24 ก.ค. 2022 เวลา 23:00 • ข่าว
ญี่ปุ่นเตือนภูเขาไฟซากุระจิมะ ระเบิด อันตรายสูงสุด ระดับ 5
2
Image credits: After = NHK
สำนักอุตุนิยมวิทยาของญี่ปุ่น รายงานว่า เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฎาคม 2565 เวลา 20:05 น. (ตามเวลาท้องถิ่นของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมง) ภูเขาไฟซากุระจิมะ ที่เกาะซากุระจิมะ จังหวัดคาโกชิมะ เกาะคิวชู ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น ที่มีการปะทุอยู่ตลอดเวลามากที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
ได้เกิดการระเบิด ปะทุขึ้นสูงถึงก้อนเมฆ
6
[ผลการวิเคราะห์]
ผลจากการวิเคราะห์การระเบิดที่ประทุขึ้น มีเถ้าภูเขาไฟกระจายจากปล่องภูเขาไฟลอยไกลประมาณ 2.5 กิโลเมตร และลอยขึ้นสูงถึงก้อนเมฆ ทำให้ทางการของญี่ปุ่นต้องประกาศยกระดับการเตือนภัยสูงสุด จากระดับ 3 สู่ระดับ 5 เป็นครั้งแรกของเกาะซากุระจิมะ ที่ระดับสูงสุดที่ระดับ 5 คือ ต้อง “อพยพ” และเป็น
ครั้งที่ 2 ถัดจากเกาะคุจิโนเอราบุ จังหวัดคาโกชิมะ เมื่อปี 2558
5
แต่ควันของแผ่นดินไหวนั้น คาดการณ์ยากว่า จะลอยไปได้ไกลขนาดใด
สำนักอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า ต้องรอสังเกตการณ์อีกครั้งในยามฟ้าสางของวันถัดไป ภาพถ่ายเกาะซากุระจิมะข้างต้น ภาพครึ่งบน (Before)เป็นภาพในเวลาปกติ
ส่วนภาพครึ่งล่าง (After) เป็นภาพที่ภูเขาไฟเริ่มประทุเป็นเปลวไฟในช่วงกลางคืนหลัง 20.05 น. เจ้าหน้าที่สำนักอุตุนิยมวิทยาชี้แจงว่า ตามรูปกราฟ สภาพการปะทุได้ชะลอตัวลง แต่ยังมีการปะทุอย่างต่อเนื่อง
3
ในอีกแง่หนึ่ง สำนักอุตุนิยมวิทยาแจ้งว่า ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลการเฝ้าสังเกตุการณ์ของการเปลี่ยนแปลงของผิวโลกหรืออื่นๆ ของเกาะซากุระชิมะ จะไม่นำพาไปสู่การปะทุขนานใหญ่ที่อาจมีผลกระทบออกไปเป็นวงกว้างภายในเกาะเช่นการระเบิดของภูเขาไฟครั้งใหญ่ไทโชของเกาะซากุระ ที่เกิดเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2458 (รัชวงศ์ไทโช ปีที่ 4 ) ที่คาดเดาว่ายาวไปถึงประมาณเดือนกันยายน
1
ซึ่งเป็นการระเบิดของภูเขาไฟที่มีปริมาณที่ปะทุออกมากที่สุดที่เกิดในประเทศญี่ปุ่น มีผู้เสียชีวิต 58 รายที่รวมทั้งผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวซากุระจิมะที่เกิดขึ้นระหว่างปะทุเป็นไฟด้วย
1
ก่อนที่จะปะทุเป็นไฟในครั้งนี้ ได้สังเกตพบการแปรเปลี่ยนของผิวโลกที่แสดงถึงการบวมของตัวภูเขาทั้งก่อนและหลังประทุด้วย ซึ่งสำนักอุตุนิยมวิทยากำลังเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
2
[ลำดับเหตุการณ์]
20:05 น. ภูเขาไฟระเบิด มีไฟพ่นออกมา
20.50 น. เตือนภัยสูงสุด ระดับ 5
22:20 น. ราชการได้มีคำสั่งอพยพประชาชน
ที่อยู่รอบปล่องภูเขาไฟในระยะ
รัศมี 3 กิโลเมตร อพยพ ซึ่งมีบางส่วน
ของเมืองฟุรุซาโตะโจ กับ
3
เมืองอาริมุระโจ
ซึ่งอยู่รอบปากปล่องยอดภูเขาไฟ
มินามิดาเกะ กับ ปล่องภูเขาไฟโชวะ
เตือนให้ระวังเถ้าภูเขาไฟที่
ปะทุลูกใหญ่ และระวังลาวาที่ไหลใน
ระยะ 2 กิโลเมตรจาก
ปากปล่องภูเขาไฟ
9
จำต้องอพยพประชาชน
จำนวนประมาณ 33 ครัว
เรือน 51 คน อพยพออกจากพื้นที่
โดยจัดรถบัส จำนวน 2 คัน
ณ ขณะที่แถลงข่าว มีครอบครัวที่
อพยพมาอยู่ที่ศูนย์อพยพแล้ว 3 ครัว
เรือน สถานที่หลบภัย คือ
ศูนย์สวัสดิการผู้สูงอายุ
เกาะซากุระตะวันออก
4
Image credits:สำนักกรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น                           กล้องจับภาพการปะทุจากปากปล่องไฟ ณ 24 ก.ค. 2565 20:05 น.
[การอพยพ]
นอกจากประชาชนในบริเวณใกล้เคียงรัศมี 3 กิโลเมตรดังกล่าวข้างต้นแล้ว ผลจากการระเบิดของภูเขาไฟซากุระจิมะ ได้มีประชาชนในเกาะดังกล่าว ทยอยลงเรือเฟอรี่ข้ามฟาก จากท่าเรือเกาะซากุระจิมะมายังท่าเรือคาโกชิมะ จังหวัดคาโกชิมะ ทำให้ปริมาณรถยนต์ที่ใช้บริการเรือเฟอรี่ข้ามฟากเพิ่มมากขึ้นจากปกติ 3 เท่า ส่วนทางหลวงที่เชื่อมในเกาะ ห้ามผ่าน ส่วนรถบัส คาโงชิมะ วิ่งได้ตามปกติ
1
Image credits: สำนักอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น
จากอุบัติภัยทางธรรมชาติในครั้งนี้ เรือเฟอรี่ก็ได้เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เพื่อลำเลียงประชาชนข้ามฟากจากเกาะมายังผืนแผ่นดินใหญ่ที่ท่าเรือจังหวัดของ
คาโกชิมะ
1
[การรายงานความเสียหายของตำรวจ หน่วยบรรเทาสาธารณภัย สถานพยาบาล
จากอุบัติภัยครั้งนี้ ผู้คนในพื้นที่เสี่ยงได้ทยอยอพยพออกจากพื้นที่แล้ว ไม่ได้เกิดความวุ่นวายใดๆ
1
ทั้งสำนักงานตำรวจจังหวัดคาโกชิมะ และหน่วยบรรเทาสาธารณภัยเมืองคาโกชิมะได้แจ้งว่า ณ เวลา 21:20 น. ของวันอาทิตย์ที่ 24 กรกฏาคม ยังไม่มีข้อมูลแจ้งความเสียหายของทรัพย์สินและผู้บาดเจ็บ
แต่อย่างไร
3
โรงพยาบาลซากุระจิมะ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก
เฉียงใต้ของเกาะซากุระจิมะ ก็รายงานว่า ณ เวลา 21:10 น. ยังไม่มีข่าวสารรับแจ้งผู้บาดเจ็บจาก
ภูเขาไฟระเบิด หรือมีผู้บาดเจ็บที่ลำเลียงเข้ามา
แต่อย่างไร
6
ด้านเมืองคาโกชิมะ ก็ได้แจ้งว่า ณ วันที่ 24 กรกฎาคม เวลา 22:50 น.ไม่มีข้อมูลรายงาน
ความเสียหายจากการปะทุของภูเขาไฟ
แต่อย่างไรเช่นกัน
1
[มาตรการการป้องกันความปลอดภัยของตนเอง]
สำนักอุตุนิยมวิทยาได้แจ้งให้ประชาชนเฝ้าระวังลาวา เพิ่มความระมัดระวัง และใส่ใจเรียกหากัน ป้องกันศีรษะ และไม่อยู่ใต้ลม เนื่องจากอาจได้รับกลิ่น ควัน และเถ้าถ่านที่มีกรวดเล็กๆ ด้วย โดยให้ปฏิบัติตามองค์กรของท้องถิ่นในการอพยพ ระหว่างที่อพยพ หากรู้สึกว่า ไม่ปลอดภัย ให้ดูแลคุ้มครองความปลอดภัยของตนเองไว้ก่อน
2
[มาตรการการพักอาศัย]
ให้ประชาชนพักผ่อนนอนบนพื้นคอนกรีตที่แข็งแรง
อาจเกิดแผ่นดินไหวร้ายแรงได้ ควรพักผ่อนในที่ห่างจากกระจก เพื่อป้องกันกระจกแตกแระแทกบาดเจ็บ
1
Image credits: Google
[มาตรการการรองรับสำหรับคนไทยที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง]
สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองฟุกุโอกะ (Royal Thai Consulate – General in Fukuoka) จังหวัดฟุกุโอกะ
“ขอให้ชาวไทยในพื้นที่เสี่ยงฯ โปรดติดตามข่าวสารอย่างใกล้ชิด กรณีฉุกเฉิน สามารถติดต่อสถานกงสุลใหญ่ฯ ได้ทางหมายเลขโทรศัพท์
HOTLINE 090-2585-3027 และ 090-9572-1515
จึงประชาสัมพันธ์มาเพื่อทราบโดยทั่วกัน”
2
กด “ไลค์ (like)”
กด “แชร์ (share)”
กด “คอมเมนท์ (comment)”
หากคุณชอบคอนเทนท์นี้
อย่าลืม กด “ไลค์ (like)”
หากคุณเห็นว่าคอนเทนท์นี้ มีประโยชน์
อย่าลืม กด “แชร์ (share)”
หากคุณมีข้อเสนอแนะหรือเพิ่มเติมความคิดเห็น
อย่าลืม ส่ง “คอมเมนท์ (comment)”
ด้วยจักขอบคุณยิ่ง
อย่าลืม… ติดตามสาระดีๆ ในตอนต่อไป
โฆษณา