“With great power comes great responsibility” สำนวนอมตะที่หลาย ๆ คนคงคุ้นหูจากภาพยนต์สไปเดอร์แมน ยังคงก้องกังวานอยู่ในใจของใครหลายคน ในวงการวิทยาศาสตร์ ในเวลานี้ เทคโนโลยีหนึ่งที่ทรงพลังที่สุดก็คือเทคโนโลยีการแก้ไขยีนที่เรียกว่า คริสเพอร์ (CRISPR) ลองจินตนาการถึงอำนาจในการแก้ไขพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตได้ตามปรารถนา
เขาเปรียบแต่ละองค์ประกอบเป็นชั้นของสายโซ่ดอกเดซี และถ้าระบบมีองค์ประกอบเป็นยีนสามยีน A, B และ C เควินก็จะเรียกระบบนี้ว่า สายโซ่ดอกเดซี 3 ชั้น ทีมของเควินออกแบบให้แต่ละองค์ประกอบนั้นเกี่ยวโยงกันเป็นชั้น ๆ เช่น ใช้ยีน C คุมการแสดงออกของอาร์เอ็นเอนำร่องที่ทำให้เกิดการจำลองตัวเองของยีน B และในชิ้นของยีน B ก็มีส่วนช่วยนำร่องสำหรับไปคุมการก๊อบปี้และแทนที่อัลลีลของยีน A อีกที
นั่นคือยุงรุ่นแรกที่มีครบถ้วนทั้ง A, B และ C ก็จะดันให้เกิดยีนไดรฟ์ได้อย่างสมบูรณ์ แต่พอถึงรุ่นลูก อัตราส่วนอัลลีลของยีน C ที่จำลองตัวเองไม่ได้ ก็จะค่อย ๆ ลดและถูกเจือจางหายไปในกลุ่มประชากร และเมื่อผ่านไปอีกรุ่น อัตราส่วนยีน C ที่น้อยลงก็จะส่งผลกระทบต่อเนื่องทำให้การจำลองแบบของยีน B นั้นลดน้อยถอยลงไปด้วยเช่นกัน และพอถึงรุ่นที่ 3 ผลกระทบก็จะตกไปถึงยีน A ด้วยเช่นกัน
ที่จริงเควินยังออกแบบวิธีควบคุมยีนไดรฟ์แบบอื่น ๆ ไว้อีกหลายแบบ เช่น ใช้ยีนที่ต้องมีเป็นคู่ (haploinsufficient gene) และการไดรฟ์แบบตั้งเกณฑ์ชัดเจน (threshold drive) ซึ่งถ้าใครสนใจสามารถไปตามอ่านเปเปอร์ของเขาได้ “With great power comes great responsibility”