักก็ท้อจนกลับไปวังวนวัฏจักรแห่งหนี้ต่อ..
ในหนังสือชื่อ switch เล่าถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านหนี้สินชื่อคุณเดฟ แรมซีย์ เขามีเทคนิคที่แปลก แตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินทั่วไป เทคนิคของคุณเดฟคือ ให้เอาหนี้มาเรียงกันโดยเรียงจากจำนวนเล็กไปหาจำนวนใหญ่ โดยไม่สนใจว่าดอกเบี้ยในแต่ละหนี้สูงหรือต่ำแค่ไหน พอเรียงหนี้เสร็จก็ให้จ่ายแค่ขั้นต่ำสำหรับหนี้ทุกประเภทเพื่อประทังเครดิตไปก่อน
2
ทีนี้พอเหลือเงินเท่าไหร่ให้เอาไปจ่ายหนี้ที่เล็กที่สุดให้หมด พอหมดก็ขีดออก แล้วมีตังค์เหลือก็ไปจ่ายหนี้ก้อนเล็กสุดอันต่อไป กระบวนการนี้ถ้าคิดในมุมดอกเบี้ยน่าจะไม่คุ้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินก็น่าจะเห็นค้าน เพราะหนี้เล็กๆบางทีแทบไม่มีดอกเบี้ย แต่คุณเดฟบอกว่าอย่าไปสนดอกเบี้ย ให้จ่ายหนี้เล็กให้หมดก่อน แต่วิธีนี้กลับได้ผลมาก โดยคุณเดฟอธิบายว่า
1
“ จากพื้นฐานของผู้เชี่ยวชาญการเงินอย่างผม เราก็มักจะคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตัวเลขมันเวิร์ค แน่นอนว่าตัวเลขมันต้องเวิร์คแหละ แต่บางทีแรงจูงใจมันก็สำคัญกว่าตัวเลขทางคณิตศาสตร์ ในกรณีหนี้ท่วมหัวนี้ก็เช่นกัน
ลองนึกเทียบกับการลดน้ำหนักก็ได้ ถ้าเราเข้าโปรแกรมลดน้ำหนักแล้วน้ำหนักลดในอาทิตย์แรกได้ เราก็จะอยากลดต่อ แต่ถ้าเราเข้าโปรแกรมไปหกอาทิตย์แล้วน้ำหนักเพิ่มหรือไม่ได้มีพัฒนาการอะไรเลย เราก็คงเลิกแน่ๆ หรือเวลาเราเทรนนักขายมือใหม่ ถ้าเขาได้ขายอะไรง่ายๆได้ชิ้นสองชิ้น มันก็จะทำให้เขาฮึกเหิมอยากขายของต่อ การแก้ปัญหาหนี้ก็เหมือนกัน ถ้าเราขีดฆ่าหนี้เล็กๆออกจากลิสต์แล้วทำให้ลิสต์สั้นลงได้ เราก็จะมีแรงฮึดในการลดหนี้ก้อนต่อไป หัวใจที่สำคัญที่สุดของเรื่องนี้ก็คือการหา แรงฮึดที่จะเดินหน้าต่อให้ได้…”
ที่ปรึกษาการเงินส่วนใหญ่จะใช้วิธีแนะนำให้จ่ายหนี้ดอกเบี้ยสูงก่อน ซึ่งสำหรับผู้มีจิตใจเข้มแข็งนั้นก็น่าจะเป็นทางออกที่ชาญฉลาดที่สุด แต่สำหรับคนทั่วไปที่ท้อถอยง่าย วิธีของคุณเดฟก็น่าลองพิจารณาอยู่เหมือนกัน คุณเดฟใช้เทคนิคการกินช้างที่ผมเคยได้ยินมาใช้ มีคนเคยถามว่าถ้าปัญหาใหญ่มากเหมือนการกินช้างทั้งตัว แค่เห็นก็ท้อแล้ว ไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อน
2
การมีหนี้สินท่วมหัว จ่ายเท่าไหร่ใบแจ้งหนี้ก็มาเท่าเดิม จะทำให้เรารู้สึกหมดแรงและควบคุมอะไรไม่ได้ อย่างน้อยการเอาชนะหนี้บางบิล ทำให้ลิสต์น้อยลงนั้นทำให้เราจะมีแรงปลดหนี้บรรทัดต่อไปได้
วิธีการคิดแบบแก้ปัญหาเล็กไปใหญ่นั้น อาจจะเอามาใช้กับปัญหาใหญ่ๆขององค์กรหรือส่วนตัวก็ได้สำหรับการสร้างแรงจูงใจในการแก้ปัญหาที่ดูเหมือนยากมากๆไปทีละสเต็ปด้วย small win ก่อน
อาจจะเหมือนกับคำถามวิธีการกินช้างทั้งตัวนั้นทำอย่างไร ซึ่งก็คงมีวิธีเดียวเท่านั้น ก็คืออย่าไปสนช้างทั้งตัว ให้กินทีละคำและให้หมดทีละส่วนไป
ลองเริ่มที่ติ่งหูก่อนดีมั้ยครับ ดูบางๆแล้วหมดง่ายดีเหมือนกัน..
33 บันทึก
62
3
24
33
62
3
24
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย