Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ลงทุนในบัญชีและภาษี
•
ติดตาม
3 ส.ค. 2022 เวลา 13:02 • การศึกษา
e-Tax Invoice & Receipt คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ผู้ประกอบการหลายๆราย อาจจะคุ้นกับคำนี้กันมามากแล้ว เพราะระบบ e-Tax Invoice & Receipt ถูกนำมาใช้กับระบบภาษีของเมืองไทยได้สักพักใหญ่แล้ว แต่ก็ยังมีบางส่วนที่อาจไม่รู้ว่ามันคืออะไร และมีประโยชน์ยังไงบ้าง
1
e-Tax Invoice & e-Receipt คือ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์/ใบรับอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการนำเทคโนโลยี E-Tax Invoice & E-Receipt เข้ามาใช้กับระบบภาษี ช่วยให้การจัดทำเอกสารภาษีของธุรกิจมีความสะดวกรวดเร็ว ช่วยลดกระบวนการในการจัดทำและนำส่งภาษี
อีกทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและประหยัดงบประมาณในส่วนนี้ได้อีกด้วย เมื่อการจัดเก็บข้อมูลภาษีเป็นไปได้ง่ายมากขึ้นจึงส่งผลให้ผู้ประกอบการ หรือบุคคลทั่วไป ให้ความร่วมมือส่งเอกสารภาษีอย่างตรงเวลามากขึ้น
ซึ่งส่งผลดีต่อการจัดทำงบประมาณของประเทศและการคำนวณค่าเฉลี่ย GDP ได้ถูกต้องแม่นยำขึ้นด้วย
โดยเอกสารที่สามารถจัดทำในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อนำส่งสรรพากรได้ ได้แก่
1) ใบกำกับภาษี (Tax Invoice) ตามมาตรา 86/4 แห่งประมวลรัษฎากร
2) ใบเพิ่มหนี้ (Debit Note) ตามมาตรา 86/9 แห่งประมวลรัษฎากร
3) ใบลดหนี้ (Credit Note) ตามมาตรา 86/10 แห่งประมวลรัษฎากร
4) ใบรับ (Receipt) ตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร
ประโยชน์ของ e-Tax Invoice & e-Receipt ก็มีด้วยกันหลายประการ ดังนี้
1) ลดปัญหาการจัดการข้อมูลหรือเอกสารที่อยู่ในรูปแบบของกระดาษ
2) ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการจัดส่งเอกสาร
3) ลดพื้นที่ขนาดใหญ่ที่ใช้ในการเก็บเอกสาร
4) ลดภาระในการจัดเตรียมเอกสารให้กรมสรรพากร
5) เพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูลสำคัญ
6) เตรียมความพร้อมเพื่อรองรับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นการเปลี่ยนสู่ Digital Transformation
7) นำข้อมูลไปใช้ในการประมวลผลในระบบสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ขององค์กร
8) มีความน่าเชื่อถือและผลผูกพันทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
นอกจากประโยชน์เหล่านี้แล้ว ยังได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 683 อีกด้วย โดยค่าใช้บริการระบบ e-Tax invoice & Receipt สามารถนำรายจ่ายค่าใช้บริการมาหักเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มได้อีก 100% หรือหักได้เป็น 2 เท่า
ทั้งนี้เป็นการส่งเสริมจากทางกรมสรรพากร ซึ่งเริ่มมีมาตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 แล้ว และกำลังจะสิ้นสุดภายใน 31 ธันวาคม 2565 นี้แล้ว และเมื่อสิ้นสุดการสนับสนุนนี้แล้ว ก็จะสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ตามปกติ
สำหรับผู้ประกอบการใดที่ไม่อยากพลาดโอกาสดีๆ นี้ ก็ต้องรีบกันหน่อยแล้วนะคะ และถ้าผู้ประกอบการที่ต้องการจะพัฒนาระบบงานเอกสารการเงินและภาษีให้เท่าทันโลกมากขึ้น การมีระบบงานบัญชี เอกสารการเงิน และระบบ ERP เป็นของตัวเองก็จะเป็นแนวทางที่ช่วยตอบโจทย์ได้อย่างดีด้วยค่ะ
เพราะการมีระบบจัดการ E-Tax Invoice & E-Receipt เป็นของตัวเอง จะช่วยเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการทำงาน สามารถสรุปยอดเพื่อส่งกรมสรรพากรได้ในครั้งเดียว ลดแรงงานที่ต้องใช้ และไม่ต้องเสียเวลารวบรวมเอกสารทำภาษีอีกด้วยค่ะ
2
เอกสารประกาศที่เกี่ยวข้อง :
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 718
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dc718.pdf
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 683
https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/kormor/newlaw/dc683.pdf
เรียบเรียงโดย : ลงทุนในบัญชีและภาษี
ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาเยือนค่ะ 😊
ติดตามอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
https://www.blockdit.com/pages/5ef4aee94e90fa1adecae03e
ภาษี
ธุรกิจ
ไลฟ์สไตล์
7 บันทึก
15
16
12
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
นานาภาษีและวิธีจัดการ
7
15
16
12
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย