Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
efin: คอร์สหุ้นออนไลน์
•
ติดตาม
24 ก.ค. 2022 เวลา 22:00 • หุ้น & เศรษฐกิจ
เมื่อความหายนะมาเยือน "ติดหุ้น" จะแก้ยังไงดี!?
นักลงทุนสอบถามแอดมาเยอะมากเกี่ยวกับแผนการปรับแก้ไขพอร์ตเมื่อเราติดหุ้น ในบางจังหวะที่เราลงทุนแล้วไม่เป็นไปตามที่เราคาดการณ์เช่น
✅ราคาหุ้นลงแล้วลงอีกจนเราช้อนรับไม่ไหว
✅เราติดหุ้นจนไม่สามารถตัดสินใจ cut loss
✅ราคาหุ้นขึ้นแล้วย่อควรแบ่งขาย แล้วซื้อคืนดีไหม
✅ขายครั้งเดียวหรือหลายไม้แบบไหนดี หรือจะถือปล่อยไปตามกรรมเลยดีไหม
เมื่อความหายนะมาเยือน
วันนี้แอดจึงรวบรวม กรณีที่เราพบบ่อยบ่อย และสามารถนำปรับใช้ในการแก้ไขพอร์ตของเราได้ตามสถานการณ์ต่างๆ จะมีเทคนิคอะไรบ้าง มาดูกัน
การลดต้นทุน กรณีติดหุ้น ที่ราคาร่วงลงไปแล้วกลับขึ้นมาไม่ถึงต้นทุนเดิม
1. เทคนิคการลดต้นทุน กรณีติดหุ้น ที่ราคาร่วงลงไปแล้วกลับขึ้นมาไม่ถึงต้นทุนเดิม
แน่นอนว่าการเกิดกรณีแบบนี้นักลงทุนมักเลือกที่จะรอร๊อรอ ให้ราคาปรับขึ้นมาถึงต้นทุนก่อน แต่เราสามารถลดต้นทุนการถือครอง เพื่อให้ได้กำไรคืนได้เร็วขึ้น ได้ตามภาพ
💚ซื้อครั้งแรก ราคา 5.35 จำนวน 10,000 หุ้น
❤️ในระหว่างทางราคาหุ้นปรับตัวลดลงให้เราขายออกทั้งจำนวนนั้นคือการ cut loss (สามารถประยุกต์ใช้ราคาหลุดแนวรับในกราฟเทคนิคเป็นจุดขายได้ )
💚 และกลับมาซื้อคืนในจังหวะที่ราคาไปอยู่ในบริเวณแนวรับรอบล่าสุด (ซื้อคืนในจำนวนหุ้นเท่าเดิม)
❤️ขายทำกำไรเมื่อราคากลับขึ้นไปอยู่บริเวณแนวต้านรอบล่าสุด (สามารถขายทำกำไรได้เลยโดยไม่จำเป็นที่จะต้องรอให้ราคากลับขึ้นมาถึงต้นทุนเดิม)
การลดต้นทุน กรณีติดหุ้น ที่ ราคาหลุดลงไปทุกแนวรับ
2. เทคนิคการลดต้นทุน กรณีติดหุ้น ที่ ราคาหลุดลงไปทุกแนวรับ
กรณีแบบนี้มักจะเกิดขึ้น กับนักลงทุนที่พยายามถัวเฉลี่ยไปเรื่อยเรื่อยแล้วคาดหวังว่า ราคาจะจบรอบขาลงแล้ว แต่ราคามักจะไม่เป็นไปตามที่เราคาดการณ์และสามารถลงต่อได้อีก เมื่อนักลงทุนขาดทุนมากขึ้น ในระยะเวลาที่นานขึ้น มักจะเกิดคำถามกับตัวเองว่าเราจะไปต่อ หรือพอแค่นี้ หรือจะทิ้งถือลืมๆไปเลย เพราะไม่กล้าแม้กระทั่ง cut loss
กรณีนี้เป็นการแก้ไขพอร์ตที่ยากและท้อมาก เพราะยิ่งแก้ยิ่งแย่ เหมือนเราทายผิดจังหวะทุกครั้งที่ลงทุน ตามตัวอย่าง
💚ซื้อ 5.35 บาท ขาย 5.25 #ขาดทุน
💚ซื้อ 5.15 บาท ขาย 5.05 #ขาดทุน
จากภาพ เมื่อเรารวมผลขาดทุนทั้งสองทางแล้วผลปรากฏว่าเราขาดทุน 4.60% ขาดทุนน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการปล่อยให้หุ้นปรับตัวลดลงมาโดยที่เราไม่ทำอะไรเลย ขาดทุนถึง 7.29% ถึงแม้ว่า #การลงทุนผิดหลายครั้งไปหน่อยแต่ก็ดีกว่าปล่อยหุ้นไว้เลยนะคะ😉
การลดต้นทุน กรณีหุ้นขึ้นมาแล้วย่อตัว
3. เทคนิคการลดต้นทุน กรณีหุ้นขึ้นมาแล้วย่อตัว
รูปแบบนี้ เป็นรูปแบบที่หุ้นอยู่ในภาพแนวโน้มขาขึ้นและพอร์ตเราก็มีกำไรอยู่ สิ่งที่กังวลในแผนนี้คือ เมื่อราคาหุ้นขึ้นไปที่แนวต้าน เราควรแบ่งขายออกบ้าง หรือจะขายหมด หรือรอสัญญาณการย่อ แล้วค่อยซื้อเพิ่มเพราะกราฟยังมีโอกาสไปต่อได้อีก เราลองไปดูตามภาพตัวอย่างกันค่ะ
💚ซื้อ 5.35 บาทจำนวน 10,000 หุ้น
❤️แบ่งขายเมื่อราคาขึ้นไปถึงแนวต้าน (อาจจะขายออก 50%) แผนนี้สามารถช่วยล็อคกำไรในกรณีที่เรากังวลว่าหุ้นจะลงแรงได้ด้วย
💚 เมื่อราคาย่อลงมาอยู่ที่โซนแนวรับให้ซื้อคืนในจำนวนเท่ากันกับที่ขายออกไป (50%) จะสังเกตได้ว่าเราจะได้ต้นทุนใหม่ที่ต่ำลง
❤️ หากราคาหุ้นกลับมาทดสอบแนวต้านอีกครั้งเราสามารถแบ่งขายออกหรือจะขายทั้งจำนวนก็ได้ตามตัวอย่างจะเห็นได้ว่า เราจะได้กำไรรวมอยู่ที่ 4.68% ดีกว่าการที่ขายหมดรอบเดียวเราจะได้กำไรอยู่ที่ 3.27% (* รูปแบบนี้จะใช้ได้ดีในกรณีที่หุ้นขึ้นมาแล้วพักฐานและพยายามเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบเราสามารถใช้กรอบแนวรับแนวต้านในการแบ่งขายและซื้อคืนได้)
การยกตัวอย่างอาจจะไม่เป็นตามภาพเสมอ และการกำหนด. แนวรับแนวต้านเราต้องมีความรู้เรื่องกราฟเทคนิคเพิ่มเติม แต่แอดมีความตั้งใจที่จะให้นักลงทุนเข้าใจว่า หากเกิดเหตุการณ์แบบไหนแล้วเราควรทำแบบใดแล้วจะส่งผลดีกับเรา ในสถานการณ์ต่างๆที่ยากต่อการตัดสินใจ
👨🏫การตัดสินใจของแต่ละแผนการลงทุน ก็ขึ้นอยู่กับการวิเคราะห์โอกาสที่สถานการณ์นั้นจะเกิด พร้อมกับขนาดของพอร์ตของนักลงทุนเอง แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ความสามารถของนักลงทุน ที่จะบอกเราได้ว่า เราควรวางเงินในแต่ละครั้งเท่าใด ให้เหมาะกับความสามารถของเรา
สำหรับคนที่อ่านจนจบถึงตรงนี้...
#หากคุณเคยสงสัยว่า …? ทำไมเราซื้อหุ้นตัวเดียวกัน ขายราคาเดียวกัน ทำไมคนอื่นได้กำไรแต่เราถึงขาดทุน…!!! คอร์สด้านล่างนี้จะเหมาะสำหรับคุณที่สุด
ฝึกวางแผนการลงทุน วิเคราะห์โอกาสและ ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น ในคอร์สเรียน Money Management สอนโดย อ.วชิรเมษฐ์ ธเนศสถิตพงษ์ ราคา 2,000 บาทเท่านั้น!
ลงทะเบียนเลย :
https://bit.ly/3Px5qzR
หุ้น
การลงทุน
ธุรกิจ
1 บันทึก
4
1
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย